เรื่องเล่าการท่องเที่ยวของผู้พิการทางสายตาในสังคมไทย

Main Article Content

กัลยา สว่างคง
พิทักษ์ ศิริวงศ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาประสบการณ์การท่องเที่ยวของผู้พิการทางสายตา และ 2) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและอุปสรรคในการท่องเที่ยวของผู้พิการทางสายตา ใช้วิธีวิทยาการศึกษาอัตชีวประวัติและเรื่องเล่า เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยผู้ให้ข้อมูลหลักเป็นผู้พิการทางสายตาที่อยู่ในวัยทำงานและมีประสบการณ์เดินทางท่องเที่ยวจำนวน 10 คน ผลการศึกษาพบว่าผู้พิการทางสายตามีความต้องการในการเดินทางท่องเที่ยวเหมือนคนปกติ นิยมเดินทางพร้อมกับครอบครัวแต่ก็สามารถเดินทางด้วยตัวเองได้ มีการเตรียมตัวที่ดีก่อนการเดินทางทุกครั้ง และพยายามช่วยเหลือตัวเองก่อนที่จะขอความช่วยเหลือจากผู้อื่น แหล่งท่องเที่ยวที่เป็นที่นิยมคือแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ วัด และแหล่งเลือกซื้อสินค้า สำหรับปัญหาอุปสรรคที่พบระหว่างการเดินทางท่องเที่ยวสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเด็นหลักคือ 1) ด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารทางการท่องเที่ยว 2) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวกทางการท่องเที่ยว และ 3) ด้านทัศนคติของคนในสังคม ผู้พิการทางสายตาต้องการให้ภาครัฐและเอกชนที่มีส่วนเกี่ยวข้องร่วมมือกันในการแก้ปัญหา เพื่อให้สามารถเดินทางท่องเที่ยวและเข้าถึงบริการต่างๆ ในสังคมได้อย่างเท่าเทียมกับคนปกติ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมประชาสัมพันธ์. (2559). ลดความเหลื่อมล้ำ เพื่อสังคมที่เท่าเทียม. จดหมายข่าวรัฐบาลเพื่อประชาชน. 2(21), 6. จาก http://www.prd.go.th/download/article/article_20160226213254.pdf.

กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. (2556). พระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2556. สืบค้นเมื่อ 3 พฤษภาคม 2559, จาก http://dep.go.th/th/node/446.

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). การดำเนินงานจดทะเบียนคนพิการทั่วประเทศ เดือนกุมภาพันธ์ 2559. กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ. สืบค้นเมื่อ 10 มิถุนายน 2559, จาก https://www.m-society.go.th/article_attach/16279/19239.pdf.

กาญจนา มิตตานนท์สกุล. (2553). เจตคติและปัญหาในการให้บริการต่อคนพิการของคนขับรถแท็กซี่. วารสาร วิทยาลัยราชสุดาเพื่อการวิจัยและพัฒนาคนพิการ, 6 (2), 59-73.

เกษวดี พุทธภูมิพิทักษ์. (2554). ประสบการณ์การท่องเที่ยวของผู้พิการในประเทศไทย. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2558). ร่าง แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560 – 2565.” เอกสารประกอบการระดมความคิดเห็นทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12: กรกฏาคม.

คณะกรรมการส่งเสริมคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ ฉบับที่ 4 (2555-2559). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์เทพเพ็ญวานิสย์.

ชูกลิ่น อุนวิจิตร ญานัท ศิริสาร และ ไพรัช โรงสะอาด. (2557). แนวทางการพัฒนาการนันทนาการและการท่องเที่ยวเพื่อคนพิการในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาลัยราชสุดา, 10 (13), 36-50.

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2550). การสร้างความรู้ภายใต้กระบวนทัศน์สร้างสรรค์สังคม. วารสารลุ่มน้ำโขง, 3(3), 1-23.

นิศา ชัชกุล. (2557). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บริษัทอินทัชรีเสิร์ชแอนด์คอนซัลแทนซ์ จำกัด. (2555). โครงการสำรวจมุมมองของชาวไทยต่อการท่องเที่ยวเพื่อการจัดแบ่งกลุ่มฐานของลูกค้า (Customer segment). รายงานขั้นสุดท้ายเสนอต่อการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

พิทักษ์ ศิริวงศ์ และ ปัทมอร เส็งแดง. (2554) การท่องเที่ยวของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวในสังคมไทย. วารสาร Veridian E-Journal, 4(2), 221-228.

มนัสสินี บุญมีศรีสง่า, เคียงดาว ศรีมากเปี่ยม, ฐิติมา โสรัตยาทร, ถาวร ทรัพย์อัมพร, ทิพยา เดชชัยยันต์, ปฐมพงษ์แก้วบุญมา และวริศรา มานะกิจ. (2557). รูปแบบการท่องเที่ยวของผู้พิการทางการเคลื่อนไหวเพศชาย
สมาคมคนพิการพัฒนาตนเอง กรุงเทพฯ. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ “ศึกษาศาสตร์วิจัย” ครั้งที่ 1 (น.1185). สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี.

สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (2554). โครงการทบทวนแผนยุทธศาสตร์กองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. 2553-2556 และแผนปฏิบัติการประจำปีบัญชี 2555. รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์
เสนอต่อคณะกรรมการกองทุนส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.

สถาบันสร้างเสริมสุขภาพคนพิการ. (2554). เรื่องน่ารู้ Universal Design: การออกแบบเพื่อคนทั้งมวล. สืบค้นเมื่อ 9 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/17180.html.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2559). ผู้พิการต้องการแบบไหน. สืบค้นเมื่อ 1 พฤษภาคม 2559, จาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/citizen/news/news_disabled.jsp.

สุภางค์ จันทวาณิช. (2540). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Bowtell James. (2015). Assessing the value and market attractiveness of the accessible tourism industry in Europe: a focus on major travel and leisure companies. Journal of Tourism Futures, 1(3), 203-222.

Brielle Gillovic and Alison McIntosh. (2015). Stakeholder perspectives of the future of accessible tourism in New Zealand. Journal of Tourism Futures, 1(3), 223-239.

Darcy, S. and Dickson, T. (2009). A whole-of-life approach to tourism: the case for accessible tourism Experiences. Journal of Hospitality and Tourism Management, 16(1), 32-44.
European Commission, DG Enterprise and Industry. (2013). Economic impact and travel patterns of accessible tourism in Europe – final report. Retrieved May 5, 2016, from www.accessibletourism.org/
resources/toolip/doc/2014/07/06/study-a-economic-impact-and-travel-patterns-of-accessible-tourism-in-europe-fi.pdf.

Freeman, Ina, and Noureddine Selmi. (2010). French versus Canadian of Tourism: Response to the Disabled. Journal of Travel Research, 49(4), 471-485.

Hersh, M.A. (2010). The Design and Evaluation of Assistive Technology Product and Devices Part 1: Design, International Encyclopedia of Rehabilitation. Retrieved May 20, 2016, from http://cirrie.buffalo.edu/
ency-clopedia/en/article/309.

Hersh, M.A. (2016). Improving Deafblind Travelers’ Experiences: An International Survey. Journal of Travel Research, 55(3), 380-394.

Mace, Ronald. (1988). Universal Design: Housing for the Lifespan of All People. Washington, DC: US Department of Housing and Urban Affairs.

Pagan, Ricardo. (2014). The Impact of Holiday Trips on Life Satisfaction and Domains of Life Satisfaction: Evidence for German Disabled Individuals. Journal of Travel Research, 52(1), 1-21.

Poria, Yaniv, Arie Reichel, and Yael Brandt. (2011). Blind People’s Tourism Experiences: An Exploratory Study. In Accessible Tourism Concepts and Issue, edited by D. Buhalis and S. Darcy. Bristol, UK: Channel View.

Small, Jenny, Simon Darcy and Tanja Packer. (2012). The Embodied Tourist Experiences of People with Vision Impairment: Manage Implications beyond the Visual Gaze. Tourism Management, 33(4), 941-950.

Stumbo, N. and Pegg, S. (2005). Travellers and tourists with disabilities: a matter of priorities and loyalties, Tourism Review International, 8(3), 195-209.

United Nations. (1990). Disability Statistics Compendium. New York: United Nations.

World Tourism Organization. (2013). Recommendations on accessible tourism. Retrieved May 9, 2016, from http://ethics.unwto.org/content/resolutions-and-recommendations-tourism-accessibility.