ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคกลางตอนบน

Main Article Content

เรืองยศ วัชรเกตุ
ธีระสุต สุขกำเนิด

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา (2) เพื่อพัฒนาโมเดลการวัดปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา และ (3) เพื่อเปรียบเทียบผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคกลางตอนบน กลุ่มตัวอย่างได้จากการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจงคือ นักศึกษาสหกิจศึกษาทั้งสถาบันการศึกษาของรัฐและเอกชน ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 270 คน โดยใช้แบบสอบถาม/แบบประเมินเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัย พบว่า


1) ปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคกลางตอนบน แบ่งออกเป็น 5 ด้าน คือ ด้านทัศนคติในการทำงาน


ด้านความคิดอย่างมีเหตุผล  ด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการกับการปฏิบัติงาน และด้านการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ


2) โมเดลการวัดปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคกลางตอนบน มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี (ค่า p > .05) โดยปัจจัยซึ่งมีความสำคัญต่อการเรียนรู้ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษามากที่สุด คือ ปัจจัยด้านแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ รองลงมา คือ ด้านการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ ด้านการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิชาการกับการปฏิบัติงาน ด้านความคิดอย่างมีเหตุผล และด้านทัศนคติในการทำงาน ตามลำดับ


3) ผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคกลางตอนบน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (p < .01) โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ ในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ด้านทัศนคติในการทำงาน มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ส่วนปัจจัยด้านความคิดอย่างมีเหตุผล มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการเรียนรู้ ด้านทักษะทางปัญญา และปัจจัยด้านการปรับตัวในสถานการณ์ต่างๆ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับผลการเรียนรู้ด้านความรู้ความสามารถ และด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เครือข่ายพัฒนาสหกิจศึกษาภาคกลางตอนบน อย่างมีนัยสำคัญ (p <.05)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). หลักสถิติ (พิมพ์ครั้งที่ 14). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ขันติยา สกุณา. (2559). พฤติกรรมการปรับตัวด้านการทำงานของแรงงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในจังหวัดปทุมธานีภายหลังเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. ปทุมธานี.

นงลักษณ์ วิรัชชัย. (2542). โมเดลลิสเรล: สถิติวิเคราะห์สำหรับการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พัชราภา เอื้ออมรวนิช. (2559). การศึกษาปัญหาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรมและแนวทางการปรับตัวของอาจารย์ต่างชาติกับนักศึกษาไทย ในมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี, 10(2), 77-92.

มีศิลป์ ชินภักดี. (2554). การพัฒนารูปแบบการบริหารการปฏิรูปการศึกษาสาหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ

วิจิตร ศรีสอ้าน และคณะ. (2552). ประมวลสาระชุดฝึกอบรมสหกิจศึกษา (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สมาคมสหกิจศึกษาไทย.

สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2539). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ. 2540-2544. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

Ayling, D. (2006). Fostering Moral Courage: What Do Business Students Learn About Professional Ethics

in Cooperative Education Placements?. In R.K. Coll (Ed.). New Zealand Association for Cooperative Education 2006 (pp.116-120). N.P.: New Zealand Association for Cooperative Education (NZACE).

Drysdale, M.T.B. and McBeath, M. (2012). Self-Concept and Tacit Knowledge: Differences between Cooperative and Non-Cooperative Education Students. Asia-Pacific Journal of Cooperative Education, 13(3), 169-180.

Krejci, Katherine T. (2010). A Qualitative Study of Information Technology Students’ Learning Outcomes During a Cooperative Education Experience (Research report). University of Phoenix. Phoenix: