การสื่อสารระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนผ่านประกาศพระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Main Article Content

ณัฐพงศ์ ลาภบุญทรัพย์
สุภาภรณ์ ศรีดี
ปัณฉัตร หมอยาดี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) บริบททางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชสถานะที่ทรงเป็นผู้ส่งสารระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนผ่านประกาศพระราชนิพนธ์ และ (2) ประเด็นการสื่อสารและวิธีการสื่อสารระหว่างพระมหากษัตริย์และประชาชนผ่านประกาศพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว


การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร และตรวจสอบความเที่ยงและความตรงของผลการศึกษาด้วยการสอบทานจากเอกสารหลากหลายแหล่งและการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อเป็นการยืนยันความน่าเชื่อถือของผลการศึกษา แล้วนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้สร้างข้อสรุปของงานวิจัย


ผลการวิจัยพบว่า (1) บริบททางประวัติศาสตร์ที่ส่งผลต่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพระราชสถานะของการเป็นผู้ส่งสาร ได้แก่ ประวัติศาสตร์ภายในประเทศ คือประสบการณ์เมื่อทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้า การเรียนรู้วิทยาการและการใกล้ชิดกับประชาชนเมื่อครั้งยังทรงพระผนวช และประวัติศาสตร์ระหว่างประเทศได้แก่การขยายตัวของลัทธิจักรวรรดินิยมและการเปิดเสรีทางการค้า บริบทดังกล่าวส่งผลให้พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ประกาศฉบับต่างๆ เพื่อสื่อสารกับประชาชนโดยตรง ทำให้ประชาชนเป็นส่วนร่วมอันสำคัญของการปรับเปลี่ยนประเทศไปสู่ความทันสมัยได้ตามพระราชประสงค์ และ (2) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ประกาศประเภทต่างๆ ครอบคลุมประเด็นทั้งทางด้านการเมือง ได้แก่ เรื่องกฎหมายและสิทธิพลเมือง ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ เรื่องกลไกราคาและภาษี และด้านสังคมและวัฒนธรรม ได้แก่เรื่องคุณภาพชีวิต การศาสนา ภาษาและศิลปวัฒนธรรม และการพระราชสำนัก ในการพระราชนิพนธ์ประกาศนี้ทรงใช้ลีลาภาษาและโครงสร้างข้อความอันหลากหลาย นอกจากนี้ยังทรงใช้ภาพพจน์สองประเภทในการพระราชนิพนธ์ คืออุปมาและอุปลักษณ์

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ นาคประสงค์. (2546). การสื่อสารการเมืองของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช. (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

กรมศิลปากร. (2547). รวมพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่อง ประชุมประกาศรัชกาลที่ 4. กรุงเทพฯ: องค์การค้าคุรุสภา.

กิติยวดี ชาญประโคน, นันทนา เตชะวณิชย์, ประภัสสร บุญประเสริฐ และวิไลเลขา ถาวรธนสาร. (2555). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2547). ชุมนุมพระบรมราชาธิบายและประชุมพระราชนิพนธ์ภาคปกิณกะ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กรมศิลปากร.

ชลภูมิ บรรหาร. (2552). ความทันสมัยทางการเมืองตามแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้kเจ้าอยู่หัว (สารนิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต). คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ชวิตรา ตันติมาลา. (2560). พื้นที่สาธารณะและการผลิตพื้นที่: ความหมายใหม่ของความสัมพันธ์ทางสังคม. วารสารบรรณสาร มศว., 10(1), 92 – 103

ธงทอง จันทรางศุ. (2554). แนวพระราชดำริทางการเมืองในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่าด้วยสถาบันพระมหากษัตริย์. (วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

นภวรรณ ตันติเวชกุล. (2557). การสื่อสารประชาสัมพันธ์ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. Journal of Public Relations and Advertising, 7(1), 12 – 37.

นฤมล ธีรวัฒน์. (2524). พระราชดำริทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ประภัสสร บุญประเสริฐ. (2552). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปิยนาถ บุนนาค. (2561). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชนของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว: การใช้สื่อสิ่งพิมพ์ (รายงานการประชุม).

ปิยนาถ บุนนาค. (2560). พระราชประวัติพระบาทสมเด็จสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว : ผลต่อพระราชดำริและพระราช กรณียกิจในความสัมพันธ์ระหว่างพระมหากษัตริย์กับประชาชน (รายงานการประชุม).

ปิยนาถ บุนนาค และคณะ. (2554). พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

พงศ์ธิดา เกษมสิน. (2531). พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับการธำรงฐานะพระมหากษัตริย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต). คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

พลาดิศัย สิทธิธัญกิจ. (2551). ประวัติศาสตร์ไทย 2 (ราชวงศ์จักรี). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

พัสวีสิริ เปรมกุลนันท์. (2560). วัด – วัง ในพระราชประสงค์พระจอมเกล้าฯ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ศิลปวัฒนธรรม.

วิจิตรวาทการ, หลวง. (2544). ประวัติศาสตร์เศรษฐกิจของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สร้างสรรค์บุ๊คส์.

ศักดา ปั้นเหน่งเพ็ชร. (2554). วาทศิลป์ของพระมหากษัตริย์และบุคคลสำคัญในยุคสุโขทัยและอยุธยา. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ. (2554). ทฤษฎีการสื่อสาร (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

สมพันธุ์ เลขะพันธ์. (2549). วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สาระ มีผลกิจ. (2555). พระราชดำริและพระราชกรณียกิจในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับการธำรงรักษา พัฒนา และถ่ายทอดความรู้. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต) คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). วรรณคดีวิจักษ์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว.

สุวรรณา สัจจวีรวรรณ. (2519). เปรียบเทียบการดำรงรักษาเอกราชของประเทศไทยโดยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ของพม่าโดยพระเจ้ามินดง และของญวนโดยจักรพรรดิตือดึก (วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต) คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท. (2542). วาทวิทยาในประวัติศาสตร์ไทย: ยุคกรุงธนบุรี และกรุงรัตนโกสินทร์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ทุนวิจัยงบประมาณแผ่นดิน.

อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์. (2538). การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นผู้นำไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 4 – พ.ศ.2475. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Andrew, L., Em, G. & Glenn, S. (2015). A First Look at Communication Theory (9th Edition). McGrawHill Education: Singapore.

Karen, A.F. and Stephen, W.L. (2008). Theories of Human Communication (9th Edition). Wadsworth Cengage Learning: Canada.