ผลกระทบของคุณลักษณะบุคลิกภาพส่วนบุคคลต่อความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กรและความสำเร็จขององค์กรขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลกระทบขององค์ประกอบของคุณลักษณะบุคลิกภาพส่วนบุคคลต่อความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กร 2) ศึกษาผลกระทบของความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กรต่อความสำเร็จขององค์กร และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบของบุคลิกภาพส่วนบุคคลกับบรรยากาศขององค์กรที่ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 203 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามและสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะบุคลิกภาพส่วนบุคคลโดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณลักษณะการมีจิตสำนึกที่ดี และความมั่นคงทางอารมณ์ ส่งผลต่อความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .10 ตามลำดับ 2) ความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กรส่งผลทางบวกต่อความสำเร็จขององค์กร และ 3) บรรยากาศขององค์กรส่งผลทางบวกโดยตรงต่อความสามารถในการเรียนรู้ขององค์กร
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
Barrick, M.R. and Mount, M.K. (1991). The big five personality dimensions and job performance: A meta-analysis. Journal of Applied Psychology, 44 (1), 1-26.
Barrick, M.R. and Mount, M.K. (1993). Autonomy as a Moderator of the Relationship between the Big Five Personality Dimensions and Performance. Journal of Applied Psychology, 78 (1), 111-118.
Bierly, P.E., and Hamalainen, T. (1995). Organizational Learning and Strategy. Scan.J. Mgmt. 11, 209-224.
Chow, Jong-min. (2004). The relationships among Management Accounting Information, Organizational Learning and Production Performance. Journal of Strategic Information, 13, 61-85.
Matzler Kurt K and Mueller Julia. (2011). Antecedents of knowledge sharing – Examining the influence of learning and performance orientation. Learning and Individual Differences, 29, 1–7.
Nunnally, J. C. and Bernstein, I. H. (1994). Psychometric Theory. New York, NY: McGraw-Hill
Oh. H., Labianca, G., and Chung, M. (2006). Multilevel Model of Group Social Capital, Academy Management Review, 31(3), 569-582.