การเตรียมความพร้อมในการเกษียณอายุงานของเจ้าหน้าที่ชุมนุมสหกรณ์ ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด : การศึกษาแบบสร้างทฤษฏีฐานราก
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สิทธิประโยชน์ต่างๆที่จะได้รับของเจ้าหน้าที่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด (2) การเตรียมความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม หลังเกษียณอายุงานของเจ้าหน้าที่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด
โดยการวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เป็นการศึกษาแบบสร้างทฤษฏีฐานรากโดยใช้วิธีการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลักได้แก่ เจ้าหน้าที่ของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด ที่มีอายุตั้งแต่ 55 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน โดยการเก็บข้อมูลแบบการสนทนากลุ่ม บันทึกเสียง และการสังเกต การวิเคราะห์เอกสารและศึกษาจากงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการแปลความและตีความข้อมูล และเลือกตัวอย่างเชิงทฤษฏีโดยวิธีการเจาะจงตามลักษณะที่กำหนดไว้ เพื่อหาข้อสรุปในประเด็นเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ต่างๆที่จะได้รับหลังการเกษียณอายุงาน การเตรียมความพร้อมในด้านเศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัย สุขภาพร่างกาย การใช้เวลาว่างและด้านครอบครัวสังคม โดยมีขั้นตอนการศึกษาดังนี้ คือ 1) ทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2) วิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย การออกแบบการวิจัย ขอบเขตการวิจัย ผู้ให้ข้อมูลหลัก และเครื่องมือสำหรับการวิจัย 3) การวิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปผลการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า 1) เจ้าหน้าที่ของชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด เกือบทั้งหมด มีความรู้ความเข้าใจดีต่อการเตรียมความพร้อมหลังเกษียณอายุงาน แต่มีเจ้าหน้าที่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ เพียงส่วนน้อยที่ครอบครัวมีฐานะค่อนข้างดี จึงไม่เห็นความจำเป็นในการเตรียมความพร้อมในการเกษียณอายุงาน 2) เจ้าหน้าที่ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์ฯ มีสภาวะการเตรียมความพร้อมค่อนข้างดีใน 5 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านการใช้เวลาว่าง และด้านครอบครัวและสังคม และได้มีการจัดระดับปัญหาในด้านต่างๆที่เกิดขึ้น โดยพบว่า ปัญหาด้านสุขภาพอยู่ในระดับมากที่สุด ปัญหาด้านเศรษฐกิจอยู่ในระดับปานกลาง และปัญหาด้านที่อยู่อาศัยอยู่ในระดับน้อยที่สุด 3) ข้อเสนอแนะที่ทางกลุ่มสนทนาเสนอให้ชุมนุมสหกรณ์ออมทรัพย์แห่งประเทศไทย จำกัด ดำเนินการ คือ การจัดทำคู่มือการเตรียมความพร้อมเพื่อการเกษียณอายุงาน โครงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ โครงการฝึกอบรมอาชีพเสริมหลังเกษียณอายุงาน และโครงการเงินกู้ยืมเพื่อการประกอบอาชีพเสริม
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
พัฒนี ทองพึง (2555). รายงานวิจัย การวางแผนการเงินส่วนบุคคลเพื่อวัยเกษียณอายุ: กรณีศึกษาเฉพาะครูโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.
สุพรรณี รัตนานนท์, เมธี จันทชาติ และทยณฐ ชวนไชยสิทธิ์. (2557). รูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุงาน กรณีศึกษาครูโรงเรียนเอกชนจังหวัดนนทบุรี. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม (e-JODIL), 4(1), 82-101.
เพ็ญประภา เบญจวรรณ. (2558). การเตรียมความพร้อมก่อนเกษียณอายุ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์.วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 2(1), 82-92.
ปิยะดา พิศาลบุตร และพิทักษ์ ศิริวงศ์. (2558). การเตรียมตัวเพื่อการเกษียณอายุของบุคลากรสายสนับสนุนวิชาการของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(3), 202-216.
Charmaz, K. (2006). Constructing grounded theory: A practical guide through qualitative analysis. London: Sage.
Patton, M.Q. (1990). Qualitative evaluation and research methods (2nd edition). Newbury Park, CA: Sage.