การพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

บังอร เสรีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)พัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร 2) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานครก่อนและหลังร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และ3) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานครระหว่างกลุ่มทดลองที่ร่วมกิจกรรมตามรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และกลุ่มควบคุม  ประชากรเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2559 กลุ่มตัวอย่างเป็น นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 62 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (cluster random sampling) การวิจัยประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และ 2) ขั้นทดลอง เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการจัดกิจกรรมตามรูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร 2) แผนการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร และ 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ t-test for dependent samples และ t-test for independent samples ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตรเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในกรุงเทพมหานครประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ (1) แนวคิด (2) วัตถุประสงค์ (3) กระบวนการและบทบาทของผู้สอน (4) ผลที่นักเรียนได้รับ และ (5) ปัจจัยสนับสนุนการใช้รูปแบบฯ 2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มทดลอง มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์หลังทดลองสูงกว่าก่อนทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 และ 3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มทดลอง มีคะแนนความสามารถในการคิดวิเคราะห์สูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์. (2544). การบริหารสมอง (Brain Gym). กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2557). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ต้องก้าวให้พ้นกับดักของตะวันออก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ทิศนา แขมมณี. (2558). การพัฒนากระบวนการคิด: แนวทางที่หลากหลายของครู.ใน ไพทูรย์ สินลารัตน์. ศาสตร์การคิด. กรุงเทพ: สำนักพิมพ์ธุรกิจบัณฑิตย์

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการทางการคิด. กรุงเทพฯ: เดอร์มาสเตอร์กรุ๊ป แมแนเมนต์ จำกัด.

วีระ สุดสังข์ (2550). การคิดวิเคราะห์ คิดอย่างมีวิจารณญาณ และคิดสร้างสรรค์ .กรุงเทพฯ: ชมรมเด็ก.

Bassett,P.F. (2009). Demonstrations of Learning for 21st-Century Schools. Retrived January 10, 2014, from http://www.nais.org/Magazines-Newsletters/ISMagazine/Pages/ Demonstrations – of-Learning-for- 21st - Century-Schools.aspx.

Bloom, B.S. (1957). Taxonomy of educational objectives. New York: David McKay Company.

Fosnot, C. (1992). Constructing Constructivism. In Duffy, T.M. (editor). Constructivism and the Technology of instruction. (pp. 167-181). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Johnson, D. W., Johnson, R. T. and Holubec, E. J. (1994). The Nuts and Bolts of Cooperative Learning. Minnesota: Interactive Book Company.

Joyce, B. & Weil, M. (1992). Models of teaching. Boston: Allyn and Bacon.

Killeckey, H. (1993).Critical and sensitive periods in neurology. In Hunt, R.K. (editor).Current topic in developmental biology .New York: Academic Press.

Klausmeier, H.K. (1985). Educational Psychology. (5th ed). New York: Harper & Row.

Kolb, D. (1984). Experiential Learning. New York: A Simon and Schuster.

Marzano, R. J. (2001). Designing a new Taxonomy of Education Objective. California: Corwin Press.

Reilly, D. E. & Oermann, M.H. (1999). Clinical Teaching in Nursing Education. Boston: Jones and Bartlett.

Sternberg, R.J (1999). Handbook of creativity. New York: Cambridge University Press.

Witt, R. & McManus, I. (2009). Twenty-First Century Skills. Retrived January, 11, 2015 from http://www.invernessassociates.org/newx/twenty-first-century-skills