การพัฒนารูปแบบการฝึกทักษะวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมร่วมกับระบบการจัดการความรู้โดยใช้เทคนิคเดลฟาย

Main Article Content

กฤษดา ศรีจันทร์พิยม
ไพโรจน์ สถิรยากร
พิสิฐ เมธาภัทร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการฝึกทักษะวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมร่วมกับระบบการจัดการความรู้โดยใช้เทคนิคเดลฟาย วิธีดำเนินการวิจัยเริ่มจากการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยรวบรวมเป็นองค์ความรู้สำหรับพัฒนารูปแบบ จากนั้นทำการร่างแบบสอบถามเพื่อใช้ในการเก็บข้อมูลด้วยเทคนิคเดลฟาย พร้อมคัดเลือกและแต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญในการให้ข้อมูลโดยคัดเลือกได้จำนวน 21 คน และทำการเก็บข้อมูลตามกระบวนการเก็บข้อมูลของเดลฟาย จำนวน 3 รอบ ค่ามัธยฐานที่คำนวณได้อยู่ในช่วง 4.00 ถึง 5.00 ส่วนค่าพิสัยควอไทล์คำนวณได้ค่าพิสัยควอไทล์น้อยกว่า 1.50 จากนั้นจึงจัดทำร่างรูปแบบและจัดทำการสนทนากลุ่ม โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 9 คน จากสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรครุศาสตร์อุตสาหกรรม จึงได้รูปแบบการฝึกทักษะวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมร่วมกับระบบการจัดการความรู้ที่ได้ผ่านการ Focus Group ที่ประกอบไปด้วย 5 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์รายวิชา (Course Analysis) 2) การออกแบบแผนการสอน (Teaching Plan Design) 3) การฝึกซ้อมสอน (Try out) 4) การสอนจริง (Implement) และ 5) นิเทศการสอน (Supervision) การฝึกทักษะในแต่ละโมดูลจะมีระบบการจัดการความรู้ (Knowledge Management) ให้ผู้เรียนศึกษาเป็นแนวทาง โดยจัดทำเป็นใบสั่งงานพร้อมชุดการฝึกทักษะเป็นโมดูล ตามระบบการจัดการความรู้ที่มี 4 กระบวนการ คือ 1) การสร้างความรู้ 2) การแสวงหาความรู้ 3) การรวบรวมความรู้ และ 4) การใช้ประโยชน์ความรู้ จากนั้นได้แต่งตั้งผู้เชี่ยวชาญเพื่อประเมินความเหมาะสมของของรูปแบบการฝึกทักษะวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมร่วมกับระบบการจัดการความรู้ ผลการประเมินเห็นว่ารูปแบบการฝึกทักษะวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมร่วมกับระบบการจัดการความรู้ มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.67) ผลการประเมินความเหมาะสมของระบบการจัดการความรู้ที่พัฒนาประเมินจากผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการความรู้จำนวน 3 คน มีระดับความเหมาะสมมากที่สุด (ค่าเฉลี่ย 4.67) ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมการฝึกทักษะวิชาชีพครูช่างอุตสาหกรรมร่วมกับระบบการจัดการความรู้ ได้ระดับคะแนน 83.70/85.51 สูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่ 80/80 พร้อมทั้งให้ปฏิบัติการฝึกจริง ซึ่งค่าคะแนนจากการประเมินการปฏิบัติการฝึกทักษะวิชาชีพครู มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 87.28 สูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ นั่นคือ ร้อยละ 75 ค่าเฉลี่ยระดับความพึงพอใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีค่าเฉลี่ย 4.69 อยู่ในระดับความพึงพอใจมากที่สุด

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤษณ์ จันทนะโกเมษกุล. (2539). ความคิดเห็นของนักศึกษาฝึกสอน อาจารย์พี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ เกี่ยวกับการฝึกสอนของนักศึกษา ตามหลักสูตรประกาศนียบัตรครูเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) กรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาเครื่องกล ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ขนิษฐา หินอ่อน. (2555). ปัญหาและแนวทางพัฒนากระบวนการฝึ กประสบการณ์วิชาชีพด้านการสอน คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 5(1), 7-20.

ทรงชัย ดาศิริ. (2536). การประเมินกระบวนการฝึกสอนสายวิชาชช่างอุตสาหกรรม ตามทัศนะของอาจารย์นิเทศก์นักศึกษาฝึกสอน นักเรียน : คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ทรงนคร การนา และสุราษฎร์ พรมจันทร์. (2558). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาสมรรถนะการสอนสำหรับนักศึกษาครูช่าง. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

บุษราคัม ทองเพชร และฤทัย ประทุมทอง. (2559). การพัฒนากระบวนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สำหรับการผลิตครูช่างอุตสาหกรรม. การประชุมวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมระดับชาติ ครั้งที่ 9. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ปทุมมาศ รักษ์วงศ์, มนต์ชัย เทียนทอง และ ชัยวิชิต เชียรชนะ. (2561). การพัฒนารูปแบบการฝึกอบรมครูสำหรับทำวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ในชั้นเรียนตามแนวทางสุ จิ ปุ ลิ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 9(3).

ประเทียบ พรมสีนอง. (2558). การพัฒนารูปแบบการจัดการการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูของนักศึกษาครุศาสตร์อุตสาหกรรม. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ภาควิชาครุศาสตร์เครื่องกล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

ไพศาล หุ่นแก้ว. (2531). การพัฒนาคุณภาพบัณฑิตครูช่างของคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. 1(1), 22-33.

พรฤดี เนติโสภากุล. (2554). เทคโนโลยีการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ร่มโมกข์.

มนูญ บูลย์ประมุข. (2557). การสร้างและหาประสิทธิภาพชุดการสอนวิชา ไมโครโปรเซสเซอร์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร. รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 (538 - 544). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

มานิตย์ สิทธิชัย. (2555). ศาสตร์การสอนวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

มานิตย์ สิทธิชัย. (2522). ปัญหาการฝึกสอนทฤษฎีวิชาไฟฟ้าของภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาไฟฟ้า ภาควิชาครุศาสตร์ไฟฟ้า บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

รุ่งสว่าง บุญหนา, สบสันติ์ อุตกฤษฏ์ และ มนต์ชัย เทียนทอง. (2561). การพัฒนารูปแบบ ระบบ และหลักสูตรฝึกอบรมครู ในการจัดการความรู้ เพื่อสนับสนุนการสอนวิชาโครงการ. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรม พระจอมเกล้า พระนครเหนือ, 9(3).

วิจารณ์ พาณิช. (2555). วิถีการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.

วัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2562). การวิจัยอนาคตโดยใช้เทคนิคเดลฟาย. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา. 8(1).

สุทัศน์ สังคะพันธ์. (2557). บทความทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562, จากเว็ปไซต์: https://www.srn2.go.th/attachments/article/145/รวมบทความ.pdf.

สุริโยทัย สุปัญญาพงศ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้ ในด้านอาชีวศึกษาจากครูผู้เชี่ยวชาญในท้องถิ่น โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาบริหารอาชีวะและเทคนิคศึกษา ภาควิชาบริหารเทคนิคศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. สืบค้นเมื่อ 18 ธันวาคม 2562, จากเว็ปไซต์: https://site.ksp.or.th/content.php?site=library&SiteMenuID=4609&Action=view&Sys _Page=&Sys_PageSize=&DataID=2413.

Wiig, K. (1997). Knowledge Management: an Introduction and perspective. Journal of Knowledge management. 1(1), 6-14.