การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

พัณบงกช ปาณมาลา
นภาภรณ์ ธัญญา

บทคัดย่อ

          งานวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อม มลพิษน้ำเสีย มลพิษอากาศ มลพิษกากขยะของเสีย เพื่อสร้างและพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน เพื่อนำหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนไปทดลองใช้ เพื่อนำผลที่ได้จากการทดลองใช้หลักสูตรมาประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์แบบเจาะจง (Specification interview) กับผู้บริหารท้องถิ่น อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 21 คน แบบสอบถาม (Questionnaire) ประชาชนใน อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา  ก่อนเรียนและหลังเรียนหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 400 คน แบ่งเป็น 5 กลุ่ม กลุ่มละ 80 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ
(t - test) ค่าเฉลี่ย (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X}) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD.) ผลการวิจัยและวิเคราะห์ปัญหาสิ่งแวดล้อมชุมชน อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทราพบว่า


1. ปัญหาสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ต่างๆ ของอำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยมีเกณฑ์มาตรฐานน้ำทิ้งสำหรับชุมชนตามพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อม (พรบ.) ปี พ.ศ 2535 ผลการวิเคราะห์ ดังนี้ (1) ตำบลหนองไม้แก่น พบว่า มีมลพิษที่มีกลิ่นเหม็นมากจากการทำเกษตรกรรม แต่ผลตรวจค่าน้ำทิ้งที่พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตาม (พรบ.) ปี 2535 ไม่พบภาวะมลพิษสิ่งแวดล้อม (2) หมู่ 12.ตำบลแปลงยาว พบว่า มีมลพิษจากกากขยะของเสียอิเลคทรอนิกส์อาจทำให้เกิดมลภาวะน้ำเสียได้แต่ผลตรวจค่าน้ำทิ้งที่พบอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตาม (พรบ.) ปี พ.ศ 2535 ไม่พบภาวะมลพิษสิ่งแวดล้อม  และ (3) หมู่ 10.ตำบลแปลงยาว พบว่า มีมลพิษน้ำเสียและมีกลิ่นเหม็นมากจากฟาร์มปศุสัตว์ ผลตรวจค่าน้ำทิ้งต้นทาง และปลายทาง ที่พบมีค่าน้ำทิ้งค่อนข้างสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานตาม (พรบ.) ปี 2535 


2. ผลการประเมินความเหมาะสมคุณภาพด้านเนื้อหาของหลักสูตร ด้านสื่อการสอนของหลักสูตร พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X} = 372.05, SD. =23.94) สูงกว่าก่อนเรียน ( gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X}= 182.83, SD. = 9.06) ผลค่า (t.) กลุ่มที่ 1-5 พบว่าก่อนเรียนต่ำกว่าหลังเรียน และเปรียบเทียบ ค่าเฉลี่ย df.  กลุ่มที่ 1-5 ก่อนเรียนและหลังเรียน = 47 มีค่า Significant = 0.00เพราะว่าผลคะแนน เฉลี่ยหลังการเรียน( (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X}= 372.05, SD. =23.94) มีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X} = 182.83, SD. = 9.06)


3. ผลของการนำหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมชุมชนไปทดลองใช้ พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียน (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X} = 372.05, SD=23.94) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X}= 182.83, SD. = 9.06) ผลค่า (t.) กลุ่มที่ 1-5 พบว่าก่อนเรียนต่ำกว่าหลังเรียน และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ย df.  กลุ่มที่ 1-5 ก่อนเรียนและหลังเรียน = 47 มีค่า Significant = 0.00  เพราะว่า ผลคะแนนเฉลี่ยหลังการเรียน (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X}= 372.05, SD. = 23.94) มีคะแนนสูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X}= 182.83, SD. = 9.06)


4. ผลการประเมินหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน ก่อนเรียนและหลังเรียน มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของ หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมชุมชน อำเภอแปลงยาว จังหวัดฉะเชิงเทรา มีคะแนนเฉลี่ย หลังเรียน (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X} = 182.83, SD. = 23.94) สูงกว่าก่อนเรียน (gif.latex?\fn_cm&space;\bar{X} = 189.67, SD. = 14.88)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมโรงงานอุตสาหกรรม. (2554). ตำราระบบบำบัดมลพิษน้ำ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: กรมโรงงานอุตสาหกรรมและคณะวิศวกรรมศาสตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2555). การประชุมวิชาการ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ครั้งที่ 1 4. กรุงเทพฯ: กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.

กาญจนา คุณารักษ์. (2558). พื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร. นครปฐม: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์. (2543). การพัฒนาหลักสูตร: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะคุรุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จำรูญ ยาสมุทร. (2555). วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและการจัดการคุณภาพ. เชียงใหม่: คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

จุฑามาศ กาญจนธรรม และเด่น ชะเนติยัง. (2558).การพัฒนารูปแบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการ บริหารจัดการในสถานศึกษาสังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จันทบุรี เขต 2 [ฉบับพิเศษ]. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 9, 109-121.

ฆนัท ธาตุทอง. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. นครปฐม: เพชรเกษมการพิมพ์.

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์. (2548). มนุษย์กับสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์

นิวัติ เรืองพานิช. (2556). การอนุรักษ์ทรพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

นภาภรณ์ ธัญญา และวิมลรัตน์ จตุรานนท์ (2551). การพัฒนาบทเรียนอิเลคทรอนิคส์ออนไลน์วิชาวิทยาศาสตร์โดยใช้กิจกรรม การเรียนรู้ตามแนวคิด ไฮ /สโคปสำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียนเบญจมราชาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์. ชลบุรี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

นภาภรณ์ ธัญญา. (2558). การพัฒนาการเรียนรู้เรื่อง “ การคูณ” โดยการจัดการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือช่วยเหลือสำหรับนักเรียน ชั้นประถมปีที่ 4 โรงเรียนอำนวยวิทย์นครปฐม.กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี.

บุญชม ศรีสะอาด. (2556). การพัฒนาหลักสูตรและการวิจัยเกี่ยวกับหลักสูตร. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ปราโมทย์ จันทร์เรือง. (2552). เอกสารคำสอนรายวิชาการพัฒนาหลักสูตร. ลพบุรี: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

พรรณี ลีกิจวัฒนะ. (2559). วิธีการวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: มีน เซอร์วิส ซัพพลาย.

พีรกานต์ ศิริรักษ์ และณักษ์ กุลิสร. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของนักท่องเที่ยวในจังหวัดภูเก็ต (ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

วิชัย ดิสสระ. (2545). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสานส์.

สันทัด ศิริอนันต์ไพบูลย์. (2557). ตำราระบบบำบัดน้ำเสีย (ฉบับปรับปรุงแก้ไข) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท๊อป.

สุเทพ อ่วมเจริญ. (2557). การพัฒนาหลักสูตร: ทฤษฎีและการปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ท๊อป.

อำนาจ จันทร์แป้น (2542). หลักสูตรท้องถิ่น. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

อัจฉรา ปุราคม, ศิริชัย ศรีพรหม, สบสันต์ มหานิยม, ธารินทร์ ก้านเหลือง และธีระศักดิ์ สร้อยคีรี. (2560). การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้กิจกรรมทางกายภาพผู้สูงอายุแบบองค์รวม (รายงานวิจัย). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์กำแพงแสน. นครปฐม.

Dick, W. & Cary, L. (1990). The Systematic Design of Instruction (3rd ed.). New York: Harper Collins College Publishers.

Sowell, Evelys J. (1996). Curriculum and Integrative Introduction. New York: Prentice Hall.

Tyler, Ralph W. (1949). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.

Tyler, Ralph W. (1950). Basic Principles of Curriculum and Instruction. Chicago: University of Chicago Press.