ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรโรงพยาบาลบางจาก จังหวัดสมุทรปราการ

Main Article Content

อโนทัย ผลิตนนท์เกียรติ
ทิพยรัตน์ แก้วศรี

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลและด้านการบริหารที่มีความสัมพันธ์ต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากร กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลากรในโรงพยาบาลบางจาก จำนวน 155 คน สุ่มตัวอย่างโดยการแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าความเชื่อมั่นสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบาคของแบบสอบถามตามตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย เท่ากับ 0.93, 0.93, 0.90 และ 0.93 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติความถี่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติไคสแควร์ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน จากการศึกษาพบว่าการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากร โรงพยาบาลบางจาก อยู่ในระดับปานกลาง ระดับการศึกษา ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน และตำแหน่งงานที่ปฏิบัติมีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 แรงจูงใจในการปฏิบัติงานมีความสัมพันธ์ทางบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงมีความสัมพันธ์ทางบวกค่าและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับต่ำ ส่วนการสนับสนุนจากองค์กรมีความสัมพันธ์ทางบวกและมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัญญวัลย์ ศรีสวัสดิ์พงษ์ และประจักร บัวผัน. (2554). การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย, 16 (5), 563-574.

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2552). สถิติสำหรับงานวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. (2557). TQM: การบริหารเพื่อคุณภาพโดยรวม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).

จิรานีย์ สายสนั่น ณ อยุธยา. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ พย.ม. (สาขาวิชาการบริหาร การพยาบาล) กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน.

เตือนใจ แสร์สินธุ์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์พย.ม.(สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

นภาภรณ์ อินต๊ะ. (2554). การมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล.วิทยานิพนธ์ ส.ม. (สาขาสาธารณสุขสาสตร์) เชียงใหม่: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ภาวะผู้นำและกลยุทธ์การจัดการองค์การพยาบาลในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ยุทธนา สุริยะ. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานกับความสุขในการทำงานของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลขนาด 60 เตียง จังหวัดบุรีรัมย์. โครงการวิจัยสาธารณสุข. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ: ทฤษฎี การวิจัย และแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เศกสิน ศรีวัฒนานุกูลกิจ. (2553). TQM: Total Management. วิชาองค์การและการจัดการประกอบ Lecture. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: http://202.28.25.19/mpa12cmu/tmp/Data2553 (24 สิงหาคม 2558).

ศูนย์พัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลบางจาก. (2558). สถิติงานคุณภาพ. คณะกรรมการควบคุมคุณภาพ: โรงพยาบาลบางจาก สมุทรปราการ.

สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. (2555). HA Healthcare Accreditation. นนทบุรี: สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). [ออนไลน์] แหล่งที่มา: www.ha.or.th (31 สิงหาคม 2558).

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2556). คู่มือการพัฒนาและรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน (4 กันยายน 2558).

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล. (2558). มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติ ฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. [ออนไลน์] แหล่งที่มา: www.jvnkp.net/ob/standard30715 (9 กันยายน 2558).

สถาพร รัตนวารีวงษ์. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลของบุคลากรสาธารณสุขในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดบึงกาฬ. วิทยานิพนธ์ส.ม.(สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ) นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุปราณี เจียรพงษ์. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมีส่วนร่วมของพยาบาลวิชาชีพในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดปราจีนบุรี. วิทยานิพนธ์ พย.ม. (สาขาการบริหารการพยาบาล) ปทุมธานี บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยอิสเทิร์นเอเชีย.

Cohen &Uphoff. (1980). Effective Behavior in Organizations. NY: Richard D. Irwin Inc.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introduction analysis. 2nd ed. NY: Harper & Row.