การรับรู้ถึงการได้รับการสนับสนุนจากองค์กร พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร และผลการปฏิบัติงานด้านวิชาการของบุคลากรสายวิชาการในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มรัตนโกสินทร์

Main Article Content

ฐิติวัจน์ ทองแก้ว
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้ถึงการได้รับการสนับสนุนจากองค์กรแบ่งเป็นปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก พฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กรที่ดี และผลการปฏิบัติงานด้านการศึกษา ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณที่ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่าง 343 คน คือ บุคลากรสายวิชาการในสังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มรัตนโกสินทร์ ได้จากการคำนวณโดยใช้สูตรของยามาเน่ ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้ถึงการได้รับการสนับสนุนจากองค์กร พฤติกรรมการเป็นสมาชิกองค์กรที่ดี และผลการปฏิบัติงานด้านการศึกษา มีความเชื่อมั่น 0.92 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระโดยใช้ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน และวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรด้วยการถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยภายในของการรับรู้การได้รับการสนับสนุนจากองค์กรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร 2) ปัจจัยภายนอกของการรับรู้การได้รับการสนับสนุนจากองค์กรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร และ 3) พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรมีอิทธิพลเชิงบวกต่อผลการปฏิบัติงานด้านการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .001

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา. (2558). ประกาศ “มาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2558”. ราชกิจจานุเบกษาหน้า 65 เล่ม 132 ตอนที่ 82 ง ประกาศวันที่ 20 สิงหาคม 2558.

ชญารัศมิ์ ทรัพยรัตน์ และประพันธ์ ชัยกิจอุราใจ. (2556). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การกับผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น (Organizational Citizenship Behavior and Its Consequences). FEU Academic review (มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น). ปีที่ 7. ฉบับที่ 1.

ชุติมา ชุติชิวานันท์. (2554). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การที่มีผลต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ กรณีศึกษา กลุ่มธุรกิจผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่. งานวิจัย ประมวลวิชาสำหรับนักศึกษา โครงการปริญญาโทบริหารธุรกิจ เน้นการบริหารทรัพยากรมนุษย์และองค์การ. คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เปรมจิตร์ คล้ายเพ็ชร์. (2548). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กร ความยุติธรรมองค์การที่ผลต่อความผูกพันองค์การ และความตั้งใจลาออก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปาริชาติ ปานสำเนียง. (2555). การศึกษาคุณภาพชีวิตในการทำงานและการรับรู้ความยุติธรรมในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กรของพนักงานมหาวิทยาลัยสายสนับสนุน กรณีศึกษาคณะแพทย์แห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม. (2558). รายงานการประชุมโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดทำ (ร่าง) ประกาศมาตรฐานภาระงานทางวิชาการของผู้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองศาสตราจารย์ และศาสตราจารย์ พ.ศ. 2558. ระหว่างวันที่ 2 – 3 พฤศจิกายน 2558 ณ ห้องประชุมพิมานจันทร์ 1 ชั้น 12 อาคารสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม.

มุทิตา คงกระพันธ์. (2554). การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้การสนับสนุนจากองค์กรผ่านความผูกพันต่อองค์กร และความพึงพอใจในงานที่มีต่อผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่. วิทยานิพนธ์ ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สฎายุ ธีระวณิชตระกูล. (2547). การส่งเสริมพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์การอย่างยั่งยืน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, 16(1) เดือนมิถุนายน – ตุลาคม 2547, หน้า 15 – 28.

สุมินทร เบ้าธรรม. (2554). การรับรู้ถึงการได้รับการสนับสนุนจากองค์กร ความพึงพอใจในการทำงาน ความผูกพันต่อองค์กร และความตั้งใจที่จะลาออกจากงานโดยสมัครใจของบุคลากรในสังกัดมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี. วารสาร มทร. อีสาน ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – มิถุนายน 2554, หน้า 37 – 55.

Ajmal, Ayesha, Bashir, Mohsin, Abrar, Muhammad, Khan, Muhammad M. and Saqib, Shahnazaz. 2015). The Effects of Instrinsic and Extrinsic Rewards on Employee Attitudes; Mediating Role of Perceived
Organizational Support. Journal of Service Science and Management 2015, 8, 461 – 470.

Mohsen, S., Amiri, S., Asadi, A. 2011). A Survey of Relationship between Organizational Commitments and Organizational Citizenship Behavior Case study: Regional Water Organization of Mazandaran Province. Interdisciplinary Journal of Contemporary Research in Business. September, 2011.

Özutku, Hatice. (2012). The Influence of Intrinsic and Extrinsic Rewards on Employee Results: An Empirical Analysis in Turkish Manufacturing Industry. Business and Economics Research Journal Volume 3 Number 3 2012. pp. 29-48

Podsakoff, Philip M., Mackenzie, Scott B., Paine, Julie B. and Bachrach Danel G. (2000). Organizational Citizenship Behaviors: A Critical Review of the Theoretical and Empirical Literature and Suggestions for Future Research. Journal of Management, Vol. 26, No. 3, 513 – 563.

Polat, Soner. (2009). Organizational citizenship behavior (OCB) display levels of the teachers at secondary schools according to the perceptions of the school administrators. ScienceDirect: Procedia Social and Behavior Science 1. 1591 – 1596.

Swaminathan, Samanvitha and Jawahar, P. D. (2013). Job Satisfaction as a predictor of Organizational Citizenship Behavior: An Empirical Study. Global Journal of Business Research, Vol. 7, No. 1. 71 – 80.

Tekleab, Amanuel G., and Chiaburu, Dan S. (2011. Social exchange, empirical examination of form and focus. Journal of Business Research, vol. 64, issue 5. 460 – 466.

Tambe, Sukhada and Shanker, Meera. (2014). A Study of Organazation Citizenship Behavior (OCB) and Its Dimension: A Literature Review. International Research Journal of Business and Management. Vol. 1, 67 – 73.