ความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง

Main Article Content

สุเมธ เนาว์รุ่งโรจน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT ประชากร คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 117 คน โรงเรียนห้วยยอด จังหวัดตรัง เครื่องมือวิจัยที่ใช้คือแบบสอบถามความพึงพอใจที่สอบถามข้อมูล 4 ด้าน คือ ด้านปัจจัยและสภาพแวดล้อม ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลลัพธ์ การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยใช้วิธีการทางสถิติด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และในการแปรผลระดับความพึงพอใจใช้วิธีการแปรผลตามเกณฑ์ของลิเคิร์ท (Likert scale) ผลการวิจัยพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 รวมจำนวน 117 คน มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์ 2 โดยใช้การสอนแบบ 4 MAT เฉลี่ยอยู่ในระดับพึงพอใจมาก ( = 4.38 และ S.D. = 0.70)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทิศนา แขมมณี. (2553). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย สันติวงษ์. (2533). การบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2557). พื้นฐานวิชาชีพศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมศักดิ์ คงเทียน และ อัญชลี โพธิ์ทอง. (2542). การบริหารบุคคลและทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

อรวรรณ พลายละหาร. (2545). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสนใจในการเรียนรายวิชา วิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ได้รับการสอนโดยการจัดกิจกรรมการสอนแบบ 4 MAT กับการสอนแบบปกติ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. (ประถมศึกษา) กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

Bower, Patricia Shame. (1987). The Effect of the 4 MAT System on Achievement and Attitudes in Science. Dissertation Abstracts International.