ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับพฤติกรรมการสอนของครูในสถานศึกษามัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37
Main Article Content
บทคัดย่อ
วิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 (2) ศึกษาพฤติกรรมการสอนของครู ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 และ (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับพฤติกรรมการสอนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร 8 คน ครู 279 คน รวม 287 คน จากสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 โดยทำการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าเกี่ยวกับพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารมีค่าความเที่ยงเท่ากับ .99 และพฤติกรรมการสอนของครูมีค่าความเที่ยง เท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า (1) พฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและ
รายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้ การพัฒนาหลักสูตร การนิเทศการสอนการสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียน การสนับสนุนเทคโนโลยีสารสนเทศในการจัดการเรียนการสอน การสนับสนุนทรัพยากรการศึกษา และการส่งเสริมบรรยากาศทางวิชาการ (2) พฤติกรรมการสอนของครู โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับดังนี้ การวางแผนการจัดการเรียนรู้ การวัดผลและประเมินผล การวิจัยในชั้นเรียน การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การใช้สื่อและเทคโนโลยี และการจัดบรรยากาศในชั้นเรียน (3) พฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการสอนของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Downloads
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
นาวา สุขรมย์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสถานศึกษากับประสิทธิภาพการสอนของครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์, มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี.
ปราโมทย์ สุวรรณเวก. (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารกับสมรรถภาพการสอนของครูในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานชั้นที่ 1-2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันราชภัฎกาญจนบุรี.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. (2542, 19 สิงหาคม). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 116 ตอนที่ 74 ก หน้า 8.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545. (2545, 19 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 119 ตอนที่ 123 ก หน้า 19.
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553. (2553, 22 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 45 ก หน้า 1 – 3.
ละอองดาว ปะโพธิง. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับพฤติกรรมการสอนที่มีประสิทธิภาพของครูในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จังหวัดเลย. ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (บริหารการศึกษา) สาขาวิชาศึกษาศาสตร์, มหาวิยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 37 กลุ่มงานนิเทศติดตามประเมินผล. (2556). รายงานผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2556 แพร่-น่าน.
สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2543). มาตรฐานการศึกษาเพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก: ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร : สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อัญชลี อินทร์เรือง. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารกับคุณภาพนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา เขตพื้นที่การศึกษานครนายก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.
Klausmier, Herbert J. (1961). Learning and Human Abilities. Educational Psychology. New York: Harper and Brothers.
Poirier, D.O. (2009). A principal’s and teachers’ perceptions and understandings of instructional leadership. A case study of one school. Degree of Master of Education in the Department of Educational Administration Graduate Studies University of Saskatchewan Saskatoon, Canada.