การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความมีวินัย และเจตคติต่อการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ผ่านระบบจัดการเรียนรู้ บนเครือข่าย

Main Article Content

ปัทมาศ ทองไสว

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความมีวินัย และเจตคติต่อการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนรู้ผ่านระบบจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น การดำเนินการวิจัยมีดังนี้ 1) การพัฒนาเว็บเพจรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม2) การหาประสิทธิภาพเว็บเพจรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม 3) การศึกษาการทดลองโดยกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) และโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 รวมทั้งสิ้น 236 คน ซึ่งประกอบด้วย (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 44 คน (2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ จำนวน 44 คน (3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวิชูทิศ จำนวน 27 คน (4) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยม-ประชานิเวศน์ จำนวน 45 คน (1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมบ้านบางกะปิ จำนวน 40 คน และ (6) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ จำนวน 36 คนโดยการสุ่มแบบเฉพาะเจาะจง
( purposive sampling) เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ เว็บเพจรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรมแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมมีแบบประเมินความมีวินัยที่เรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้บนเครือข่ายและแบบวัดเจตคติที่เรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้บนเครือข่าย   ดำเนินการทดลองตามแบบแผนการทดลอง One Group Pretest – Posttest Design โดยทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และแบบประเมินความมีวินัยที่เรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้บนเครือข่าย แล้วนำผลการทดสอบมาตรวจให้คะแนน จากนั้นดำเนินการจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนเรียนจากเว็บเพ็จรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ผ่านระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย เป็นระยะเวลา  5 สัปดาห์ๆ ละ  3  คาบๆ ละ 50 นาที  รวมเวลา  15  คาบ เมื่อสิ้นสุดการจัดการเรียนรู้ตามกำหนดแล้ว ทำการทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม และแบบประเมินความมีวินัยที่เรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้บนเครือข่าย แบบวัดเจตคติที่เรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้บนเครือข่าย ตรวจผลการทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม แบบประเมินความมีวินัยที่เรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้บนเครือข่าย และแบบวัดเจตคติที่เรียนรู้ผ่านระบบการเรียนรู้บนเครือข่าย แล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์ t-test Dependent Sample เพื่อทดสอบสมมติฐาน


                ผลการวิจัยพบว่า  1) หลังเรียนรู้ผ่านระบบจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยภาพรวมทั้ง 6 โรงเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) หลังเรียนรู้ผ่านระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปีที่ 2 ของแต่ละโรงเรียนมีความมีวินัยสูงขึ้นอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ และ 3) หลังเรียนรู้ผ่านระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายพบว่านักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ทุกโรงเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนรายวิชาสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมที่เรียนรู้ผ่านระบบจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย ทั้งในด้านระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายและด้านเว็บเพจรายวิชา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์. (2547). ข้อดีของโปรแกรม Moodle LMS. (เอกสารประกอบการบรรยาย). กรุงเทพมหานคร: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. (อัดสำเนา)

กุลชา ศิรเฉลิมพงศ์. (2544). แนวทางการพัฒนาความมีวินัยในตนเองของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม จังหวัดบุรีรัมย์. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, สาขาการพัฒนาสังคม, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ยืน ภู่วรวรรณ และสมชาย นำประเสริฐชัย. (2546). ไอซีทีเพื่อการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

วิชุดา หรรษาจารุพันธุ์. (2540). การศึกษาความพร้อมในการปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน. ปริญญานิพนธ์ พย.ม. (การบริหารการพยาบาล). กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย นามบุรี. (2550). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียน โดยใช้กิจกรรมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทเรียนสำเร็จรูปในสภาพแวดล้อม แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านโปรแกรม Moodle. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2554 จาก http://www.elearning108.info/sirichai/images/stories/ publication/ researches/2550/research_report50_อีเลิร์นนิ่ง_using_moodle.pdf

สมพร สุขขะ. (2545). การพัฒนารูปแบบของเว็บเพจเพื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เสกสรร สายสีสด. (2544). การพัฒนาระบบการเรียนการสอนโดยใช้อินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันราชภัฏ. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. เทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เสาวณีย์ สิกขาบัณฑิต. (2528). เทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.