แรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือเจ้าหน้าที่องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน) หรือ อพท. จำนวนทั้งสิ้น 103 คน ผู้วิจัยได้กำหนดขนาดตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน โดยใช้เครื่องมือที่เป็นแบบสอบถาม ค่าสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยแรงจูงใจจำนวน 6 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความรับผิดชอบ 2. ด้านความมั่นคงในหน้าที่การงาน 3. ด้านการยอมรับนับถือ 4. ด้านนโยบายและการบริหาร 5. ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ และ6. ด้านสวัสดิการ ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการสนับสนุนงานพัฒนาการท่องเที่ยวในพื้นที่พิเศษ และ 2) ปัจจัยแรงจูงใจจำนวน 5 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านการยอมรับนับถือ 2. ด้านนโยบายและการบริหาร 3. ด้านสถานที่ทำงาน 4. ด้านความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ และ 5. ด้านเงินเดือน ส่งผลต่อการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการหน้าที่อื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
เทพพนม เมืองแมน และสวิง สุวรรณ. (2529). พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.
ธงชัย สันติวงษ์ และ ชัยยศ สันติวงษ์. (2526). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ. กรุงเทพฯ: วัฒนาพานิช.
นรา สมประสงค์.(2536). ทฤษฏีและแนวปฏิบัติในการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ประจักษ์ สุวรรณภักดี. (2532). แรงจูงใจในการทำงานของข้าราชการไทย ศึกษาเฉพาะกรณีข้าราชการกรมการปกครองในส่วนกลาง. เอกสารการวิจัยส่วนบุคคล วิทยาลัยการปกครอง.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์.(2543). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 8) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
มนัส บุญวงศ์.(2537). แรงจูงใจในการทำงานของพนักงานในโรงงานอุตสาหกรรมเครื่องหนัง. (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน).(2546). พระราชกฤษฏีกาจัดตั้ง อพท.องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2556). รายงาน ประจำปี. กรุงเทพฯ: บริษัท แมชชิ่ง จำกัด.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2557). รายงานประจำปี. กรุงเทพฯ: บริษัท ซีโน่ พับบลิชชิ่ง จำกัด
Davis, K. and Newstrom, J.W. (1998). Human Behavior at Work: Organizational Behavior. (8thed) NY: McGraw-Hill Book Co.
Dunn, J.D. and others. (1973). Management Essentials: Resource. NY: McGraw-Hill Book Co.
Feldmand, D.C. and H.J. Arnold. (1984). Managing Individual and Group Behavior Management. NY: McGraw-Hill Book Co.
Herzberg, F.; Mausner, B. and Synderman, B. (1959). The Motivation to Work. (2nded). NY: John Wiley and Sons.Inc.
Maslow, A.H. (1970). Motivation and Personality. (2nded). NY: Harper and Row.
McClelland, David C. (1962). Business Drive and National Achievment. NY: D. Van Nostrand.