การจัดการเรียนการสอนการสร้างสรรค์ผลงานทางวิทยุโทรทัศน์ด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ผ่านสื่อออนไลน์

Main Article Content

สรรพัชญ์ เจียระนานนท์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนรายวิชาการสร้างสรรค์ผลงานทางวิทยุโทรทัศน์ผ่านกิจกรรมโครงการผลิตสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ผ่านสื่อออนไลน์เว็บไซต์ยูทูบ (Youtube) และ 2) ศึกษาผลการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมโครงการผลิตสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ผ่านสื่อออนไลน์เว็บไซต์ยูทูบ (Youtube) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ ของรายวิชาการสร้างสรรค์ผลงานทางวิทยุโทรทัศน์ หลักสูตรนิเทศศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา


ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนผ่านกิจกรรมโครงการผลิตสร้างสรรค์รายการโทรทัศน์ผ่านสื่อออนไลน์เว็บไซต์ยูทูบ (Youtube) ได้ฝึกปฏิบัตินักศึกษาตามทฤษฎีการใช้ประโยชน์และความพึงพอใจของสื่อที่ว่าผู้ชมเป็นผู้เลือกและการเลือกใช้สื่อของพวกเขานั้นเป็นไปตามเป้าหมายที่พวกเขาต้องการและการตัดสินคุณค่าของเนื้อหาสื่อเป็นการประเมินโดยผู้ชม โดยมีการวัดผลการรับชมรายการโทรทัศน์ผ่านจำนวนยอดผู้ชมในเว็บไซต์ยูทูบ และ 2) ผลการศึกษาเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มทดลองจากการได้เรียนรายวิชาการสร้างสรรค์ผลงานทางวิทยุโทรทัศน์ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ มีคะแนนการประเมินด้านคุณธรรมจริยธรรม ค่าเฉลี่ย 4.6 อยู่ในระดับดี – ดีมาก, มีคะแนนการประเมินด้านความรู้ ค่าเฉลี่ย 4.8 อยู่ในระดับดี – ดีมาก, มีคะแนนการประเมินด้านทักษะปัญญา ค่าเฉลี่ย 4.4 อยู่ในระดับดี, มีคะแนนการประเมินด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ค่าเฉลี่ย 4.67 อยู่ในระดับดี – ดีมาก, มีคะแนนการประเมินด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ค่าเฉลี่ย 4.5 อยู่ในระดับดี – ดีมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพ. (2547). สื่อสารมวลชน ทฤษฎีและแนวทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพมหานคร: เลิฟ แอนด์ ลีฟ.

กาญจนา แก้วเทพ. (2549). ศาสตร์แห่งสื่อและวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: บริษัท เอดิสันเพรสโพรดักส์จำกัด.

กาญจนา แก้วเทพ. (2553). แนวพินิจใหม่ในสื่อสารศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

กาญจนา แก้วเทพ. (2554). ผู้คนที่หลากหลายในการสื่อสาร: เด็ก สตรี และผู้สูงวัย. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัย.

นพ ศรีบุญนาค. (2545). องค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.

พีระ จิรโสภณ. (2554). ทฤษฎีการสื่อสารมวลชน. ใน ประมวลสาระชุดวิชาปรัชญานิเทศศาสตร์และทฤษฎีการสื่อสาร. (หน่วยที่ 10, หน้า 190-216). นนทบุรี: สาขาวิชานิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรรณพร พุทธภูมิพิทักษ์. (2554). ทฤษฎีองค์การและการจัดการ. พิมพ์ครั้งที่ 1. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.

วิทวัส รุ่งเรืองผล. (2552). หลักการตลาด. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: บริษัท มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จำกัด.

สมสุข หินวิมาน และคณะ. (2554). ความรู้เบื้องต้นทางวิทยุและโทรทัศน์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Em Griffin (2012). A First Look at Communication Theory. New York: McGraw-Hill.

Fred N. Kerlinger, Howard B. Lee (2000) Foundations of Behavioral Research. Wadsworth Cengage Learning. USA.

Roger D. Wimmer , Joseph R. Dominick (2011). Mass Media Research An Introduction.Wadsworth Cengage Learning. USA.

Stanley J. Baran Dennis K. Davis. (2012). Mass Communication Theory Foundations, Ferment, and Future. Canada: Wadesworth, Cengage Learning.

Stephen W. Littlejohn, Karen A. Foss (2008). Theories of Human Communication. Wadsworth Cengage Learning. USA.