การศึกษาสุขภาพองค์กรของมหาวิทยาลัยเอกชน

Main Article Content

นลินี สุตเศวต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสุขภาพองค์กรของมหาวิทยาลัยเอกชน และแนวทางการส่งเสริมสุขภาพองค์กรของมหาวิทยาลัยเอกชน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ผู้บริหารและบุคลากรของมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 39 สถาบัน โดยใช้การสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบสัดส่วนตามจำนวนและขนาดของสถาบันในแต่ละกลุ่ม  แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย  ได้กลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ให้ข้อมูลจาก 14 สถาบัน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยแบบสอบถามเกี่ยวกับมิติสุขภาพองค์กร 7 มิติตามแนวคิดและทฤษฎีของฮอยและมิสเกล ได้แก่ 1.มิติบูรณภาพของสถาบัน 2.มิติด้านกิจสัมพันธ์ 3.มิติด้านมิตรสัมพันธ์ 4.มิติด้านอิทธิพลของผู้บริหาร 5.มิติด้านการสนับสนุนทรัพยากร 6.มิติด้านขวัญกำลังใจ และ7.มิติด้านการมุ่งเน้นวิชาการ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการวิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา  


ผลการวิจัย พบว่า 1) สุขภาพองค์กรของมหาวิทยาลัยเอกชนใน 7 มิติ โดยรวมมีค่าคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลางเกือบทุกมิติ ยกเว้นในมิติ ที่  1  ด้านบูรณภาพของสถาบัน  ที่มหาวิทยาลัยเอกชนมีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าค่าคะแนนกลาง 2) สุขภาพองค์กรของมหาวิทยาลัยเอกชนใน 7 มิติ พบว่า โดยรวมมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 14 สถาบัน มีภาวะสุขภาพองค์กรสูงกว่าค่าเฉลี่ย   มีจำนวน 5 สถาบัน ที่มีภาวะสุขภาพองค์กรดี โดยเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดใหญ่ 1 สถาบัน ขนาดกลาง 3 สถาบัน และขนาดเล็ก 1 สถาบัน   และ 3) มีมหาวิทยาลัยเอกชน จำนวน 2 สถาบันที่มีภาวะสุขภาพองค์กรต่ำกว่าค่าเฉลี่ยเล็กน้อย  และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยมากเป็นมหาวิทยาลัยเอกชนขนาดใหญ่และขนาดกลางตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กอบัว ทัศนภักดิ์. (2550). องค์การสุขภาพดี. (สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). สถาบันบัณฑิต พัฒนบริหารศาสตร์, กรุงเทพฯ.

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2550). ทิศทางการอุดมศึกษาไทย. วันที่สืบค้น 15 ตุลาคม 2553 จาก http//learning.eduzone.com./dr.krieng/761.

คณะกรรมการฝ่ายพัฒนา. (2547). บทบาทสถาบันอุดมศึกษาเอกชนในการตอบสนองนโยบายเกี่ยวกับการปฏิรูป การศึกษาไทย. จุลสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ครบรอบ 27 ปี, 13(3): หน้า 11- 13.

จรูญ สุริรัมย์. (2542). สุขภาพองค์การกับประสิทธิผลโรงเรียนปฐมศึกษา สังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

จำเริญรัตน์ เจือจันทร์. (2543). การพัฒนาตัวบ่งชี้คุณภาพด้านวิชาการของมหาวิทยาลัยเอกชน. (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ทวีศิลป์ กุลนภาดล. (2547). การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีสำหรับการเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฎ. (ปริญญา นิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ.

ธงชัย สันติวงษ์. (2533). องค์การและการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 6). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

นลินี สุตเศวต. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้สุขภาพองค์กรของสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. (ปริญญาดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

Clark, J.V. (1969). A healthy organization in the planning change (2nd ed.). NY: Holt Rinehart and Winston.

Daniel, K., & Robert L.K. (1978). The Social psychology of organizing (2nd ed.). NY: John Wiley.

DePree, M. (1989). Leadership is an art. NY: Dell.

Dive, C. (2004). The Healthy organization: A Revolutionary approach to people & Management (2nded.). VA: Kogan page, London and sterling.

Wayne .K.Hoy & Feldman, J.A. (1987). Organizational health: The concept and its measure. Journal of Research and Development in Education, Vol. 20: 30-37.

Wayne .K.Hoy & Forsyth, P. B. (1986). Effective supervision: Theory into practice. NY: Random House.

Wayne .K.Hoy & Miskel, C.G. (1991). Educational administration: Theory research and practice. Singapore: McGraw-Hill.

Wayne .K.Hoy Tarter, C. J., & Bliss J. R. (1990). Organizational climate school health and effectiveness: A comparative analysis. Educational Administration Quarterly, 26(3): p 260-279.

Wayne .K.Hoy & Kottkamp, R.B. (1991). Open schools healthy schools: measuring organizational Climate. Newbury Park, CA: Corwin Press.