การตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้รับบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์

Main Article Content

ภัทรพร ยุบลพันธ์

บทคัดย่อ

                งานวิจัยเรื่องการตัดสินใจเลือกใช้บริการของผู้รับบริการผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจของผู้ใช้บริการ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยคุณภาพบริการกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการ ผลการวิจัย พบว่าระดับการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลสำโรงการแพทย์โดยรวมอยู่ในระดับสูง ซึ่งด้านการค้นหาข้อมูล และด้านการประเมินผลทางเลือกอยู่ในระดับปานกลาง  ผู้ใช้บริการที่มีรายได้แตกต่างกัน ตัดสินใจเลือกใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (F=2.635, p-value = 0.034) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคุณภาพบริการกับการตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลโดยรวมอยู่ในระดับสูง ในรายด้าน พบว่า ความน่าเชื่อถือมีค่าคะแนนความสัมพันธ์สูงสุด และด้านความเป็นรูปธรรมของการบริการมีค่าคะแนนความสัมพันธ์ต่ำสุด ดังนั้น โรงพยาบาลควรมีการพัฒนาระบบการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารและการสร้างภาพลักษณ์ที่โดดเด่นให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ชุมชนและบริเวณใกล้เคียง ได้รู้จักโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมนวรรณ มั่นมาก และกิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ. (2556). คุณภาพการบริการต่อการตัดสินใจใช้บริการ โรงพยาบาลเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการเงิน การลงทุน การตลาด และการ บริหารธุรกิจ, 3(1), 264-265.

กระทรวงสาธารณสุข สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์. (2558). จำนวนสถานพยาบาลจำแนกตามประเภท. สืบค้นเมื่อ 7 กันยายน 2558, จาก http://thcc.or.th/download/Number%20of%20hospital%20290558.pdf

จีรนันท์ เดชมิตร เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ คณะผู้วิจัย เป็นผู้สัมภาษณ์ ที่โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์ เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558.

ชนิดาภา วรณาภรณ์. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการตัดสินใจเลือกใช้บริการธนาคารกรุงไทยสาขาติวานนท์ กระทรวงสาธารณสุข. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยสยาม, กรุงเทพฯ.

ชูชัย สมิทธิไกร. (2554). พฤติกรรมผู้บริโภค. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ณฤมล ประสิทธิ์. (2556). พฤติกรรมและความต้องการใช้บริการทางการแพทย์ของผู้ป่วยที่รับบริการจากโรงพยาบาลพระนครศรีอยุธยา. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ, พระนครศรีอยุธยา.

บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัยทางการพยาบาลศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไอ อินเตอร์ มีเดีย.

ภัคจิรา ปิติผล และอิทธิกร ขำเดช. (2556). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการคลินิกกันยากายภาพบำบัดของประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการเงินการลงทุนการตลาดและการบริหารธุรกิจ, 3(2), 421-422.

โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์. (2554). 30 ปี สำโรงการแพทย์. สมุทรปราการ: โรงพยาบาลสำโรงการแพทย์.

วรรณลักษณ์ ดุลยากุล. (2542). คุณภาพบริการงานคลินิกเบาหวานโรงพยาบาลรัฐในจังหวัดสระบุรีตามการรับรู้ของผู้รับบริการ. (วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.

สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์กรมหาชน). (2556). รายงานประจำปี 2556 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน). นนทบุรี: บริษัท เอ็นเอ็นเคที จำกัด.

สิริกาญจน์ กมลปิยะพัฒน์. (2558). การตัดสินใจเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนในกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยกรุงเทพ, กรุงเทพฯ.

โสรยา พูลเกษ. (2550). ความคาดหวังของผู้ป่วยนอกต่อคุณภาพบริการของโรงพยาบาลลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร.(วิทยานิพนธ์สังคมศาสตร์มหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2557). การจัดทำเนื้อหาองค์ความรู้ SMEs ภายใต้งานพัฒนาศูนย์ข้อมูล SMEs Knowledge Center 2557. สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน 2558, จาก http://www.sme.go.th/th/images/data/es/download/