การพัฒนารูปแบบการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียง

Main Article Content

รัศมิมาลย์ เกี่ยวศรีกุล
วิทยาธร ท่อแก้ว
ศิริวรรณ อนันต์โท

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียง เกี่ยวกับ 1) สถานการณ์แวดล้อม 2) รูปแบบการบริหาร และ 3) แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหาร


การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจงและแบบสโนว์บอล จำนวน 23 คน จากผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการบริหาร ผู้ปฏิบัติงานสถานีวิทยุกระจายเสียงในกรุงเทพมหานครและส่วนภูมิภาค และผู้ฟังวิทยุกระจายเสียงที่มีส่วนร่วมและฟังเป็นประจำ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก แบบการสนทนากลุ่ม และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป


ผลการศึกษาพบว่า (1) สถานการณ์แวดล้อมมีผลต่อการบริหารกิจการวิทยุกระจายเสียงทำให้สถานีวิทยุยกเลิกรูปแบบการดำเนินกิจการแบบสัมปทาน กฎหมายลิขสิทธิ์ทำให้สถานีวิทยุกระจายเสียงมีต้นทุนการผลิตรายการสูงขึ้น สถานีวิทยุประเภทบริการธุรกิจสร้างกิจกรรมเพื่อหารายได้เพิ่ม และเพิ่มช่องทางเผยแพร่รายการทางออนไลน์ (2) รูปแบบการบริหารด้านองค์กรมีการประกอบกิจการเพื่อตอบสนองพันธกิจของต้นสังกัดและต้องการเผยแพร่เนื้อหาให้เข้าถึงผู้รับสารจำนวนมากที่สุด โครงสร้างองค์กรออกแบบสำหรับสื่อดั้งเดิม ผังรายการสถานีวิทยุในส่วนภูมิภาคมีรายการหลากหลายรูปแบบออกอากาศต่อเนื่องกัน ในกรุงเทพส่วนใหญ่เสนอรายการรูปแบบเดียวต่อเนื่องทั้งผังรายการ ที่มาของรายการมี 3 แบบ คือ สถานีผลิตเอง มีผู้ร่วมผลิต และเชื่อมโยงสัญญาณรายการจากสถานีอื่น ข่าวหลักของสถานีผลิตโดยหน่วยงานข่าวขององค์กรต้นสังกัด รายได้ของสถานีวิทยุกระจายเสียงมาจากการจัดสรรงบประมาณภาครัฐ บริษัทร่วมผลิตรายการ การให้เช่าเวลา การขายโฆษณา และการขายกิจกรรมให้กับผู้ฟัง สถานีวิทยุใช้เทคโนโลยีส่งเสริมให้ผู้ฟังเข้าถึงเนื้อหา ฟังซ้ำ และเผยแพร่กิจกรรม โดยใช้เว็บไซต์ แอปพลิเคชัน เฟซบุ๊ก และยูทูบ (3) แนวทางการพัฒนารูปแบบการบริหารต้องปรับโครงสร้างกลุ่มงานให้รองรับการผลิตสื่อใหม่ เพิ่มทักษะบุคลากรให้หลากหลาย ผลิตรายการเนื้อหาเฉพาะกลุ่มโดยสถานีเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์เอง พัฒนาช่องทางรายได้ทั้งออนแอร์ กิจกรรม และออนไลน์ ผลิตเนื้อหาทั้ง เสียง ภาพเคลื่อนไหว ภาพนิ่ง และตัวอักษร กำหนดกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจง และเผยแพร่เนื้อหาในหลากหลายช่องทาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงพาณิชย์. (2550). โครงการศึกษาเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การเปิดเสรีการค้าบริการโสตทัศน์และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

ฐิตินัน บุญภาพ คอมมอน. (2559) การบริหารจัดการสื่อโทรทัศน์ในยุคดิจิทัลหลอมรวม. วารสารสุทธิปริทัศน์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, 30(95), 212-222.

น้ำมนต์ พรหมเปี่ยม. (2541). เศรษฐศาสตร์การเมืองของวิทยุกระจายเสียงระบบเอฟ.เอ็ม.ในกรุงเทพมหานคร (2530-2539) (วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการสื่อสารมวลชน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

บริษัท ไทม์ คอนซัลติ้ง จำกัด. (2561). โครงการจ้างที่ปรึกษาเพื่อทบทวนร่างแผนพัฒนากิจการกระจายเสียงและรายงานประเมินผลกระทบต่อแผนพัฒนากิจการกระจายเสียง (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงาน กสทช.

มูลนิธิสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย. (2559). โครงการศึกษาวิจัยการปฏิรูปสื่อ“สื่อสาธารณะ” (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงาน กสทช.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2558). การวิเคราะห์สภาพการณ์เปลี่ยนแปลงของสื่อ: โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินงานตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่1 ประจำปี 2558 (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงาน กสทช.

สุณิสา เมืองแก้ว, และธีรภัทร วรรณฤมล (2560). การปรับตัวของวิทยุกระจายเสียงในยุคหลอมรวมสื่อ. วารสารการสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 7(1), 25-44.

สุรพงษ์ โสธนะเสถียร. (2554). การบริหารงานสื่อสารมวลชน. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

อุบลรัตน์ สิริยุวศักดิ์. (2541). โครงสร้างเศรษฐศาสตร์การเมืองของระบบวิทยุและโทรทัศน์และผลกระทบต่อเสรีภาพ. (พิมพ์ครั้งที1). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cardoso, G. & Moreno, J. (2016). Technology Management and Business Models. in Book Managing Media Firms and Industries. Geneva: Springer International Publishing.

International Telecommunication Union. (2013). Trends In Broadcasting: An Overview of Developments. ITU. Telecommunication Development Bureau (Research Report). Geneva: Place des Nations.

Jenkins, H. (2006). Convergence culture: Where old and new media collide. New York, NY: NYU Press.

McQuail, D. (2005). McQuail’s mass communication theory (5th ed.). Oxford: Sage Publications.

Medina, M., Sanchez-Tabernero, A. & Arrese, A. (2016). Content as Products in Media Markets in Book Managing Media Firms and Industries. Geneva: Springer International Publishing.

Napoli, P. M. (2016). The Audience as Product, Consumer, and Producer in the Contemporary Media Marketplace. In Book Managing Media Firms and Industries. Geneva: Springer International Publishing.

Schlesinger, P., & Doyle, G. (2015). From Organizational Crisis to Multi-Plat-Form Salvation? Creative Destruction and The Recomposition of News Media. Journalism, 16(3), 305–323.