ผลการจัดการเรียนรู้แบบนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกลับทางผ่านสื่อสังคมออนไลน์ รายวิชาสถิติวิจัยสำหรับการดำรงชีวิตและการทำงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และการรู้สารสนเทศ ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี

Main Article Content

กัมปนาท คูศิริรัตน์
นุชรัตน์ นุชประยูร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้แบบนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกลับทางผ่านสื่อสังคมออนไลน์รายวิชาสถิติวิจัยสำหรับการดำรงชีวิตและการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี (2) เปรียบเทียบผลการรู้สารสนเทศก่อนและหลังการเรียนรู้แบบนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกลับทางผ่านสื่อสังคมออนไลน์รายวิชาสถิติวิจัยสำหรับการดำรงชีวิตและการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรี และ (3) ประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกลับทางผ่านสื่อสังคมออนไลน์รายวิชาสถิติวิจัยสำหรับการดำรงชีวิตและการทำงาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาแอนิเมชั่นและดิจิทัลมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 21 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ (1) แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาการสถิติวิจัยสำหรับการดำรงชีวิตและการทำงาน (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัย  (3) แบบวัดการรู้สารสนเทศตามมาตรฐานการรู้สารสนเทศของ UCLA  (4) แบบประเมินความพึงพอใจแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน


ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลคะแนนจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการเรียนรู้แบบนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกลับทางผ่านสื่อสังคมออนไลน์รายวิชาสถิติวิจัยสำหรับการดำรงชีวิตและการทำงาน  ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  (2) ผลการเปรียบเทียบการรู้สารสนเทศก่อนและหลังการเรียนรู้แบบนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกลับทางผ่านสื่อสังคมออนไลน์รายวิชาสถิติวิจัยสำหรับการดำรงชีวิตและการทำงานของนักศึกษาระดับปริญญาตรีหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  และ (3) ผลประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองร่วมกับการเรียนรู้แบบกลับทางผ่านสื่อสังคมออนไลน์รายวิชาสถิติวิจัยสำหรับ การดำรงชีวิตและการทำงาน ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้และการรู้สารสนเทศของนักศึกษาระดับปริญญาตรี อยู่ในระดับ มาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวรรณ สืบสม และนพรัตน์ หมีพลัด.(2561). การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน (Flipped Classroom) ด้วยการบูรณาการการเรียนการสอนรายวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียผ่าน Google Classroom. วารสารสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี, 6(2), 118-127.

ชลยา เมาะราศี.(2556). ผลการเรียนที่ใช้วิธีการสอนย้อนกลับร่วมกับห้องเรียนกลับด้านบนเครือข่ายสังคม รายวิชา การวิเคราะห์และแก้ปัญหา สำหรับนักศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. กรุงเทพฯ.

ทิศนา แขมมณี. (2552). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ.(2556). การพัฒนาการคิด ฉบับปรับปรุงใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

ลัทธพล ด่านสกุล. (2558). ผลการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านด้วยพอดคาสต์โดยใช้กลวิธีการกำกับตนเองที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โครงสร้างการโปรแกรมและการกำกับตนเองของนักเรียนห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. กรุงเทพฯ

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

วิสุทธิ์ ตรีเงิน. (2562). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อคุณภาพชีวิตและสังคม ในห้องเรียนกลับด้าน โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ชั้นตอน. วารสารสุทธิปริทัศน์, 33(105). 51-63.

ศันสนีย์ เลี้ยงพานิชย์. (2557). การศึกษาผลสัมฤทธิ์และความพึงพอใจจากการใช้เว็บเครือข่ายสังคมเป็นเครื่องเมือในการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์. วารสารวิจัย มข, 17(1), 142-152.

สุไม บิลไบ. (2562). การพัฒนาความสามารถทางไอซีทีและพฤติกรรมการเรียนรู้ด้วยการนำตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครูด้วยระบบของกระบวนการเรียนการสอนแบบผสมผสานในลักษณะห้องเรียนกลับด้าน. วารสารอิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, 9(1). 57-68.

Brown, C.M. & Krumholz, Lee R. Marck. (2002). Integrating Information Literacy into the Science Curriculum. College & Research Libraries, 63(2), 111-123.

Hepworth, M. (1999). A Study of undergraduate information literacy and skills: The inclusion of information literacy and skills in undergraduate curriculum. from http://www.ifla.org/IV/ifla65/papers/107-124e.html.

Suzanne, D. (2009). Connectivism Learning Theory: Instructional Tools for College Courses. (A Thesis for a Master Degree in Education ED 591, Independent Thesis Research). Western Connecticut State University. Danbury.

Zhiru, S. (2015). The Role of Self-Regulation on Students’ Learning in an Undergraduate Flipped Math Class. (A thesis of the Degree of Doctor of Philosophy). The Ohio State University.