ระบบการพัฒนาฐานความรู้ของเอกสารการสอนด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา

Main Article Content

วาสนา ทวีกุลทรัพย์

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์การวิจัยมีดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาระบบการพัฒนาฐานความรู้ของเอกสารการสอนด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และ (2) เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการพัฒนาฐานความรู้ของเอกสารการสอนด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา


รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา การดำเนินการวิจัย ขั้นที่ 1 วิเคราะห์และสังเคราะห์แนวคิด หลักการ และทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับฐานความรู้ เทคโนโลยีการศึกษา และเอกสารการสอน ขั้นที่ 2 พัฒนากรอบแนวคิดของระบบการพัฒนาฐานความรู้ของเอกสารการสอนด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ขั้นที่ 3 สัมภาษณ์ความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 7 คน เกี่ยวกับกรอบแนวคิด ด้วยแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 4 ร่างระบบการพัฒนาฐานความรู้ของเอกสารการสอนด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ขั้นที่ 5 นำร่างระบบดังกล่าวให้ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ประเมินคุณภาพด้วยแบบประเมินคุณภาพ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และขั้นที่ 6 ปรับปรุงจนได้ระบบที่สมบูรณ์


ผลการวิจัย ปรากฏว่า (1) ระบบการพัฒนาฐานความรู้ของเอกสารการสอนด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ประกอบด้วย องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า คือ ขอบข่ายเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา และกรอบย่อยของขอบข่ายด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา องค์ประกอบด้านกระบวนการ คือ คำไขหรือคำค้นหา สาระสำคัญ แหล่งอ้างอิง ฐานความรู้ การเผยแพร่ และการออกแบบและการผลิต และองค์ประกอบด้านผลลัพธ์ คือ การประเมินคุณภาพของฐานความรู้ และ(2) ขั้นตอนของระบบประกอบด้วย ขั้นที่ 1 กำหนดขอบข่ายและกรอบย่อยของขอบข่ายด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา ขั้นที่ 2 วิเคราะห์เนื้อหาในเอกสารการสอน ขั้นที่ 3 เขียนคำไขหรือคำค้นหา เขียนสาระสำคัญ และเขียนแหล่งอ้างอิงที่มาจากเอกสารการสอน ขั้นที่ 4 กำหนดช่องทางการเผยแพร่ฐานความรู้ ขั้นที่ 5 ดำเนินการผลิตฐานความรู้ และขั้นที่ 6 ประเมินคุณภาพของฐานความรู้ และ (2) ประเมินคุณภาพระบบการพัฒนาฐานความรู้ของเอกสารการสอนด้านเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2553). ระบบและการจัดระบบ. ใน ประมวลสาระชุดวิชาการจัดระบบทางการศึกษา หน่วยที่ 2 (น. 1 -50). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). สามัญทัศน์เทคโนโลยีการสอนและการฝึกอบรม. ใน ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการสอนและฝึกอบรม หน่วยที่ 2 (น. 1 -42). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2555). การศึกษาทางไกลกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. ใน ประมวลสาระชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 12 (น. 1 – 39). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). สัมมนาด้านขอบข่ายทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. ใน ประมวลสาระชุดวิชาสัมมนาทางเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 1 (น.1 – 41). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ไปรยา เดชาวรพล. (2559). ระบบการพัฒนาฐานความรู้วิชาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียนประถมศึกษา ภาคกลาง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, นนทบุรี.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2553). เทคโนโลยีและสื่อสารการฝึกอบรมและการจัดการความรู้. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา หน่วยที่ 8 (น. 1-32). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัย ธรรมาธิราช.

อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2557). วิทยาการสอน. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการสอน หน่วยที่ 5 (น. 1 – 32). นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Maeir, R. (2007). Knowledge Management Systems: Information and Communication Technologies for Knowledge Management (3rd ed). Berlin et al: Springer.

Jack, Duane ad Glona. (2004). Every Child in American Deserversa 21st Century Technology E-Learning. Retrieved, from http://www.ed.go/Technologyelevening/E-learning.pdf/.