แนวทางการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Main Article Content

สุพรรณี ขาวงาม
ดนิตา ดวงวิไล

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้     เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีขั้นตอนดำเนินการวิจัย 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกจากกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งคัดเลือกตามเกณฑ์แบบเจาะจง คือ ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 จำนวน 85 โรง เป็นครู 4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สาระหลัก ได้แก่ ภาษาไทย คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม  สาระละ    1 คน รวมทั้งสิ้น 340 คน ใช้เครื่องมือแบบสอบถาม ระยะที่ 2 พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกและการยืนยันรูปแบบ โดยการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) คัดเลือกตามเกณฑ์แบบเจาะจง เป็นผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


ผลการวิจัยพบว่า 1) ครูมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก และมีความต้องการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) รูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อส่งเสริมการรู้เรื่องการอ่าน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น มีองค์ประกอบ 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1. หลักการ แนวคิด ทฤษฎีพื้นฐาน 2. วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3. ขั้นตอนการจัดการเรียนรู้ 4 ขั้น 4. ระบบสังคม 5. หลักการตอบสนอง และ 6. ระบบสนับสนุน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทัศนีย์ เศรษฐพงษ์ และวิภาวรรณ เอกวรรณัง (2563). การพัฒนาความสามารถในการรู้เรื่องการอ่านตามแนวทางการสอบ แบบ PISA โดยใช้แนวคิด การอ่านจากต้นแบบของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2(1). สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2563, https://so02.tci-thaijo.org/index.php/EDKKUJ/article/view/240784/163770.

ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์.

พรรษประเวศ สัตตบุษย์วรกุล. (2556). การสังเคราะห์ข้อมูลจากการสำรวจและชีวิตจริงเพื่อระบุปัญหาและการแก้ไขการ จัดการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนมาตรฐานสากล (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาวิธีวิทยาการวิจัย การศึกษา ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.

ศิริรัตน์ จำแนกสาร. (2556). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรู้การอ่าน ของนักเรียนอายุ 15 ปี ในประเทศไทย (ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต). สาขาวิชาการวิจัยและประเมินทางการศึกษา ภาควิชาการศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). คู่มือการสอนอ่านเขียนโดยการแจกลูกสะกดคำ. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันภาษาไทย สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). คู่มือการเรียนการสอนการอ่านคิดวิเคราะห์สู่การพัฒนาการอ่านตามแนวทาง PISA. กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2559). สรุปผลการวิจัย PISA 2015 วิทยาศาสตร์ การอ่านและคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2562). ผลการประเมิน PISA 2018. 2562. สืบค้นเมื่อ วันที่ 3 ธันวาคม 2562, จาก https://drive.google.com/ file/d /18DKqGcId1dN6IWF07TXG8YZsQOg-NlWZ/view.

สาวิตรี โรจนะสมิต อาร์โนลด์. (2555). การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการเรียนเชิงรุก (active learning) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมการเรียนรู้และแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Beverly, D. & Michele, S. (2014). Applying Dale's Cone of Experience to Increase Learning and Retention: A Study of Student Learning in a Foundational Leadership Course. In Engineering Leaders Conference 2014. Retrieved October 6, 2019, from http://dx.doi.org/10.5339/qproc.2015.elc2014.6.

Bransford, J., Brown, A., & Cocking, R. (2000). How People Learn: Brain, Mind, Experience, and School.ashington, D.C.: National.

Joyce, B., Weil, M & Calhoun, E. (2011). Models of Teaching. Boston: Pearson Education.

Kirsch, I., De Jong, J., Lafontaine, D., Mcqueen, J., Mendelovits, J. & Monseur, C. (2002). Reading for Change: Performance and Engagement across Countries. Paris: Organisation for Economic Co-operation and Development.

Kvam, P.H. (2000). The Elect of Active Learning Methods on Student Retention in Engineering Statistics. The American Statistician, 54(2), 136-140

OECD. (2009). PISA 2009 Assessment Framework: Key Competencies in Reading, Mathematics and Science. Retrieved October 6, 2019, from https://www.oecd.org/pisa/pisaproducts/44455820.pdf.

Sweller, J. (2006). The Worked Example Effect and Human Cognition: Learning and Instruction. New Jersey: Educational Technologies.

Wilke, R. R. (2003). The Effect of Active Learning on Student Characteristics in a Human Physiology Course for Nonmajors. Advances in Physiology Education, 27(4), 207-223.