การจัดการการผลิตยางพาราของเกษตรกรตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัย เขตจังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

พยนต์ แสงเทศ
กฤษณา รุ่งโรจน์วณิชย์
จรรยา สิงห์คำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรตำบลลาดกระทิง อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทราที่ปลูกยางพารา (2) แรงจูงใจในการผลิตยางพาราของเกษตรกร (3) ความรู้เกี่ยวกับการผลิตยางพาราของเกษตรกร (4) วิธีปฏิบัติในการผลิตยางพาราของเกษตรกร (5) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการจัดการการผลิตยางพาราของเกษตรกร


การศึกษาในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2559  จำนวน 587 ราย คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ ที่ให้มีคลาดเคลื่อน 3% ได้กลุ่มตัวอย่าง 400 ราย โดยสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงมาตรฐาน


ผลการศึกษาพบว่า (1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุ 40 -49 ปี จำนวนสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 5 คน  อาชีพเดิมก่อนปลูกยางพาราคือทำไร่ และส่วนใหญ่เริ่มปลูกยางพารา พ.ศ. 2541 – 2550 โดยมีเนื้อที่ทำการเกษตรเฉลี่ย 27.90 ไร่ และปลูกยางพาราเฉลี่ย 21.90 ไร่  มีแรงงานที่ทำสวนยางพาราเฉลี่ย 2.53 คน เกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีประสบการณ์ทำสวนยางพารามาก่อน ได้รับข้อมูลในการผลิตยางพาราจากสถาบันวิจัยยาง (2) การมีแหล่งรับซื้อผลผลิตใกล้สวนยางพารา  และมีแหล่งความรู้เรื่องการผลิตยางและดูแลรักษาสวนยางใกล้บ้านเป็นแรงจูงใจมากที่สุดในการผลิตยางพาราของเกษตรกร (3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตยางพาราโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยประเด็นความรู้ในการผลิตยางพารามากที่สุดคือการเลือกพันธุ์ การเตรียมพื้นที่ การใส่ปุ๋ย และการกำจัดวัชพืช (4) เกษตรกรมีการปฏิบัติในการผลิตยางพาราโดยรวมอยู่ในระดับมาก ประเด็นที่ปฏิบัติน้อยที่สุดคือการแปรรูปยางแผ่นและการเก็บยางไว้ขายเมื่อได้ราคาดี (5) เกษตรกรมีปัญหาเรื่องปุ๋ยเคมีราคาแพง และราคาผลผลิตไม่แน่นอน และมีข้อเสนอแนะให้ภาครัฐควบคุมราคาปุ๋ยเคมีและราคารับซื้อผลผลิตยาง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรวิทย์ ตันศรี. (2557). แรงงานกับการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรไทย. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561, จากhttps://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/NorthEastern/DocLib_Research/04-Labor%20with%2 0Agri%20Changing.pdf.

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2556). เขตเหมาะสมสำหรับการปลูก ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงานข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร.

เดชา นามโยธา และสุภาภรณ์ พวงชมพู. (2555). การจัดการการผลิตและการตลาดยางแผ่นดิบของเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราในอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.

นัดดา รัศมีแพทย์ และสุพัตรา ศรีสุวรรณ. (2560). การปลูกพืชเสริมรายได้ในสวนยางพาราของเกษตรกร อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

น้ำทิพย์ สิทธิ. (2558). การจัดการสวนยางพาราและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรในอำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน(วิทยาพนธ์ปริญญาเกษตรศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมมาธิราช. นนทบุรี.

เพ็ญประภา ราหุล. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจปลูกยางพาราของเกษตรกรในอำเภอสนามชัยเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

รัฐพงษ์ จันทคณานุรักษ์ และคณะ.(2558). ปัจจัยด้านเศรษฐกิจของเกษตรกับการพัฒนาการเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ตำบลลำนางรอง อำเภอโนนดินแดง จังหวัดบุรีรัมย์ (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต).คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. นครปฐม.

วราวุธ ชูธรรมธัช และนิโรจน์ รอดสม. (2556). การประเมินในพื้นที่ศักยภาพการให้ผลผลิตของสวนยางขนาดเล็กในพื้นจังหวัดฉะเชิงเทรา (รายงานวิจัย).กรมวิชาการเกษตร, กรุงเทพฯ.

วันทนีย์ เกษมพิณ. (2560). ความคิดเห็นของเกษตรกรที่มีต่ออนาคตการปลูกยางในตำบลหนองบัวอำเภอบ้านค่ายจังหวัดระยอง (วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สมเกียรติ กัลยพฤกษ์ และทิพนรัตน์ บุญมา. (2557). การศึกษาแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปลูกยางพาราในภาคอีสานตอนใต้ (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. กรุงเทพฯ.

สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง. (2557). การปลูกสร้างสวนยาง (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตร.

สุภาภรณ์ พวงชมพู. (2554). การพัฒนาระบบตลาดประมูลยางท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (รายงานการวิจัย).ขอนแก่น: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อมรมณ์ โรจน์สุจิตร, พิศมัย จันทุมา, สายใจ สุชาติกูล, กฤษดา สังข์สิงห์, พนัส แพชนะ, อารักษ์ จันทุมา,... ธีรชาต วิชิตชลชัย. (2552). การศึกษาสภาวการณ์การทำสวนยางของเกษตรกรในท้องถิ่นรอบศูนย์วิจัยยาง (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร.