การสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง ในการเมืองไทย ช่วง พ.ศ. 2547-2559
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในการเมืองไทย ช่วง พ.ศ. 2547-2559 มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองในการเมืองไทย ช่วง พ.ศ. 2547-2559 ใช้วิธีดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน แหล่งข้อมูลในการวิจัยนี้เป็นการศึกษาโดยสังเคราะห์องค์ความรู้ในงานวิทยานิพนธ์ งานวิจัยที่สำคัญๆ จากแหล่งข้อมูลห้องสมุดสถาบันวิชาการในประเทศไทย จำนวน 107 แห่ง โดยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง จากแหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง จำนวน 11 แห่ง การสังเคราะห์เชิงปริมาณใช้ระเบียบวิธีทางสถิติด้วยค่าร้อยละ สำหรับการสังเคราะห์เชิงคุณภาพใช้วิธีการสังเคราะห์ด้วยการบรรยาย
ผลการสังเคราะห์จากวิทยานิพนธ์และงานวิจัยจำนวน 46 เรื่อง พบว่า ปีที่ตีพิมพ์ของงานวิจัยเกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองใน พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2554 มีจำนวนมากที่สุด สถาบันที่มีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมากที่สุด คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย น้อยที่สุด ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร และมหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ ประเภทของการวิจัยมีการวิจัยเชิงคุณภาพ มากที่สุด และน้อยที่สุด คือ การวิจัยเชิงปริมาณ รูปแบบของการวิจัยแบบสำรวจ มากที่สุด เครื่องมือการวิจัยที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นแบบการสังเกตการณ์ รองลงมาคือ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และเครื่องมือการวิจัยที่ใช้แบบอื่นๆ เนื้อหางานวิจัยที่เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเรื่องอุดมการณ์ เจตจำนง การจัดโครงสร้างองค์กร ยุทธศาสตร์ ยุทธวิธีของขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมือง มากที่สุด รองลงมาคือ เนื้อหางานวิจัยที่เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และเนื้อหางานวิจัยที่เกี่ยวกับขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองเรื่องขบวนการเคลื่อนไหวทางการเมืองกับความขัดแย้งน้อยที่สุด
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
ฉัตรชัย ธนาวุฒิ. (2559). การศึกษากระบวนการเพื่อการปฏิรูปทางการเมืองของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการ เปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบรูณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.). (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.
ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. (2556). กำเนิดและความเป็นมาของการปฏิวัติ. กรุงเทพฯ: วิภาษา.
ธเนศ มรรคาสกุล. (2557). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบใหม่ในประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.
ธิบดี บัวคำศรี. (2556). บทวิจารณ์หนังสือ: พวงทอง ภวัครพันธุ์. รัฐและขบวนการอนารยะสังคมไทย ในกรณีปราสาทพระวิหาร. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง, 9(3), 167-173.
ธีรดา ศุภะพงษ์. (2550). การสร้างพื้นที่ทางการเมืองแก่นนโยบายสาธารณะเรื่องข้อตกลงการค้าเสรีทวิภาคี : ศึกษากรณีเอฟทีเอวอทซ์ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
นิศาชล ทวนทอง. (2549). การเสนอวาระสาธารณะกรณีคัดค้านการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในสื่อมวลชนและสื่อของสหภาพแรงงานฯ (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตร์มหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
บุญส่ง พิมเพ็ง. (2552). ความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มคนรักอุดรและกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยที่จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2549-2552 (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2554). ประชาสังคม ความรุนแรง และการล่มสลายของประชาธิปไตย: ความสำคัญของแนวคิดเรื่องความมีอารยะและการเมืองแบบอารยะของเอ็ดเวิร์ด ชิลส์. ในเมืองไทยสองเสี่ยง?: สภาพปัญหา แนวโน้ม และทางออกวิกฤติการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: หจก.ภาพพิมพ์.
ประชาธิป กะทา. (2547). การศึกษาทุนทางสังคมและบทบาทในขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมด้านสุขภาพ: กรณีศึกษาประชาคมสุขภาพหมู่บ้านแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหิดล. กรุงเทพฯ.
ปิยลักษณ์ โพธิวรรณ์. (2554). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของคนข้ามเพศ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
ผาสุก พงษ์ไพจิตร. (ม.ป.ป.). ทฤษฎีขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมใช้กับสังคมไทยได้หรือไม่?. ม.ป.ท.
ภัทร ยืนยง. (2557). การวิเคราะห์กระบวนการเรียนรู้ของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบใหม่ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติลุ่มน้ำสาขาตอนบนของประเทศไทย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
วิชัย จันทร์บุญ. (2554). ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของคนพิการ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรดุษฏีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ขอนแก่น.
วิภาดา เอี่ยมคง. (2553). ผลกระเทือนของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมของผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในสังคมไทย (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
สังกมา สารวัตร. (2557). ปฏิบัติการประชาธิปไตยกับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมแนวใหม่ : ศึกษากรณีเครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี/เอดส์ (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรดุษฏีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
อัญญรัตน์ เอี่ยมเอิบ. (2553). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองไทยผ่านเว็บไซต์เครือข่ายทางสังคม (วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
Foweraker, Joe. & Landman, Todd. (1997). Title Citizenship Rights and Social Movements: A Comparative and Statistical Analysis. New York: Oxford University Press.
Garner, Roberta. (1997). “Fifty Years of Social Movement Theory: An Interpretation,” in Garner, Roberta and Tenuto, John. Social Movement Theory and Research an Annotated Bibliographical Guide, Mcgill Bibliographies, The Scarecrow Press, Inc., Lanham. Md & London and Salem Press, Pasadena California. The Anglewood Cliffs, N.J.