การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนซ่อมเสริมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนโดยการสร้างเรื่องเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ภาษาจีน ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย

Main Article Content

นำโชค บุตรน้ำเพ็ชร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนซ่อมเสริมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนโดยการสร้างเรื่องเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิชาเอกภาษาจีน ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา2562 ที่เรียน รายวิชาภาษาจีนหลัก โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) จำนวน 16 คน
ผลการวิจัยพบว่า
1. รูปแบบการเรียนการสอนซ่อมเสริมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนโดยการสร้างเรื่องเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (ENPPRE model) ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ 1) องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ 2) องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และ 3) องค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ โดยมีกระบวนการจัดการเรียนการสอน 6 ขั้นตอน ได้แก่ (1) ขั้นกระตุ้นแรงจูงใจนักเรียน (Energize learner : E) (2) ขั้นนำทางสู่การเรียนรู้ (Navigate content : N) (3) ขั้นฝึกตามเนื้อหา(Guided Practice : P) (4) ขั้นฝึกอิสระแบบออนไลน์(Independent Practice – Online : P) (5) ขั้นทบทวนความรู้ (Review : R) และ (6) ขั้นประเมินผลความรู้ (Evaluation : E)
2. ผลจากการตรวจสอบความสอดคล้อง/เหมาะสมและคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน พบว่า
รูปแบบการเรียนการสอนซ่อมเสริมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนโดยการสร้างเรื่องเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย(ENPPRE Model) ตามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญในภาพรวมมีความสอดคล้อง/เหมาะสมและคุณภาพโดยภาพรวมทั้ง 2 ด้านคือ 1) ความเหมาะสม/สอดคล้องของรูปแบบการเรียนการสอนซ่อมเสริมแบบผสมผสานด้วยการเรียนรู้แบบร่วมมือและเทคนิคการสอนโดยการสร้างเรื่องเพื่อส่งเสริมความสามารถในการเรียนรู้ภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย และ 2) ความเหมาะสม/สอดคล้องเชิงองค์ประกอบของรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ในระดับดี (X = 4.42, S.D. = .39) และค่าประสิทธิภาพของรูปแบบการเรียนการสอนเท่ากับ 71.04/83.53 สูงกว่าเกณฑ์ 70/70
3. ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอน พบว่า ความสามารถในการเรียนรู้ภาษาจีนของนักเรียนหลังการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอน สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการเรียนการสอนอยู่ระดับมากที่สุด (X = 4.58, S.D. =.25)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กนกพร ศรีญาณลักษณ์. (2551). รูปแบบการเรียนภาษาจีนของนิสิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. วารสารศึกษาศาสตร์, 19(3), 15.

จันทร์ชลี มาพุทธ. (2553). การเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยStoryline Approach. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก https://www.pharmacy.cmu.ac.th/unit/unit_files/files_download/2011-06-226-53.

จินตนา วิเศษจินดา และสมพงษ์ จิตระดับ. (2560). แนวทางการจัดการเรียนการสอนภาษาจีนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก http://cuir.car. chula.ac.th/handle/123456789/60102.

จิรามน สุธีรชาติ. (2560). EEC ความหวังใหม่ของเศรษฐกิจไทย: ทำไมต้องเริ่มตั้งแต่วันนี้?. สืบค้นเมื่อ17 พฤศจิกายน 2560, จาก https://www.scbeic.com/th/detail/product/3544.

ดวงกมล บุญไชย, พัชรินทร์ จูเจริญ และนันทิวัน อินหาดกร. (2561). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบร่วมมือเทคนิคSTAD เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเสริมสร้างทักษะสื่อสารและการมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนรู้รายวิชาภาษาจีน เรื่องสัทอักษร ภาษาจีนเบื้องต้น สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการระดับชาติ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร (น.1134-1138). กำแพงเพชร: มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.

ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2560). ทฤษฎีการเรียนรู้ที่สำคัญในอนาคต สื่อการสอนของโครงการ ThaiMOOC. สืบค้นเมื่อ 30 มีนาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=uq2c83UtnxE.

ทิศนา แขมมณี. (2561). ศาสตร์การสอน องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 21). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธุมวดี สิริปัญญาฐิติ ศิริเพ็ญ กำแพงแก้ว จันทิมา จิรชูสกุล. (2559). ปัญหาการเรียนการสอนภาษาจีน ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย แผนการเรียนศิลป์ภาษาจีนเขตภาคตะวันออกของไทย. ศิลปศาสตร์ปริทัศน์, 11(22), 8-19.

นรินทชัย ฮะภูริวัฒน์. (2555). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนภาษาจีนตามแนวคิดการเรียนรู้แบบเน้นงานปฏิบัติโดยใช้เทคนิคการจำอักษรแบบเชื่อมโยงเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านของนักศึกษาปริญญาตรี (วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2563, จาก http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/36160.

นำโชค บุตรน้ำเพ็ชร. (2562). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการสื่อสารภาษาจีนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วารสาร Veridian E-Journal Silpakorn University, 12(6). สืบค้นเมื่อ 20 มีนาคม 2563, จาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/167910/155927.

ปฐมพงศ์ ศุภเลิศ. (2549). การสอนเสริมนั้นสำคัญไฉน. สืบค้นเมื่อ 7 พฤษภาคม 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/57970.

ประภัสรา โคตะขุน. (2555). การเรียนแบบร่วมมือ. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2562, จาก https://sites.google.com/site/prapasara/thekh-kar-sxn.

ไพฑูรย์ กานต์ธัญลักษณ์. (2557). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยการเรียนแก้ปัญหาร่วมกันและเทคนิคซินเนติกส์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษาครู. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2563, จาก http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000011310.

ภูเทพ ประภากร. (2561). การพัฒนาทักษะการฟังและการพูดภาษาจีนกลางโดยใช้กิจกรรมส่งเสริมความร่วมมือในชั้นเรียนของนักศึกษาชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาจีน. สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562, จาก http://human.tru.ac.th/2013/pdf/2561.

มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2553). แนวทางการพัฒนาอีเลิร์นนิงสำหรับสถาบันการศึกษาในประเทศไทยการนําเสนอแนวทางการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ใช้ ubiquitous – learning เป็นเครื่องมือการเรียนรู้ (รายงานการวิจัย). สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2561, จาก http://www.educ.su.ac.th/images/research/57/04.pdf.

วิกิตำรา. (2562). ทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2562, จาก https://th.wikibooks.org/wiki/

วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่๒๑ (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์บริษัทตถาตาพับลิเคชั่น จำกัด.

วิภาวรรณ สุนทรจามร. (2551). การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย: บันทึกรายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการ การเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทย ศูนย์จีนศึกษาสถาบันเอเชียศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (พิมพ์ครั้งที่1). กรุงเทพฯ: หจก ศรีบูรณ์ คอมพิวเตอร์-การพิมพ์.

ศิริพร จินดาราม. (2544). ผลการซ่อมเสริมโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และความสนใจในวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2563, จาก http://kb.tsu.ac.th/jspui/handle/123456789/199.

สุพรรณนา เพ็ชรรักษา และสมเกียรติ กอบัวแก้ว. (2558). บทบาทจีนที่มากขึ้นในเวทีโลก. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2562, จาก http://supannapetraksa.blogspot.com/2015/09/21st-century_1.html.

สมชาย รัตนทองคำ. (2556). การสอนทางกายภาพบำบัด ภาคต้นปีการศึกษา 2556. ใน เอกสารประกอบการสอน 475 788 สืบค้นเมื่อ 25 มกราคม 2562, จาก https://ams.kku.ac.th/aalearn/resource/edoc/tech/56web/4learn_edu56.pdf.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ภาษาจีน ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ. สืบค้นเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2562. จาก http://www.teacher.in.th/.

kroobannok. (2550). ทฤษฎีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของธอร์นไดน์. สืบค้นเมื่อ 7 ธันวาคม 2562, จาก https://www.kroobannok.com/98.

kroobannok. (2550). ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือบน E-Learning. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2563, จาก https://www.kroobannok.com/25557.

Li, Y. (2011). The Development of Drill Exercise on Chinese Writing Skill of Fourth Grade Students. (M.E.Thesis). Silpakorn University. Thailand.

Sutinee wongwattananukun & Phattrapron Chokpaiboon. (2561). การใช้กิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการเรียนภาษาจีนกลาง. ใน รายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (PROCEEDINGS) ระดับชาติและนานาชาติ. บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (น. 62-71). บุรีรัมย์: มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.