โมเดลคุณค่าประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย

Main Article Content

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์
สันติธร ภูริภักดี

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาแรงจูงใจในการท่องเที่ยว ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว คุณภาพการบริการ การมีปฏิสัมพันธ์ของนักท่องเที่ยว ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว และคุณค่าประสบการณ์การท่องเที่ยว 2) พัฒนาโมเดลคุณค่าประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย 3) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลคุณค่าประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย 4) ตรวจสอบค่าอิทธิพลของโมเดลคุณค่าประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทยที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 390 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรแฝงที่มีผลต่อคุณค่าของประสบการณ์การท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุชาวไทย ประกอบด้วย แรงจูงใจในการท่องเที่ยว ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว คุณภาพการบริการ การมีปฏิสัมพันธ์ของนักท่องเที่ยว ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว ผลการวิเคราะห์โมเดลการวิจัยที่พัฒนาขึ้น พบว่า โมเดลตามสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าไค-สแควร์ (c2) เท่ากับ 45.36 มีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value) ที่ระดับ 0.26 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (c2/df) เท่ากับ 1.26 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนเชิงสัมพัทธ์ (CFI) เท่ากับ 0.96 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.95 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.97 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณค่า (RMSEA) เท่ากับ 0.00


ผลการวิเคราะห์โมเดลตามสมมติฐานการวิจัยพบว่า 1) แรงจูงใจในการท่องเที่ยว ศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว คุณภาพการบริการมีผลกระทบทางตรงต่อการมีปฏิสัมพันธ์ของนักท่องเที่ยว 2) การมีปฏิสัมพันธ์ของนักท่องเที่ยวมีผลกระทบทางตรงต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 3) การมีปฏิสัมพันธ์ของนักท่องเที่ยวมีผลกระทบทางอ้อมต่อคุณค่าของประสบการณ์การท่องเที่ยว โดยผ่านความพึงพอใจของนักท่องเที่ยว 4) ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวมีผลกระทบทางตรงต่อคุณค่าของประสบการณ์การท่องเที่ยว


ผลที่ได้จากการวิจัยนี้ สามารถนำไปเป็นแนวทางการดำเนินงานของผู้ประกอบการที่ให้บริการนักท่องเที่ยวผู้สูงอายุ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนและส่งเสริมการท่องเที่ยวสามารถนำไปเป็นแนวทางกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวผู้สูงอายุทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2557). การวิเคราะห์สมการโครงสร้าง (SEM) ด้วย AMOS. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจํากัดสามลดา.

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ณัฐธิดา จงรักษ์ และนัฎฐิกา นวพันธุ์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยทางกายภาพของพื้นที่ว่าง สาธารณะกับรูปแบบปฏิสัมพันธ์ทางสังคมของผู้สูงอายุ กรณีศึกษา สวนสาธารณะในพื้นที่เมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง, 12(1), 27-39.

ธีระชัย สุขสด. (2561). การออกแบบเพื่อทุกคน Universal Design. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/358762.

พงษ์มณฑา เกษรไพบูลย์. (2560). พื้นที่ของผู้สูงอายุ (วิทยานิพนธ์ทางสถาปัตยกรรม). คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม. กรุงเทพฯ.

มธุรส สว่างบำรุง. (2562). อารมณ์เหงากับพฤติกรรมการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุ. วารสารการพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต, 33(1), 36-52.

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ (2560). สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม 2561, จาก https://fopdev.or.th.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย. (2558). รายงานสถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.).

วไลลักษณ์ น้อยพยัคฆ์. (2558). คุณค่าของประเทศไทย จากการรับรู้ของนักท่องเที่ยวสหราชอาณาจักร. ใน TAT Review. ไตรมาสที่ 1/2015 มกราคม-มีนาคม. กรุงเทพฯ: การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์. (2560). คอลัมน์ วงล้อเศรษฐกิจ: ต้องปรับลุกส์ธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2561, จาก https://www.khaosod.co.th/newspaper-column/economic-wheel/news_269147.

อัครพงษ์ เวชยานนท์. (2561). แบบของผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผู้บริโภค (Universal Design): แนวความคิด. สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2562, จาก https://www.gotoknow.org/posts/140461.

Bourdeau, L. B. (2005). A New Examination of Service Loyalty: Identification of the Antecedents and Outcomes of Additional Loyalty Framework (Doctoral Thesis). Florida University. Florida.

Fridgen, J.D. (1996). Dimensions of Tourism. Michigan: The Education Institute of the American Hotel & Motel Association.

Grissemann, U. and Stokburger-Sauer, N. (2012). Customer Co-creation of Travel Services: The Role of Company Support and Customer Satisfaction with the Co-creation Performance, Tourism Management, 33(6), 1483-1492.

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J. and Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis (7thed.). Upper Saddle River. New Jersey: Prentice-Hall.

Kotler, P. and Keller, K. (2006). Marketing Management. (12thed). New Jersey: Prentice Hall, Upper Saddle River.

Mabry. E.A. (1980). The Dynamics of Small Group Communication. New Jersey: Prentice-Hall.

Manthiou, A., Kang, J., Chiang, L. and Tang, L.R. (2016). Investigating the Effects of Memorable Experiences: an Extended Model of Script Theory. Journal of Travel & Tourism Marketing, 33(3), 362-379.

Mathis, E.F., Kim, H., Uysal, M., Sirgy, J.M. and Prebensen, N.K. (2016). The Effect of Co-creation Experience on Outcome Variable. Annals of Travel Research, 57, 62-75.

Nonaka, I. and Takeuchi, H. (1995). The Knowledge Creating Company: How Japanese Companies Create the Dynamics of Innovation. New York: Oxford University Press.

Parasuraman, A., Zeithaml, V.A. and Berry, L.L. (2013). A Conceptual Model of Service Quality and Its Implications for Future Research. Journal of Marketing, 49, 41-50.

Swarbrooke, J. and Horner, S. (2007). Consumer Behavior in Tourism (2nd ed). Oxford: Butterworth Heinemann.

Uysal, M., and Hagan, L.A.R. (1993). Motivation of Pleasure Travel and Tourism. In VNR’s Encyclopedia of Hospitality and Tourism, M. Khan, Khan, M. Olsen, and T. Var (Eds.), New York: Van Nostrand Reinhold.