ความรู้ความเข้าใจเรื่องกฎหมายและจริยธรรมการสื่อสารของนักปกครองท้องที่ จังหวัดสกลนคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและความตระหนักรู้เกี่ยวกับจริยธรรมด้านการสื่อสารของนักปกครองท้องที่ 2) เพื่อศึกษาความต้องการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรมด้านการสื่อสารของนักปกครองท้องที่ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและจริยธรรมด้านการสื่อสารให้กับนักปกครองท้องที่ ระเบียบวิธีวิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกับนักปกครองท้องที่จาก 15 ตำบล 100 หมู่บ้าน รวม 373 กลุ่มตัวอย่าง วิเคราะห์โดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสนทนากลุ่มกับนักปกครองท้องที่ จากตำบลดงชน ตำบลห้วยยาง และตำบลโนนหอม อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร จำนวน 17 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า นักปกครองท้องที่ 1) มีความรู้ความเข้าใจในระดับมาก ร้อยละ 50.94 ขาดความรู้ความเข้าใจ ร้อยละ 35.46 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 13.60 2) มีความต้องการรู้กฎหมายและจริยธรรมด้านการสื่อสารทุกประเด็น 3) เสนอแนวทาง (1) จัดการอบรม (2) ทำคู่มือ และสื่อออนไลน์ (3) สัมมนาอย่างต่อเนื่อง (4) มีมาตรการส่งเสริมด้วยรางวัล (5) ให้สร้างเครือข่าย (6) จัดทำแหล่งความรู้
Downloads
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กีรติ ยศยงยง. (2560). การจัดการความรู้ในองค์การและกรณีศึกษา. กรงเทพฯ: มิสเตอร์ก๊อปปี้ (ประเทศไทย) จํากัด.
เกรียงศักดิ์ จอดนอก, จิตติ กิตติเลิศไพศาล และละมัย ร่มเย็น. (2559). บทบาทในการสร้างหมู่บ้านปลอดยาเสพติดของกำนันผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร. วารสารบัณฑิตศึกษา, 13(62), 139-149.
คณะอนุกรรมาธิการติดตามองค์กรพัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน. (2554). รายงานผลการติดตามองค์กร พัฒนาการเมืองและการมีส่วนร่วมของประชาชน. เมื่อ 31 มีนาคม 2563, จากhttp://w3c.senate.go.th/pictures/ comm/72/20121005122910_1.pdf
ณิชาภา แก้วประดับ. (2560). หลักจริยธรรมจรรยาบรรณสื่อมวลชนในคู่มือคู่มือการสอนวิชากฎหมายสื่อมวลชนและวิชาจริยธรรมสื่อมวลชน. กรุงเทพฯ:บริษัท จรัลสนิทวงศ์การพิมพ์ จำกัด
บูรชัย ศิริมหาสาคร. (2560). จัดการความรู้สู่ความเป็นเลิศ. กรุงเทพฯ: แสงดาว.
ปองปรารถน์ สุนทรเภสัช. (2560). ความรู้และการใช้ความรู้ด้านกฎหมายและจริยธรรมสื่อมวลชนของนักหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นจังหวัดลำปาง. ราชภัฏเพชรบูรณ์สาร, 21(1).
สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์, อัมมาร สยามวาลา, วรเจตน์ ภาคีรัตน์, สิริพรรณ นกสวน, ปกป้อง จันวิทย์ และวรดุลย์ ตุลารักษ์. (2550). การสร้างองค์ความรู้เพื่อการปฏิรูปการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
อภินันท์ ค้าเจริญ. (2559). การปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่พุทธศักราช 2457 และที่แก้ไขเพิ่มเติมถึงปัจจุบัน ในเขตพื้นที่อำเภออู่ทองและอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา. ชลบุรี.
Bloom,B.S. (1971). Handbook on Formative and Summative Evaluation of Student Learning. New York: McGraw-Hill.