ระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ (1) เพื่อพัฒนาระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการ และ (2) เพื่อประเมินคุณภาพของระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการ
รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยและพัฒนา การดำเนินการวิจัยมี 2 ระยะ ระยะที่ 1 การพัฒนาระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการ ครอบคลุม (1) วิเคราะห์และสังเคราะห์หลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับระบบ การจัดระบบ การออกแบบการใช้สื่อ และการสอนแบบบูรณาการ เพื่อเป็นกรอบแนวคิดของระบบ (2) ประเมินความต้องการของครูในโรงเรียนจังหวัดนนทบุรี จำนวน 214 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามความต้องการ (3) พัฒนากรอบแนวคิดของระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการ (4) ระดมความเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับกรอบแนวคิดของระบบ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสนทนากลุ่ม (5) ร่างระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการ ระยะที่ 2 นำร่างระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินคุณภาพด้วยแบบประเมินคุณภาพ และปรับปรุงจนได้ระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการที่สมบูรณ์
ผลการวิจัยดังนี้ (1) ระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการประกอบด้วย (1.1) องค์ประกอบด้านปัจจัยนำเข้า ประกอด้วย เนื้อหาสาระ วัตถุประสงค์ ผู้เรียน รูปแบบการสอนแบบบูรณาการ สภาพแวดล้อม และสิ่งอำนวยความสะดวก องค์ประกอบด้านกระบวนการ ประกอบด้วย บทบาทหน้าที่ของสื่อ ประเภทและลักษณะของสื่อ การออกแบบ และการใช้สื่อ องค์ประกอบด้านผลลัพธ์ ประกอบด้วย การประเมินการออกแบบ (1.2) ขั้นตอนของระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการมี ดังนี้ ขั้นที่ 1 วิเคราะห์เนื้อหา ขั้นที่ 2 วิเคราะห์วัตถุประสงค์ ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ผู้เรียน ขั้นที่ 4 วิเคราะห์รูปแบบการสอนแบบบูรณการ ขั้นที่ 5 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมและสิ่งอำนวยความสะดวก ขั้นที่ 6 กำหนดสื่อมาใช้ตามขั้นตอนของการสอนแบบบูรณาการ ขั้นที่ 7 ดำเนินการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการ และขั้นที่ 8 ประเมินผลการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการ และ (2) การประเมินคุณภาพระบบการออกแบบการใช้สื่อเพื่อการสอนแบบบูรณาการ ผู้ทรงคุณวุฒิเห็นว่า อยู่ในระดับดีมาก มีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ มีประโยชน์ มีความชัดเจน และมีความสมบูรณ์
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2554). ระบบสื่อการสอนสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หน่วยที่ 2 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์: นนทบุรี :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2554). สามัญทัศน์สื่อการสอนกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ในเอกสารการสอนชุดวิชาสื่อกับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. หน่วยที่ 1 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์: นนทบุรี :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
นิคม ทาแดง. (2557). การสอนในฐานระบบ. ในเอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการสอน. หน่วยที่ 2 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์: นนทบุรี :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
วาสนา ทวีกุลทรัพย์. (2560). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาชุดฝึกอบรมทางไกล เรื่อง “การออกแบบระบบการผลิตและการใช้สื่อการสอนสำหรับครู” ทุนวิจัยของการศึกษาทางไกล สถาบันวิจัยและพัฒนา. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักนายกรัฐมนตรี สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 2542. กรุงเทพมฯ: บริษัทพริกหวาน จำกัด.
สุนันท์ ปัทมาคม และสมเชาวน์ เนตรประเสริฐ. (2550). สื่อการเรียนการสอน ในเอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาหลักสูตรและสื่อการเรียนการสอน. หน่วยที่ 10. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์: นนทบุรี :สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง. (2557). วิทยาการการสอน. ในเอกสารการสอนชุดวิชาเทคโนโลยีการสอน. หน่วยที่ 5 นนทบุรี: สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Gerlach, S.V. & Ely D.P. (1971). Teaching and media: A Systematic approach. Englewood Cliffs, N.J.: Prentice – Hall, Inc.
Heinch R., Molenda M. and Russel, G. (1982). Instructional media and the new technologies of instruction. New York: John Wiley & Son.
Sales, B & Glas, G. (1990). Exercise in instructional design. calumbus: Merill Publishing Company.