การศึกษาความสามารถการอ่านคำศัพท์ภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาโรงเรียนปัญญาวุฒิกร โดยใช้กระดานสอนอ่าน

Main Article Content

สุมาลี พูลสวัสดิ์
วีณัฐ สกุลหอม

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความสามารถในการอ่านคำศัพท์ของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา โดยใช้กระดานสอนอ่าน 2) เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำศัพท์ก่อนและหลังเรียนโดยใช้กระดานสอนอ่าน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปัญญาวุฒิกร จำนวน 6 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงเฉพาะนักเรียนที่มีระดับสติปัญญาระหว่าง 50-70 และไม่มีความพิการซ้ำซ้อน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการสอนอ่านคำศัพท์โดยใช้กระดานสอนอ่าน 2) แบบวัดความสามารถในการอ่านคำศัพท์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีทดสอบวิลคอกซัน


            ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการอ่านคำศัพท์ ก่อนการใช้กระดานสอนอ่านคำจากหมวดคำที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันอยู่ในระดับไม่ผ่านเกณฑ์ 2) ผลการเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำศัพท์ภาษาไทย ก่อนและหลังการใช้กระดานสอนอ่าน แตกต่างกันทั้ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

กานต์ จันทร์แดง. (2556). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง การอ่านออกเสียง สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีความสามารถในการอ่านต่ำ , โรงเรียนเทศบาล 4 (รัตนโกสินทร์ 200 ปี) จังหวัดนครพนม. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, 6(2), 273-286.

กิ่งสร เกาะประเสริฐ. (2540). เปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำวิชาภาษาไทยของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับปานกลาง อายุ 7-14 ปี ระหว่างวิธีสอนการอ่านคำโดยการเสริมแรงด้วยเบี้ยอรรถกร และวิธีสอนการอ่านคำตามหลักสูตรสำหรับเด็กพิเศษ. (ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ฐิตินันท์ ทรัพย์ธำรงค์ และน้ำมนต์ เรืองฤทธิ์. (2557). ผลการใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่องมาตราตัวสะกดที่ส่งผลต่อความสามารถในการอ่านภาษาไทย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ที่มีระดับความสามารถในการอ่านแตกต่างกัน. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 7(3), 285-296.

ผดุง อารยะวิญญู และสุวิทย์พวงสุวรรณ. (2554). การศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ. กรุงเทพฯ: ไอ คิวบุ๊คเซนเตอร์.

ผดุง อารยะวิญญู. (2546). รายงานการวิจัยการพัฒนานวตกรรมสำหรับสอนเด็กที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์รำไทยเพลส.

ผดุง อารยะวิญญู. (2548). การฝึกปฏิบัติการวิจัยการศึกษาพิเศษ. (เอกสารประกอบการสอน). กรุงเทพฯ: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผดุง อารยะวิญญู. (2551). วิธีสอนเด็กสมาธิสั้น. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แว่นแก้ว.

รัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี, สมเด็จพระเทพ.(2558). รวมปาฐกถาพระราชนิพนธ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารีวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (พิมพ์ครั้งที่ 1). ปทุมธานี: สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.

Conners, F. A. (1992). Reading instruction for students with moderate mental retardation: Review and analysis of research. American Journal on Mental Retardation, 96(6), 577-597.