ข้อกำหนดเพื่อการเข้าถึงสื่อของคนพิการเชิงเปรียบเทียบ กรณีศึกษา: สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น

Main Article Content

ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่อง ข้อกำหนดเพื่อการเข้าถึงสื่อของคนพิการเชิงเปรียบเทียบ กรณีศึกษา: สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี ญี่ปุ่น มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารายละเอียดในข้อกำหนดพื่อการเข้าถึงสื่อของคนพิการในประเทศต่างๆ และเพื่อเปรียบเทียบกับการระบุข้อกำหนดเพื่อการเข้าถึงสื่อของคนพิการในประเทศไทย งานวิจัยชิ้นนี้มีใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เอกสาร (Document Analysis) จากข้อกำหนด กฎหมาย และเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง


ผลการวิจัยพบว่า แนวทางข้อกำหนดของประเทศสหรัฐอเมริกา สหาราชอาณาจักร ออสเตรเลีย เยอรมนี และญี่ปุ่น มีแนวทางที่คล้ายคลึงกันทั้งในเชิงการกำหนดแบบปริมาณการออกอากาศ โดยมีการกำหนดในลักษณะของ ร้อยละ เป็นส่วนใหญ่ ในขณะที่การกำหนดเชิงคุณภาพในประเทศต่างๆ มีข้อกำหนดที่แตกต่างกันออกไป ทั้งการจำแนกขอบเขตการรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ตามแต่ขนาดองค์กรของสถานีโทรทัศน์ เพื่อเป็นการลดหลั่นเพดานการผลิตบริการทั้ง 3 รูปแบบได้แก่ ล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพ ให้เหมาะสมกับศักยภาพของผู้ผลิต รวมถึงการจัดตั้งองค์กรที่ทำหน้าที่เฉพาะในการตรวจสอบ ดูแล ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจในการผลิตบริการเสริมในรายการโทรทัศน์ดังกล่าว สำหรับข้อกำหนดเพื่อการเข้าถึงสื่อของคนพิการในประเทศไทย มีการกำหนดในเชิงปริมาณอย่างเป็นรูปธรรมในปี 2559 โดยเริ่มต้นจากการกำหนดเฉพาะรายการที่อยู่ในประเภทข่าวสารและสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเท่านั้น จากนั้นในเดือนธันวาคม ปี 2560 กสทช.ได้มีการประกาศแนวทางในเชิงคุณภาพสำหรับการผลิตบริการเสริมทั้ง 3 ประเภทในเรื่องมาตรฐานในการให้บริการ ลักษณะรายการที่เหมาะสม และข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ซึ่งพบว่าจากประกาศฉบับดังกล่าวไม่ได้กำหนดเฉพาะประเภทรายการข่าวสารและสาระที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะอีกต่อไป แต่เปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสามารถจัดทำบริการเสริมในรายการโทรทัศน์ได้ทุกประเภท แต่ทั้งนี้ ยังคงไว้ซึ่งอัตราการผลิตในรูปแบบร้อยละเช่นเดิม


จากผลการวิจัย ผู้วิจัยได้จัดทำข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาข้อกำหนดเพื่อการเข้าถึงสื่อของคนพิการในประเทศไทย ดังนี้ (1) กสทช.ควรพิจารณาถึงการกำหนดในเชิงปริมาณที่มีอัตราการเพิ่มโดยเฉลี่ยต่อที่มีสมเหตุสมผลมากขึ้น เพื่อทำให้ผู้ผลิตสามารถจัดให้มีบริการทั้ง 3 ได้ใกล้เคียงหรือเทียบเท่าที่กำหนดไว้มากขึ้น (2) กสทช.อาจมีการพิจารณาในการจำแนกระดับของสถานีโทรทัศน์ให้เหมาะสมตามศักยภาพในการผลิต รวมถึงกำหนดให้มีความลดหลั่นในข้อกำหนดเชิงปริมาณ ตามแต่ศักยภาพระดับนั้นๆ และ (3) กสทช.สามารถจัดตั้งให้มีหน่วยงานเพื่อทำหน้าที่ดูแล ตรวจสอบ ประเมินคุณภาพ ตลอดจนให้ความรู้ความเข้าใจในการผลิตบริการทั้ง 3 รูปแบบ เพื่อการเข้าถึงสื่อของคนพิการอย่างชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2560 – 2564). กรุงเทพฯ: กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ.

ธีร์ธวัช เจนวัชรรักษ์. (2561). เสียงบรรยายภาพในละครโทรทัศน์และการรับรู้ของคนพิการทางการมองเห็น (ดุษฎีนิพนธ์ สาขาวิชานิเทศศาสตร์). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.

ภัทธีรา สารากรบริรักษ์. (2557). เสียงบรรยายที่คนพิการทางการเห็นต้องการ. คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ ให้เข้าถึงและรับรู้หรือใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์. (2559, 5 กุมภาพันธ์). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133 ตอนพิเศษ 35 ง. หน้า 6 – 14.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของคนพิการ ให้เข้าถึงและรับรู้หรือใช้ประโยชน์จากรายการของกิจการโทรทัศน์ (ฉบับที่ 2). (2560, 4 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 97 ง.

ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง แนวทางการจัดทำล่ามภาษามือ คำบรรยายแทนเสียง และเสียงบรรยายภาพในรายการโทรทัศน์. (2560, 27 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนพิเศษ 322 ง.

อารดา ครุจิต (2558). การศึกษาหลักการผลิตสื่อเสียงบรรยายภาพในโทรทัศน์สำหรับคนพิการทางการเห็น. กรุงเทพฯ: คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

PlayMedia. (no date). Accessibility laws. Retrieved April 21, 2020, from https://www.3playmedia.com/resources/accessibility-laws/#international.

Australian Human Rights Commission. (1998). Closed Captioning Inquiry Issue Paper. AU: Australian Human Rights Commission.

Brewer, J. and Others. (2015). Media Accessibility User Requirements. Retrieved April 21, 2020, from https://www.w3.org/TR/media-accessibility-reqs/.

Department of Communications and Arts, Australian Government. (no date). Accessible television. Retrieved May 12, 2020, from https://www.communications.gov.au/what-we-do/television/accessible_ television.

Department of Communications and Arts, Australian Government. (2017). Audio Description Working Group – Final report. AU: Department of Communications and Arts.

Dosch, E. and Benecke, B. (2004). When pictures become words (German AD Guidelines).

Edelburg, E. (2019). Legal Requirements for Audio Description. Retrieved May 14, 2020, from https://www.3playmedia.com/2017/03/22/legal-requirements-audio-description/.

Griffin E. (2015). UK Subtitle Regulations for Television and Broadcast Media. Retrieved April 21, 2020, from http://www.3playmedia.com/2015/03/31/uk-subtitle-regulations-for-television-broadcast-media/.

IHCD. (No date). History of Inclusive Design. Retrieved March 15, 2020, from https://www. humancentereddesign.org/inclusive-design/history.

Ito, T. (2010). Activities to improve accessibility to broadcasting in Japan. in ITU-EBU Joint Workshop on Accessibility to Broadcasting and IPTV ACCESS for ALL. Geneva, Switzerland, 23–24 November, 2010.

Ito, T. (2013). Sign language interpretation in broadcasting service. in ITU Workshop on “Making Media Accessible to all: The Options and Economics”. Geneva, Switzerland, October 24, 2013.

ITC. (1999). ITC guidance on standards for closed captioning. UK.

Japan Press Weekly. (2018). JCP Yamashita Calls for Making TV more Accessible to Visual and Hearing in Paired persons. June 10, 2018.

National Association of the Deaf. (no date). When is captioning required?. Retrieved April 21, 2020, from https://www.nad.org/resources/technology/captioning-for-access/when-is-captioning-required/.

National Association of the Deaf. (no date). Television and closed captioning. Retrieved May 12, 2020, from https://www.nad.org/resources/technology/television-and-closed-captioning/.

NCRA. (2014). Captioning around the world. Retrieved May 12, 2020, from https://www.thejcr.com/2014/06/30/captioning-around-the-world/.

OFCOM. (2017). The OFCOM Broadcasting Code. UK: Office of Communication.

OFCOM. (2017). Ofcom’s Code on Ttelevision Access Services. UK: Office of Communication.

OFCOM. (2017). Television Channels Requires to Provide Television Access Services. UK: Office of Communication.

Rai S., Greening J. and Petre L. (2010). A Comparative Study of Audio Description Guidelines Prevalent in Different Countries. UK: The Royal National Institute of the Blind.

Reviers, N. (2016). Audio Description in Europe: An Update. The Journal of Specialised Translation, 26, 232 – 247.

Royal National Institute of the Blind. (no date). Audio description (AD). Retrieved April 21, 2020, from https://www.rnib.org.uk/information-everyday-living-home-and-leisure-television-radio-and-lm/audiodescription.

Sas, A. (2016). Rules and Laws around Subtitles in UK Medias. Retrieved May 12, 2020, from http://www.authot.com/en/2016/04/07/subtitles-regulations/.

Sasaki, S. (2017, 25 April). Tokyo movie caters to visually-impaired and everyone else. The Japan Times.

Snyder, J. (2016). The Visual Made Verbal. VA: American Council of the Blind. Inc.

World Blind Union. (2016). International toolkit on providing, delivering and campaigning for audio description and film. CA: World Blind Union.