การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคสแกฟโฟลดิง ร่วมกับสื่อออนไลน์

Main Article Content

สุดารัตน์ ดอนลาดลี

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน และ3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้สอนโดยใช้เทคนิคสแกฟโฟลดิงร่วมกับสื่อออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเชียงคำวิทยาคม จังหวัดพะเยา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 44 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้ แบบวัดความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษ แบบวัดความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษ และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสถิติทดสอบที


ผลการวิจัยพบว่า


  1. นักเรียนมีความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

  2. นักเรียนมีความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01

  3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคสแกฟโฟลดิงร่วมกับสื่อออนไลน์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). สาระการเรียนรู้และมาตรฐานการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ ในหลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

กลุ่มบริหารงานวิชาการโรงเรียนเชียงคำวิทยาคม. (2561). โครงสร้างหลักสูตรสถานศึกษา. สืบค้นเมื่อ 5 มกราคม 2563, จาก https://sites.google.com/a/chiangkham.ac.th/academicckw.

ดวงกมล สวนทอง (2556). การวิจัยและพัฒนารูปแบบการสอนสแกฟโฟลด์ที่ส่งเสริมจิตลักษณะฉันทะและความสามารถในการเขียนบทความวิชาการของนักศึกษาสถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตเพชรบูรณ์ (ปริญญานิพนธ์วิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต) สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.

ศรีนวล โพธิ์ทอง. (2552). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่าน เขียนภาษาอังกฤษ ชุด Specific Thai Cultural Events สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (รายงานการวิจัย). นครปฐม: โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา.

ศศิณัฎฐ์ สรรคบุรานุรักษ์. (2560). การพัฒนารูปแบบการสอนที่เน้นภาระงานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการอ่านภาษาจีน เพื่อความเข้าใจ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี. วารสาร Veridian E-Journal มหาวิทยาลัยศิลปากร, 10(2), 996-1009

สมเกียรติ อินทสิงห์, พงศธร มหาวิจิตร และอุดมลักษม์ กูลศรีโรจน์. (2558). การพัฒนาชุดฝึกสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับนักเรียนกลุ่มเสี่ยง โดยใช้เทคนิคสแกฟโฟลดิง. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 8(1), 1132-1147.

สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2557). แนวปฏิบัติตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2562, จาก http://english.obec.go.th/english/2013/index.php/th/

สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่งชาติ กรมอาเซียน. (2555). กฎบัตรอาเซียน. สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2562, จาก http://www.mfa.go.th/asean/contents/files/asean-media-center20121203-180519-958411.pdf

สุนีย์ สันหมุด. (2552). ปัญหาด้านการอ่าน. สืบค้นเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 2562, จาก http://www.gotoknow.org

สุวรรณา ตันตยานุสรณ์. (2552). การพัฒนารูปแบบการสอนทักษะการเขียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการสอนภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่

Baker, R. W. (2012). Membrane Technology and Applications, California: John Wiley & Sons.

Schmier, J. K., Kurtz, S. M., & Manley, M. T. (2014). Complications, Mortality and Costs for Outpatient and Short-Stay Total Knee Arthroplasty Patients in Comparison to Standard-stay Patients. The Journal of arthroplasty, 29(3), 510-515.

Vygotsky, L. S. (1978). Mind in society: The Development of Higher Psychological Processes. Cambridge, MA: Harvard University Press.