การพัฒนาตัวแบบการจัดการประมูลหมายเลขทะเบียนรถด้วยกลยุทธ์การสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ในกรมการขนส่งทางบก กระทรวงคมนาคม

Main Article Content

วัลลภ งามสอน

บทคัดย่อ

                 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ในกรมการขนส่งทางบก  2) ศึกษาการจัดการประมูลหมายเลขทะเบียนรถด้วยกลยุทธ์การสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ในกรมการขนส่งทางบก 3) ศึกษาความสัมพันธ์ของการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์กับการจัดการการประมูลหมายเลขทะเบียนรถของกรมการขนส่งทางบก  และ 4) การพัฒนาตัวแบบการจัดการการประมูลหมายเลขทะเบียนรถที่มีความสัมพันธ์กับการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ของกรมการขนส่งทางบก


                ประชากรการวิจัย คือ คณะผู้บริหาร  เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้ส่วนเสียในการประมูลหมายเลขทะเบียนรถ ของสำนักงานกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน และสำนักงานขนส่งจังหวัด กรมการขนส่งทางบก ทั้ง 76 จังหวัด การวิจัยเชิงปริมาณใช้เครื่องมือแบบสอบถาม มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 1,009 คน การวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสังเกตการณ์ มีกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 11 คน  การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอลและตัวแบบเส้นทางความสัมพันธ์


                ผลการศึกษา พบว่า  การสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์และการจัดการประมูลหมายเลขทะเบียนรถ มีการดำเนินการในระดับมาก


                ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล พบว่า การสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์กับการจัดการประมูลหมายเลขทะเบียนรถ ในระดับสูง โดยตัวแปรการสร้างคุณค่าผลิตภัณฑ์ที่เน้นด้านการตลาดเชิงกิจกรรม ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับการจัดประมูลหมายเลขทะเบียนรถ โดยเฉพาะการดำเนินการที่เน้นหลักธรรมาภิบาลทางการประมูล และเทคโนโลยีสารสนเทศทางการประมูลโดยมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน


               ผลการวิเคราะห์ตัวแบบเส้นทาง พบว่า ตัวแบบการจัดการประมูลหมายเลขทะเบียนรถด้วยกลยุทธ์การสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ในกรมการขนส่งทางบกนั้น เกิดขึ้นได้จากการสร้างคุณค่าของผลิตภัณฑ์ด้วยกลยุทธ์การตลาดเชิงกิจกรรมที่มุ่งเน้นด้านการอำนวยความสะดวกแก่ผู้เข้าร่วมประมูลหมายเลขทะเบียนรถ มีความสัมพันธ์กับการจัดการประมูลหมายเลขทะเบียนรถด้านธรรมาภิบาลทางการประมูลตามหลักความโปร่งใส และหลักการมีส่วนร่วม และมีความสัมพันธ์กับการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศทางการประมูล ในการพัฒนาโครงสร้างสารสนเทศพื้นฐานและการพัฒนาเครื่องมือในการประมูล ซึ่งการดำเนินกิจกรรมหากมีการบูรณาการหลักการทำงานทั้ง 3 ด้าน คือ กลยุทธ์การตลาดเชิงกิจกรรม การยึดหลักธรรมาภิบาล และการพัฒนาสารสนเทศทางการประมูล สามารถทำให้กิจกรรมการประมูลหมายเลขทะเบียนรถมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมการขนส่งทางบก. ประวัติความเป็นมา. เข้าถึงได้จาก: http://www.dlt.go.th/th/index.php? Option=com_content&view=article&id=67:2009-09-17-10-08-24&catid=38:2009-09-17-10-03-21&Itemed=80., 20 กรกฎาคม 2556.

ธีรยุทธ์ วัฒนาศุภโชค. (2552). คัมภีร์ร้อยกลยุทธ์. กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊ค.

วิทยา สุหฤทดำรง. (2547). วิถีแห่งโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน 2: หนทางแห่งความเป็นเลิศทาง ธุรกิจท่ามกลางกระแสแห่งความเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ: อี. ไอ. สแควร์ พับลิชชิ่ง.

สำนักงานกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน, ส่วนงานประมูลหมายเลขทะเบียนรถ. (2554). รายได้จากการประมูลหมายเลขทะเบียนรถ ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ประจำปีงบประมาณ 2546-2556. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน.

สำนักงานกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน. (2549). รายงานประจำปี 2549. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนเพื่อความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน กรมการขนส่งทางบก.

เสรี วงษ์มณฑา. (2548). จิตวิทยาในการสื่อสาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Kotler, Philip and Keller. (2009). Marketing Management. 13th ed. New Jersey : Prentice-Hall.

Porter, Michael. (1970). From Adam Smith to Michael Porter: Evolution to Competitiveness Theory London: World Scientific Publishing Co. Pte.Ltd.