อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

ชัชพล ทรงสุนทรวงศ์
วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงาน การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ และคุณลักษณะของบุคลากรอันเป็นที่ต้องการขององค์การสมัยใหม่ที่มีผลต่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำนวน 159 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และทดสอบสมมติฐานด้วยการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณ และการวิเคราะห์ความถดถอยอย่างง่าย


                ผลการวิจัยพบว่า แรงจูงใจในการทำงานและการรับรู้การสนับสนุนจากองค์การอยู่ในระดับปานกลาง คุณลักษณะของบุคลากรอันเป็นที่ต้องการขององค์การสมัยใหม่และความเป็นเลิศในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ส่วนแรงจูงใจในการทำงานมีอิทธิพลทางบวกต่อคุณลักษณะของบุคลากรอันเป็นที่ต้องการขององค์การสมัยใหม่ คือ การส่งเสริมความก้าวหน้าและความมั่นคงในอาชีพ การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การมีอิทธิพลทางบวกต่อคุณลักษณะของบุคลากรอันเป็นที่ต้องการขององค์การสมัยใหม่ คือ ด้านความมั่นคงในการทำงาน และด้านการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 และคุณลักษณะของบุคลากรอันเป็นที่ต้องการขององค์การสมัยใหม่มีอิทธิพลทางบวกต่อความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน


          ผลการวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ต่อองค์การในด้านการกำหนดแผนยุทธศาสตร์การทำงานขององค์การ ซึ่งจะทำให้บุคลากรทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและนำไปสู่ความเป็นเลิศในการปฏิบัติงาน และสร้างชื่อเสียงให้กับองค์การต่อไป

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์ และสุพิณ เกชาคุปต์. (2554). การเพิ่มพูนประสิทธิภาพและการเสริมสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ใน ประมวลสาระชุดวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ หน่วยที่ 8 สาขาวิชาวิทยาการจัดการ. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

บุญดี บุญญากิจ และกมลวรรณ ศิริพานิช. (2545). Benchmarking ทางลัดสู่ความเป็นเลิศทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.

บุศริน คุ้มเมือง. (2556). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและการรับรู้บรรยากาศขององค์การที่มีผลต่อความเป็นเลิศในการให้บริการผ่านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามปรัชญาองค์กรของพนักงานกลุ่มธุรกิจเฟรนไซส์ เดอะพิซซ่าคอมปานี เครือบริษัท เดอะไมเนอร์ฟู๊ดกรุ๊ป จำกัด. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร. (2556). “คุณลักษณะของพนักงานที่เป็นที่ต้องการขององค์กรสมัยใหม่” [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 11 พ.ย. 2558 จาก https://prakal.wordpress.com/2013/09/02/

เปรมจิตร์ คล้ายเพ็ชร์. (2548). การรับรู้การสนับสนุนจากองค์การ ความยุติธรรมองค์การที่มีผลต่อความผูกพันองค์การและความตั้งใจลาออก. (วิทยานิพธ์ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์กร ไม่ตีพิมพ์). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, กรุงเทพฯ.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2540). วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วิฑูรย์ สิมะโชคดี. (2551). มุ่งสู่ความเป็นเลิศ. วารสารข้าราชการ ปีที่ 53 ฉบับที่ 4 กรกฎาคม-สิงหาคม 2551 หน้า 79-81.

วิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. (2553). ความสัมพันธ์ระหว่างความยุติธรรมด้านผลลัพธ์และด้านกระบวนการกับพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร และผลการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่ผ่านการรับรู้การสนับหนุนจากองค์กร. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร. ปีที่ 30 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2553 หน้า 65-81.

สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. [ออนไลน์] สืบค้นเมื่อ 12 พ.ย. 2558 จาก http://www.stou.ac.th/Offices/oet/home/

อำไพรัตน์ อักษรพรหม. (2541). การสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรในอุตสาหกรรมอาหาร ใน เอกสารการสอนชุดวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในอุตสาหกรรมอาหาร หน่วยที่ 10 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

Eisenberger, R. Hutchison, S. and Sowa, D. (1986). Perceived Organization Support. Journal of Applied Psychology, 71, 500-507.

Krejcie, Robert V. and Morgan, Daryle W. (1970). “Determing Sample Size for Research Activities.” Educational and Psychological Measurement, 1970 (30): 607-610.

Sean Valentine, Martin M. Greller, Sandra B. Richtermeyer. (2006). “Employee job response as a function of ethical context and perceived organization support.” Journal of Business Research, 2006 (59) 582-588.