ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพ

Main Article Content

ทวีศักดิ์ จินดานุรักษ์

บทคัดย่อ

                  ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพหมายถึง ครูที่มีความรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์ดี โดยมีความรู้ในส่วนที่เป็นเนื้อหาความรู้ที่สอนในด้านเคมี  ชีววิทยา  ฟิสิกส์  วิทยาศาสตร์ทั่วไป สามารถจัดการเรียนรู้ตามแนวทาง สเต็มศึกษา ที่บูรณาการการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม โดยผู้เรียนทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ และฝึกทักษะด้านวิทยาศาสตร์  คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และผู้เรียนได้นำความรู้มาออกแบบชิ้นงานหรือวิธีการผ่านกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม มีความเข้าใจในธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วย 3 กลุ่มใหญ่ๆ ตามการจัดของสมาคมความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์  ได้แก่  1)โลกทัศน์ทางวิทยาศาสตร์  2)การสืบเสาะทางวิทยาศาสตร์ และ3)กิจการทางวิทยาศาสตร์ ครูวิทยาศาสตร์มืออาชีพควรมีความรู้ในส่วนที่เป็นศาสตร์การสอน  มีความสามารถในการปฏิบัติการสอน ถ่ายทอดความรู้ให้กับผู้เรียนได้ดี  ใช้แนวคิด ความรู้เนื้อหาผสานวิธีสอนและเทคโนโลยี  เป็นความสามารถบูรณาการระหว่างเนื้อหาวิชากับศาสตร์การสอนได้เหมาะสม  สามารถผสานความรู้ 3 ด้าน ได้แก่ ความรู้ด้านเนื้อหา ความรู้ด้านการสอน และความรู้ด้านเทคโนโลยี เพื่อช่วยให้การสอนโดยใช้เทคโนโลยีเกิดประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็วขึ้น  พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะแห่งศตวรรษที่ 21  เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยธรรมความเป็นครู  มีมนุษยสัมพันธ์ดี  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้  และเป็นผู้ที่พัฒนาความรู้ตนเองอย่างต่อเนื่องอยู่เสมอ

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จุฬารัตน์ ธรรมประธีป. (2557). “การเรียนรู้ธรรมชาติของวิทยาศาสตร์” ใน ประมวลสาระชุดวิชาสัมมนาหลักสูตรและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์. หน่วยที่ 7 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ดวงเดือน พินสุวรรณ์. (2557). “การพัฒนาครูวิทยาศาสตร์” ใน ประมวลสาระชุดวิชาสัมมนาหลักสูตรและการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ หน่วยที่ 10 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์. (2549). “มนุษยสัมพันธ์และการทำงานเป็นทีม” ใน ประมวลสาระชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิตหลักสูตรและการสอน. หน่วยที่ 6 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทัศนีย์ ชาติไทย. (2535). “มนุษยสัมพันธ์และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนกับการวัดและประเมินผลการศึกษา” หน่วยที่ 11 ใน เอกสารการสอนชุดวิชาจิตวิทยาและสังคมวิทยาพื้นฐานเพื่อการวัดและประเมินผลการศึกษา. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง และ อธิป จิตตฤกษ์ (แปล). (2554). ทักษะแห่งอนาคตใหม่: การศึกษาเพื่อศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Open Worlds.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2558). พจนานุกรมศัพท์ศึกษาศาสตร์ร่วมสมัย ฉบับราชบัณฑิต. กรุงเทพฯ: สำนักงานราชบัณฑิตตยสภา.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.). (2545). มาตรฐานครูวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

อมรวิชช์ นาครทรรพ. (2545). “หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับบริบททางการศึกษา” ใน ประมวลสาระชุดวิชาบริบททางการศึกษา. หน่วยที่ 1 สาขาวิชาศึกษาศาสตร์. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

American Association for the Advancement of Science. (1990). Science for All Americans. NY: Oxford University Press. http://www.project2061.org/tools/sfaaol/sfaatoc.htm.

Trilling, B., & Fadel, C. (2009). 21st century skills: Learning for life in our times. SF: John Wiley & Sons.