การเปิดรับโทรทัศน์และการรับรู้ความเป็นจริงทางสังคมของนักศึกษาหญิง

Main Article Content

พงษ์ วิเศษสังข์

บทคัดย่อ

               อิทธิพลของโทรทัศน์ในการสร้างการรับรู้ความเป็นจริงในสังคมเป็นประเด็นหนึ่งที่ได้รับความสนใจมากในตะวันตก แต่การศึกษาประเด็นนี้ในประเทศไทยยังมีอยู่จำกัด งานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเบื้องต้น (Pilot study) มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับโทรทัศน์กับการรับรู้ความจริงในสังคม 2 ประเด็น 1) ความสำเร็จในชีวิตของผู้หญิงอยู่ที่ความสวยงามของรูปร่างหน้าตา และ 2) ผู้ชายมีความสามารถในปฏิบัติหน้าที่เป็นแพทย์ นักธุรกิจ และนักการเมืองมากกว่าผู้หญิง โดยศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาหญิงปี 1ใน 4 มหาวิทยาลัยที่เลือกมาอย่างเจาะจงจาก 4 ภาคของประเทศไทย ผลการศึกษาพบว่าความถี่ในการเปิดรับโทรทัศน์มีความสัมพันธ์กับระดับการรับรู้ความเป็นจริงทางสังคมว่าความสำเร็จของผู้หญิงขึ้นอยู่กับความสวยงามของรูปร่างหน้าตา แต่ในประเด็นหลังพบว่าไม่มีความสัมพันธ์ ถึงแม้ผลการศึกษาครั้งนี้อาจไม่ชัดเจนนัก และไม่ยืนยันสมมติฐานในทฤษฎีการปลูกฝัง (Cultivation theory) แต่ก็ยืนยันให้เห็นว่านักศึกษาหญิงให้ความสำคัญกับเรื่องของความสวยความงาม และการมีอาชีพ อันจะนำไปสู่ความสำเร็จในชีวิต อย่างไรก็ตามหากจะได้แต่งงานกับผู้ชายที่มีฐานะทางการเงินดีก็จะยิ่งดี แต่จากการศึกษาพบว่าในสังคมที่มีความเป็นกลุ่มก้อน (Collectivism) ไม่เพียงแต่การเปิดรับโทรทัศน์เท่านั้นที่มีผลต่อการรับรู้ในประเด็นที่ศึกษา แต่แหล่งกำเนิดของกลุ่มตัวอย่างก็มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ในประเด็นนั้น ๆ เช่นกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

เจาะลึกพฤติกรรมการชมโทรทัศน์ของไทย. สืบค้นเมื่อ 26 พฤศจิกายน 2558 จาก http://mcot-web.mcot.net/9ent/view.php?id=5562852fbe0470f69f8b4645.

ปาริชาต สถาปิตานนท์, กิตติ กันภัย, พัฒนพงส์ จาติเกตุ และปิยะนารถ จาติเกตุ. (2546). การสื่อสารสุขภาพ: ศักยภาพของสื่อมวลชนในการสร้างเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือจุฬา.

พงษ์ วิเศษสังข์. (2557). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์. กรุงเทพฯ: สามลดา.

อภิวันทน์ อดุลย์ภิเชฎฐ์. (2544). สถานภาพและบทบาทของผู้ชายและผู้หญิงไทยในอดีต: ภาพสะท้อนจากวรรณกรรมเรื่องขุนช้างขุนแผน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.

10 อันดับ เรตติ้งรายการโทรทัศน์ ประจำสัปดาห์ 16/11/2015 – 22/11/2015. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2558 จาก http://pantip.com/topic/34477787.

American Time Use Survey Summary. (June, 24th, 2015). Retrieved November 30th, 2015 from http://www.bls.gov/news.release/atus.nr0.htm.

Gerbner, G. & Gross, L. (1976). Living with television: The violence profile. Journal of Communication, 26, 76.

Gerbner, G. & Gross, L. (1976, April). The scary world of TV’s heavy viewer. Psychology Today. pp. 41-45.

Infante, D., Rancer, A., & Womack, D. (1993). Building Communication Theory (2nd Ed.). Illinois: Waveland Press.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-610.

Malott, R.W. & Shane, J.T. (2014). Principle of Behavior (7th ed.). NY: Routledge.

Ruggiero, T., (2000). Uses and Gratifications Theory. Retrieved November 30th, 2015, from http://www4.ncsu.edu/~amgutsch/Ruggiero.pdf

Sanson, A. (March 2013). Media Representations and Responsibilities: Psychological Perspective. Retrieved November 30th. 2015, from https://www.psychology.org.au/Assets/Files/media_position_paper.pdf

Searle, J. R. (1995). The Construction of Social Reality. NY: The Free Press.

Wolf, M. A., Meyer, T. P., & White, C. (1982). A rules-based study of television’s role in the construction of social reality. Journal of Broadcasting, 26, 813-829.