แนวทางการส่งสริมการตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารของคณาจารย์และนักวิจัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

ลัคนา พูลเจริญ

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารของคณาจารย์และนักวิจัย 2) ศึกษาความต้องการในการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารของคณาจารย์และนักวิจัย และ 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารของคณาจารย์และนักวิจัย ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยกลุ่มตัวอย่างได้แก่กลุ่มผู้บริหาร จำนวน 15 คน คณาจารย์และนักวิจัย จำนวน 205 คน โดยใช้วิธีแบบสุ่มอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามชนิดประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า


                ผู้ตอบแบบสอบถามสวนใหญ่ เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 72.2 มีอายุ 50 ปีขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 56.1 ระดับการศึกษาส่วนใหญ่จบปริญญาเอก คิดเป็นร้อยละ 72.2 โดยมากสำเร็จการศึกษาในประเทศไทย คิดเป็นร้อยละ 68.3 ส่วนใหญ่มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์คิดเป็นร้อยละ 36.0 ผลการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพปัญหาในการตีพิมพ์ เผยแพร่บทความวิจัยในวารสารในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง (  = 3.21, S.D. = 1.016) เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีปัญหาด้านบทความวิจัย (  = 3.27, S.D. = 1.064) ด้านบุคคล  (  = 3.23, S.D. = 1.012) การหาแหล่งตีพิมพ์เผยแพร่(  = 3.22, S.D. = 0.903) และปัญหาด้านการเงิน (  = 3.13, S.D. = 1.086ซึ่งความคิดเห็นต่อความต้องการการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยในวารสาร มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก ได้แก่องค์กรควรสร้างแรงจูงใจเพื่อชักจูงให้บุคคลในองค์กรปฏิบัติงานให้ได้ผลผลิตทั้งปริมาณ และคุณภาพ (  = 4.22, S.D. = 0.755) ควรมีศูนย์ส่งเสริมสนับสนุนตรวจสอบบทความและดำเนินการส่งตีพิมพ์เผยแพร่ (  = 4.16, S.D. = 0.928) องค์กรควรมีที่ปรึกษาเมื่อมีปัญหาในการเขียนบทความภาษาต่างประเทศ (  = 4.14, S.D. = 0.805) และแนวทางการส่งเสริมการตีพิมพ์เผยแพร่บทความวิจัยควรปรับกลไกการส่งเสริมให้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพิ่มขึ้นและการสร้างแรงจูงใจในด้านผลลัพธ์จากการทำงานที่เหมาะสมและเท่าเทียมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

John W. Best. (1981). Research in Education. 4th ed. NJ: Prentice – Hall Inc.

J. Stacy Adams. (2557). ทฤษฎีความเสมอภาค. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2557, จาก http://yoosook11. blogspost.com/2011/01/equity-theory.htm.

Victor Vroom. (1964). ทฤษฎีความคาดหวัง. สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2557, จาก http://www.idis.ru.ac.th/ report/index.php