สมรรถนะครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ ที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ วิเคราะห์สมรรถนะของครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ ที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกับครูผู้สอนที่ได้รับรางวัล OBEC AWARDS ปีการศึกษา 2562 จำนวน 8 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา สังเคราะห์ประเด็น และบรรยายพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของครูผู้สอนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ ที่มีวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียน มี 3 ด้าน ได้แก่ ด้านความรู้ พบว่าครูเป็นผู้มีความรอบรู้ในการพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างชัดเจนหลากหลาย โดยมีความรอบรู้เชิงลึกด้านวิชาการ ด้านคุณลักษณะ เป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรมและมีจิตใจที่เข้มแข็งในการดูแล และเอาใจใส่นักเรียนได้เป็นอย่างดี และด้านทักษะในการปฏิบัติงาน โดยมีการปฏิบัติงานที่โดดเด่นในการส่งเสริมความเป็นเลิศเฉพาะด้านของนักเรียน มีความสามารถในการปฏิบัติงานตามหน้าที่อย่างยอดเยี่ยม จนสามารถส่งเสริมนักเรียนให้มีการพัฒนาการเรียนรู้ได้อย่างเต็มศักยภาพ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
เกียรติสุดา ศรีสุข. (2552). ระเบียบวิธีวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 3). เชียงใหม่: ครองช่างพริ้นติ้ง จำกัด.
ชาย โพธิสิตา. (2562). ศาสตร์และศิลป์การวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
ชูชาติ พ่วงสมจิตร์. (2560). การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนกับชุมชน. Veridian E-journal, Silpakorn University, 10(2), 1342-1354.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2561). นวัตกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาในยุคการเรียนรู้ 4.0. เชียงใหม่: ตองสาม ดีไซน์.
ปรมินทร์ อริเดช. (2560). ครูในฐานะบุคคลแห่งการเรียนรู้. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ (หน้า 49-62). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พัชราภา ตันติชูเวช. (2560). บทบาทครูในศตวรรษที่ 21. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ (หน้า 175-187). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิณสุดา สิริธรังศรี. (2560). ความรู้ ความคิด ทักษะ และคุณธรรมของครู. ใน ไพฑูรย์ สินลารัตน์, ความเป็นครูและการพัฒนาครูมืออาชีพ. (หน้า 15-28). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). ทักษะของครู 4.0 PLC & Log book (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2558). บทบาทของครูในอนาคต: เตรียมผู้เรียนให้สอนตนเองได้ต่อไป. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 1(1), 1-8.
ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2561). หลักคิดการจัดการหลักสูตรและการสอน (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วนิดา ชนินทยุทธวงศ์. (2551). คู่มือครูระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้น 1-2 . กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต สถาบันราชานุกูล.
วิจารณ์ พานิช และวิมลศรี ศุษิลวรณ์. (2560). ศาสตร์และศิลป์ของการสอน. กรุงเทพฯ: บริษัทภาพพิมพ์จำกัด.
สมเกียรติ อินทสิงห์. (2563). การบริหารหลักสูตรสถานศึกษา. เชียงใหม่: หน่วยพิมพ์เอกสาร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมหมาย จันทร์เรือง. (2563, 12 มกราคม). ครูในยุค Disruption. มติชนออนไลน์. สืบค้นจาก www.matichon.co.th
สำนักงานพัฒนาระบบบริหารงานบุคคลและนิติการ. (2562). คู่มือการประเมินรางวัลทรงคุณค่า สพฐ. OBEC AWARDS เล่ม 3. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2562, จาก www.obec.go.th
สุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การออกแบบการสอน หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). ขอนแก่น: เพ็ญ พรินติ้ง จำกัด.
Patton, M. (1990). Qualitative Evaluation and Research Methods. Beverly Hill, CA: Sage.