การพัฒนาตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการบริหารยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ และด้านการบริหารทุนมนุษย์ 2) เพื่อถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บริหารประสบความสำเร็จ 3) เพื่อพัฒนาตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง และ4) เพื่อถ่ายทอดตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง
ประชากรการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด นายกเทศมนตรี และนายกองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 7,853 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยเปิดตารางสำเร็จรูปของเครซี่ และมอร์แกน จำนวน 400 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่บริหารประสบความสำเร็จ 1 คน นายกเทศมนตรีที่บริหารประสบความสำเร็จ 1 คน และนายกองค์การบริหารส่วนตำบลที่บริหารประสบความสำเร็จ 1 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1) ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านการบริหารยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ และด้านการบริหารทุนมนุษย์ พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบลมีการดำเนินการทั้ง 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการบริหารยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารองค์การสมัยใหม่ และด้านการบริหารทุนมนุษย์อยู่ในระดับมาก
2) ผลการถอดบทเรียนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่บริหารประสบความสำเร็จ พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดที่บริหารประสบความสำเร็จได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เทศบาลที่บริหารประสบความสำเร็จได้แก่ เทศบาลตำบลนาอ้อ จังหวัดเลย และองค์การบริหารส่วนตำบลที่บริหารประสบความสำเร็จได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหม้อ จังหวัดเพชรบุรี มีกระบวนการบริหารที่ประสบความสำเร็จ 4 ขั้นตอน ประกอบด้วย จุดประกาย ขายความคิด พิชิตการเปลี่ยนแปลง และสร้างความต่อเนื่อง มีเทคนิคการบริหารที่ประสบความสำเร็จโดยยึดหลักการธรรมาภิบาล 10 ประการ ประกอบด้วย หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักมีส่วนร่วม หลักโปร่งใส หลักความรับผิดชอบ หลักความคุ้มค่า หลักองค์การแห่งการเรียนรู้ หลักการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักการบริหารจัดการสมัยใหม่ หลักเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
3) ผลการพัฒนาตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อการเป็นองค์การสมรรถนะสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมี 3 ปัจจัย ประกอบด้วย กระบวนการบริหารการเปลี่ยนแปลงเทคนิคการบริหารการเปลี่ยนแปลง และปัจจัยแห่งความสำเร็จการบริหารการเปลี่ยนแปลง การเป็นองค์การสมรรถนะสูงขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นคือ การเป็นองค์การทริปเปิ้ลเอชที่ประกอบด้วย 3 สมรรถนะ ได้แก่ สมรรถนะที่ 1: การบริหารยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (สมองดีเยี่ยม) สมรรถนะที่ 2: การบริหารองค์การสมัยใหม่ (เครื่องมือครบ) สมรรถนะที่ 3: การบริหารทุนมนุษย์ (ใจเกินร้อย)
4) ผลการถ่ายทอดตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูง พบว่า องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี เทศบาลตำบลธัญบุรี และองค์การบริหารส่วนตำบลคลองสี่ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้หลังการฝึกอบรมถ่ายทอดตัวแบบการบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่องค์การสมรรถนะสูงทั้ง 3 ตัวแบบ ได้แก่ ตัวแบบการบริหารยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ตัวแบบการบริหารองค์การสมัยใหม่ และตัวแบบการบริหารทุนมนุษย์ อยู่ในระดับมาก มีความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมมิติใหม่ทริปเปิ้ลไฟฟ์โมเดลอยู่ในระดับมาก
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
บุญศรี พรหมมาพันธ์ และ เสน่ห์ จุ้ยโต (2550) แบบจำลององค์การบริหารส่วนตำบลสู่องค์การมุ่งเน้นกลยุทธ์โดยนำ Balanced Scorecard มาประยุกต์ใช้ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
บุญศรี พรหมมาพันธ์ เสน่ห์ จุ้ยโต และคณะ (2545) ตัวชี้วัดการบริหารงานบุคคลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย
ประวิทย์ วิจิตรไตรธรรม (2550) ตัวแบบพัฒนาสมรรถนะ : กรณีศึกษาตำรวจภูธรจังหวัดปทุมธานี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสตร์มหาบัณฑิต แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ สาขาวิชาวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ (2548) สมรรถนะที่จำเป็นในการดำรงตำแหน่งเกษตรอำเภอ. วิทยานิพนธ์เกษตรศาสตรมหาบัณฑิต แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร สาขาวิชาส่งเสริม.การเกษตรและสหกรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ปานใจ ธารทัศนวงศ์ และคณะ (2548) แนวทางการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพฯ : สถาบันพัฒนาข้าราชการพลเรือน สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน.
พีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ และศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ. (2546) รายงานวิจัยเรื่องการพัฒนาศักยภาพการบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น. โรงพิมพ์พระธรรมขันต์.
เมธี เนื่องโนราช (2545) คุณลักษณะเฉพาะที่พึงประสงค์ของผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่นตามแนวความคิดเห็นของราชการและลูกจ้างองค์การบริหารส่วนจังหวัดระยอง. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
รัชนีวรรณ วนิชย์ถนอม (2550) สมรรถนะในวันวาน วันนี้และพรุ่งนี้ ใน สาระสำคัญการปรับปรุง พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนฉบับใหม่. หน้า 66-75 กรุงเทพฯ : สำนักงาน ก.พ.
วินัย เชิญทอง (2540) สมรรถนะของสภาตำบลในการบริหารงานพัฒนาตำบล ศึกษากรณีสภาตำบลของอำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงราย. กรุงเทพฯ :สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ คณะพัฒนาสังคม.
สมทบ ใจหาญ.(2546). ศักยภาพของสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบลต่อการจัดระบบบริการสาธารณะตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 : ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี. กรุงเทพฯ : คณะพัฒนาสังคม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (ม.ป.ป.) แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย ปี 2551-2554. ค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2551, จาก www.opdc.go.th/index.php
สุกัญญา รัศมีธรรมโชติ (2548). แนวทางการพัฒนาศักยภาพมนุษย์ด้วย Competency based learning. กรุงเทพฯ : ศิริวัฒนา อินเตอร์พริ้นท์.
เสน่ห์ จุ้ยโต (2551) การฝึกอบรมเชิงระบบด้วยทฤษฎีการเรียนรู้แนวใหม่. โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสน่ห์ จุ้ยโต (2554) การพัฒนาขีดสมรรถนะบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
เสน่ห์ จุ้ยโต (2553) กระบวนทัศน์ใหม่การบริหารทุนมนุษย์. โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสน่ห์ จุ้ยโต และ กิตติพงศ์ เกียรติวัชรชัย (2554) ตัวแบบธรรมาภิบาลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศ. โครงการส่งเสริมวิจัยวิชาการ กองทุนรัตนโกสินทร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสน่ห์ จุ้ยโต (2557) มิติใหม่การบริหารธรรมาภิบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: ทฤษฎีและงานวิจัย. โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เสน่ห์ จุ้ยโต (2541) วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ผู้บริหารอุดมศึกษา: กรณีศึกษาผู้บริหารระดับสูง. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสน่ห์ จุ้ยโต (2556) องค์การทริปเปิ้ลเอช: ตัวแบบใหม่การบริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศ. โครงการส่งเสริมการแต่งตำรา สำนักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Encyclopedia Britannica, Inc. The New Encyclopaedia Britannica. Chicago : The Incorporate.
Goleman (1988). Working with Emotional Intelligence, New York : Bantam.
Kelly William (1999). How to be a star at work: nine breakthrough strategies you need to succeed. New York : Times Business.
Lahti, R.K. (1999) Identifying and integrating individual level and organizational level core competencies. Journal of Business and Psychology, 14, (1), 59-75.
Osborne, David and Gaebler, Ted. (1992) Reinventing Government New York: Addison-Wesley Publishing Company.
Shermon, Ganesh (2004) Competency Based HRM New York : McGraw-Hill.
Spencer, L.M. & Spencer, S.M. (1993). Competency at work, models for superior performance. New York : John Wiley & Sons, Inc.