ความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ : กรณีศึกษานักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาแขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2) เปรียบเทียบความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์เทคโนโลยี
กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชจำนวน 162 คนได้มาจากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน แล้วทำการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่าซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้น มีค่าความเชื่อมั่น 0.86 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวน
ผลการวิจัยพบว่า (1) ความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชโดยภาพรวม และรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงตามลำดับดังนี้ การเข้าถึงเทคโนโลยี แรงจูงใจ การบริหารเวลา ทักษะการใช้เทคโนโลยี และทักษะการเรียนรู้ (2) เปรียบเทียบความพร้อมของนักศึกษาสำหรับการเรียนรู้ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช จำแนกตาม เพศ อายุ และประสบการณ์เทคโนโลยี ไม่แตกต่างกัน
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กมลรัตน์ หล้าสุวงษ์. (2540). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: ภาควิชาการแนะแนวและจิตวิทยาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร
กาญจนา โชคเหรียญสุขชัย. (2548). การศึกษาความเป็นไปได้ในการนำระบบ E-Learning มาปรับใช้ในระดับบัณฑิตศึกษา. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย, ปีที่ 25 ฉบับเดือนมกราคม-เมษายน 2548
ณัฐพงษ์ วัฒนบุตร. (2548). e-Learning http://student.thaiairline.com/elearn_main.asp
พรรณี ชูทัยเจนจิต. (2538). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: บริษัทคอมแพคท์ พริ้นท์ จํากัด.
ยืน ภู่วรวรรณ. 2544. การอภิปรายทางวิชาการ. เรื่อง E-Learning มิติใหม่แห่งการเรียนรู้. 25 กรกฎาคม 2544 ณ อาคารวิทยทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ถนอมพร เลาหจรัสแสง. (2545). หลักการออกแบบ และการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์
ปัญญา ศิริโรจน์. (2555). มาทำความรู้จัก e-Learning ภาควิชาเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง. http://www.edu.ru.ac.th/et-ram/archives/Article/Know%20e-learning.pdf
ปัทมาพร เย็นบำรุง. 2544.การอภิปรายทางวิชาการ. เรื่อง E-Learning มิติใหม่แห่งการเรียนรู้. 25 กรกฎาคม 2544. ณ อาคารวิทยทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทองสง่า ผ่องแผ้ว. (2548). การศึกษาความคิดเห็นความพร้อมและการยอมรับการเรียนการสอนแบบอีเลินนิ่ง (e- Learning) ของอาจารย์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม.
ทวีวัฒน์ วัฒนกุลเจริญ. 2547. การพัฒนารูปแบบการวัดประเมินตามสภาพจริงจากการเรียนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้วิธีการเรียนตามสถานการณ์ ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองของผู้เรียนในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา), จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
วิภาดา คุปตานนท์ และมุกดา โควหกุล. (2551). วิจัยเรื่องศึกษาความพร้อมของนักศึกษาตลอดจนปัญหาและอุปสรรคที่มีผลต่อการเรียนการสอนระบบ e-Learning. วารสารพัฒนาการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยรังสิต, ปีที่ 2 (ฉบับที่ 1). เดือนมกราคม – มิถุนายน 2551
รุจิรา เรือนเมย. (2550). องค์ประกอบ e-Learning. http://www.learners.in.th/blogs/posts/156312สฤษดิ์พงษ์ ลิมปิษเฐียร. 2544. การอภิปรายทางวิชาการ. เรื่อง E-Learning มิติใหม่แห่งการเรียนรู้. 25 กรกฎาคม 2544. ณ อาคารวิทยทัศน์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สาคร บุญดาว สำรวย กมลายุตต์ และวรัญญา ปุณณวัฒน์. (2547). การศึกษาสถานภาพการจัดการเรียนทางอิเล็กทรอนิกส์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย. สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. นนทบุรี.
สุมาลี อาภรณ์พินิจเลิศและพนม บุญญ์ไพร. (2552). ความพร้อมของผู้เรียน ในการเรียนด้วย e-Learning ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ของนักเรียนนักศึกษาแผนกคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิค ประจวบคีรีขันธ์.วันที่ 10 เมษายน 2544. http://202.142.212.15/~krupanom/index.php?option=com_content&view=article&id=4:e-learningG2&catid=2learninG2&catid=2:research&Itemid=4
ศิริชัย นามบุรี. (2554). การเรียนการสอนในระบบอีเลิร์นนิ่ง. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. ปีที่ 15 (ฉบับที่ 1).
ศิริวรรณ อนันต์โท.(2546). องค์ประกอบของ E-Learning. http://student.thaiairline.com/elearn_main.asp.
อลิสา ทรงศรีวิทยา. (2554). วิจัยเรื่องศึกษาความพร้อมที่มีต่อการเรียนแบบอีเลิร์นนิ่งของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วันที่ 10 กรกฎาคม 2544. http://www.niteschan.com/nec2011/3_Day%202/E2/E2_5_31.pdf
อัญชลีพร วิสิทธิ์วงษ์ และมธุรดา ม่วงมัน. (2554). การศึกษาความคิดเห็น ความพร้อมและการยอมรับในการเรียนการสอนแบบ e-learning ของอาจารย์วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์นครสวรรค์. การพยาบาลและการศึกษา. ปีที่ 4 (ฉบับที่ 1) มกราคม – เมษายน 2554
Aydin, C. H., & Tasci, D. (2005). Measuring Readiness for e-Learning: Reflections from an Emerging Country. EducationalTechnology & Society, 8 (4), 244-257.
Borotis, S., & Poulymenakou, A. (2004). e-LearningReadiness Components: Key Issues to Consider Before Adopting e-Learning Interventions. Retrieved on Nov. 2,2005. from http://www.eltrun.gr/papers/eLReadiness_ELEARN2004.pdf
Chapnick, S. (2000). Are You Ready for ELearning?. Retrieved on Dec. 19, 2004 from http://www.astd.org/ASTD/Resources/dyor/article_archives.htm.
Clank, Ruth, Colvin. and Mayer, Richard(2003). e-Learning and the Science of Instruction. U.S.A., John Wiley&Sons,Inc, 2003
GGuglielmino, P. J., & Guglielmino, L. M. (2003). Are your learners ready for e-learning?InG.8Figueira, Eduardo. Evaluating the Effectiveness of E-Learning Strategies for Small and Medium Enterprises. University of Évora. Available online at http://www.theknownet.com/ict_smes_seminars/papers/Figueira.html
Good, Carter V. (Ed.). (1973). Dictionary of Education (3 ed.). New York, NY: McGraw- Hill.
Hortor, William and Horton, Katherin.(2003) E-Learning Tools and Technologies. U.S.A. : Wiley Publishing, 2003. 574 pp.
Kaur, K., & Abas, Z. (2004). An Assessment of e-Learning Readiness at the Open University Malaysia. International Conference onComputers in Education (ICCE2004), Melbourne, Australia.
Khan, Badrul H. (2007) “A Framework for e-Learning”. Available Online at http://bookstoread.com/framework
Knowledge Advisors. Metrics that Matter Measurement Solution. Avalable online at http://knowledgeadvisors.com/Docs/MTMValueProposition.pdf
May, C. R. and R. M. Campbell. (1981). “Readiness for Learning: Assumptions and Realities.” Theory into Practice 20: 130-34.For a review, see Kagan, S. L. (1990). “Readiness 2000: Rethinking Rhetoric and Responsibility.” Phi Delta Kappan, 72 (4):272-279.
M. Piskurich (Ed.) (2003). The AMA handbookof e-learning: Effective design,implementation, and technology solutions,New York: AMACOM, 87-98.
Penina Mungania (2003). The Seven E-learning Barriers Facing Employees. University of Louisville. Available online at http://www.masie.com/researchgrants/2003 /ungania_Final_Report.pdf
Robbs , Richard. (2000). “Advantages of e-learning”. Learning Technology, Computer Centre, University of Leicester. Available online at http://www.le.ac.uk/cc/rjm1/etutor/elearning/advdofelearning.html
Rosenberg, M. (2000). The E-Learning Readiness Survey. Retrieved on Dec. 19, 2004 from http://www.ucalgary.ca/srmccaus/eLearnin Survey.pdf
Spiros p. Borotis, and Angeliki Poulymenakou. (2004). E-Learning readiness components: key issues to consider before adopting e-Learning interventions. In eLearn 2004 Conference Proceedings, pp. 1622-1629, November 2004.
So, Teddy and Swatman, Paula M.C. (2006).e-Learning Readiness of Hong Kong Teachers. Available online at http://www.insyl.unisa.edu.au/publications/working- papers/2006-05.pdf
Watkins, R., Leigh, D., & Triner, D. (2006). Assessing readiness for E-Learning. Performance Improvement Quarterly,17(4), 66-79.