การพัฒนาการเรียนการสอนโดยใช้เครือข่ายสังคม

Main Article Content

สิงห์ สิงห์ขจร

บทคัดย่อ

                 การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน ผ่านการเรียนรู้โดยใช้เครือข่ายสังคม  (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนการสอนผ่านสื่อ เครือข่ายสังคม   


                 การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาในรายวิชา การวิจัยนิเทศศาสตร์ กลุ่มเรียน D6 มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 60 คน โดยใช้วิธีคัดเลือกด้วยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling) ด้วยการจับฉลากจำนวน 30 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในบทเรียนการสอนผ่านสื่อเครือข่ายสังคม  คือกลุ่มทดลอง และการจับฉลาก จำนวน 30 คน เป็นกลุ่มตัวอย่างที่ไม่ใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อ เครือข่ายสังคม  คือกลุ่มควบคุม การวิเคราะห์ข้อมูลมีการเลือกใช้สถิติดังต่อไปนี้ สถิติพื้นฐาน การหาค่าเฉลี่ย และการหาค่าความแปรปรวนของคะแนน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของกลุ่มทดลองใช้ บทเรียนการสอนผ่านสื่อ เครือข่ายสังคม  และกลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อ เครือข่ายสังคม  โดยใช้ t – Dependent


                ผลการวิจัย พบว่า 1) การศึกษาเปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มทดลองใช้ บทเรียนการสอนผ่านสื่อ เครือข่ายสังคม  และกลุ่มควบคุมที่ไม่ใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อ เครือข่ายสังคม  มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านคุณธรรมจริยธรรมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ, มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านความรู้แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ, มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะปัญญาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, มีคะแนนผลสัมฤทธิ์ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 2) ข้อเสนอแนะของผู้เรียนที่มีต่อบทเรียนการสอนผ่านสื่อ เครือข่ายสังคม  ซึ่งผลการวิจัย พบว่านักศึกษากลุ่มทดลองใช้บทเรียนการสอนผ่านสื่อ เครือข่ายสังคม อยากให้พัฒนาบทเรียนให้เป็นรูปแบบวีดีโอ ใน www.youtube.com จำนวน 7 คน และอยากให้ทุกรายวิชามีการพัฒนาการเรียนการสอนบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จำนวน 6 คน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. 2525. เอกสารโครงการประชุมปฏิบัติการเกี่ยวกับการวิจัยทางการศึกษา ครั้งที่ 3. เรื่องการปรับปรุงคุณภาพงานวิจัยทางการศึกษา. กองวิจัยทางการศึกษา กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ.

ขวัญชนก ขวัญชัชวาล. 2546. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการปรับตัวและสุขภาพจิตโดยการสอนผ่านเว็บกับการสอนปกติ สำหรับนักศึกษาปริญญาตรี มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

จตุรงค์ เลาหะเพ็ญแสง. 2549. การศึกษารูปแบบการบริหารจัดการรายวิชาระบบ E-Learning ตามแนวการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก ระดับอุดมศึกษา. ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา, คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. กรุงเทพฯ.

ธวัชพงษ์ พิทักษ์. 2552. การใช้เครือข่ายทางสังคมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบจัดการเนื้อหา.วิทยานิพนธ์วิทยาการสารสนเทศมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

นวลเสน่ย์ วงศ์เชิดธรรม. (2549). การวิจัยในชั้นเรียน. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ. ศ. 2542. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.

ศิวกร แก้วรัตน์. 2546. การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องพื้นฐานไมโครโปรเซสเซอร์โดยใช้การสอนผ่านเว็บกับการสอนปกติสำหรับนักศึกษาปริญญาตรี สถาบันราชภัฎเลย. วิทยานิพนธ์ ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Boyd, D. M. and Ellison, N. B. (2008). Social Network Sites: Definition, History, and Scholarship. Journal of Computer-Mediated Communication 13 (2008): 210–230.

Butler, R. (1991) “ Cooperative Learning and Computer Simulation:Examining Effects on the Problem- Solving Abilities of Sixth-Grade Students.” Dissertation Abstracts International.: 10-12 A.

Matthew, Kathryn and Gita Varagoor. (2001). Student Responses to Online Course Materials. online. (Available). From : http://www.thailis.uni.net/eric/detial.nsp.

Seagren, N. and Watrood, Britt. (1997). The Virtual Classroom. online (Available) from : http://ericir.syr.edu/

Schneider Daneil. (1999). Teaching & Learning with Internet Tools a Position Paper. Online. (Available). From : http://tecfa.Unige.ch/ edu-compleduwd94/contrib/schneide. fm.html#rof39480.

Schoroeder. (2005). Blogging Online Learning News and Research [Online]. Available: http://sloan-c.org/publications/jaln/v7n2/pdf/v7n2_schroeder.pdf