คุณลักษณะนักสื่อสารสุขภาพที่พึงประสงค์ของประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปิดรับข่าวสาร ทัศนคติ ความต้องการและความคาดหวังของประชาชนต่อนักสื่อสารสุขภาพในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนอำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานีจำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ใช้ค่า t-test One-way ANOVA และหาค่าสถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า ประชาชนมีการเปิดรับข่าวสารจากนักสื่อสารสุขภาพในพื้นที่อำเภอเมืองจังหวัดอุทัยธานีอยู่ในระดับปานกลาง โดยเปิดรับข่าวสารจากเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมากที่สุด ด้านทัศนคติอยู่ในระดับมาก โดยมีทัศนคติต่อนักสื่อสารสุขภาพด้านสื่อมากที่สุด สำหรับความต้องการและความคาดหวังต่อนักสื่อสารสุขภาพอยู่ในระดับมาก โดยมีความต้องการและความคาดหวังด้านสารมากที่สุด ด้านลักษณะทางประชากรที่ต่างกันมีการเปิดรับข่าวสารจากนักสื่อสารสุขภาพในอำเภอเมืองจังหวัดอุทัยธานีแตกต่างกัน แต่มีทัศนคติ ความต้องการและความคาดหวังต่อนักสื่อสารสุขภาพในอำเภอเมืองจังหวัดอุทัยธานีไม่แตกต่างกัน ส่วนการเปิดรับข่าวสารเกี่ยวกับความรู้ด้านสุขภาพจากนักสื่อสารสุขภาพ มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อนักสื่อสารสุขภาพในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
ดวงพร คำนูณวัฒน์ และคณะ (2548) สถานภาพการดำเนินงานสื่อสารสุขภาพของสื่อท้องถิ่นนนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
นรินทร์ สังข์รักษา และคณะ (2549) คุณลักษณะที่พึงประสงค์และการรวมกลุ่มนักสื่อสารสุขภาพ นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
ปรมะ สตะเวทิน (2529) หลักนิเทศศาสตร์ พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพมหานคร รุ่งเรืองสาส์นการพิมพ์
ปราโมทย์ ประสาทกุล และปัทมา ว่าพัฒนวงศ์ (2555) โครงสร้างประชากรและการเปลี่ยนแปลง ใน รายงานคนไทยปี 2555 สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ
ปรีชา อุปโยคิน และคณะ (2548) การรับรู้และการเข้าถึงสื่อสาธารณสุขในจังหวัดเชียงราย นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
พนา ทองมีอาคม และเพ็ญพักตร์ เตียวสมบูรณ์กิจ (2552) การสื่อสารสุขภาพ:ประโยชน์และความจำเป็นของการศึกษาด้านนิเทศศาสตร์และการบริการด้านสุขภาพ: นิเทศศาสตรปริทัศน์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิตปีที่ 12 ฉบับที่ 2 มกราคม-มิถุนายน 2552
วันเพ็ญ ปรีติยาธร (2543) การเปิดรับ ทัศนคติ และความต้องการข้อมูลข่าวสารของผู้ใช้บริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลของรัฐในเขตกรุงเทพมหานคร วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิเทศศาสตรพัฒนาการ ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
อรสา ปานขาว (2548) การวิจัยเชิงสำรวจ ใน ประมวลสาระชุดวิชาการวิจัยและสถิติประยุกต์ทางนิเทศศาสตร์ หน่วยที่ 5 หน้า 216-217 นนทบุรี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช บัณฑิตศึกษา สาขาวิชานิเทศศาสตร์
อิ่มจิต เลิศพงษ์สมบัติ และคณะ (2551) ปฐมบทของการสื่อสารสุขภาพเพื่อสร้างเสริมสุขภาพสุขภาวะท้องถิ่นปัตตานี. แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบสื่อสารสุขภาพสู่ประชาชน สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ
De Fleur, Melvin L. (1970) Theory of Mass Communication. New York: David Mckay Company
Wilbur, Schramm. (1973) Channels and Audience: Handbook of Communication. Chicago: Ran Mcnally College Publishing Company