รูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุงาน กรณีศึกษาครูโรงเรียนเอกชน จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

สุพรรณี รัตนานนท์
เมธี จันทชาติ
ทยณฐ ชวนไชยสิทธิ์

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี 2) เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยด้านประชากร ปัจจัยด้านเศรษฐกิจและสังคม กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านจิตวิทยา ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางสังคม และปัจจัยด้านปัญหา/อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี  และ 4) สร้างรูปแบบและแนวทางการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรีได้อย่างเหมาะสม  ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ  การศึกษาเชิงปริมาณประชากรได้แก่ครูโรงเรียนเอกชนในจังหวัดนนทบุรี เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 360 คน  โดยใช้สูตรของยามาเน่ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง  ซึ่งคัดเลือกจากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน  แบ่งเป็น 2 ช่วงอายุคือ ช่วงอายุก่อนใกล้เกษียณ (อายุไม่เกิน 55 ปี)  และช่วงอายุใกล้เกษียณ (อายุ 55 ปีขึ้นไป) เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการแจกแบบสอบถามให้ตอบเอง วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test  การวิเคราะห์ความแปรปรวนF-test  และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน  ส่วนการศึกษาเชิงคุณภาพใช้วิธีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการกับครูโรงเรียนเอกชน สมาชิกในครอบครัว และเจ้าหน้าที่จากสำนักงานเขตการศึกษา จำนวน 30 คน เพื่อสร้างรูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุ และนำรูปแบบที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 คนพิจารณาความเหมาะสมด้วยวิธีการสนทนากลุ่ม ผลการวิจัยพบว่า 1) ในภาพรวมครูโรงเรียนเอกชนมีคะแนนเฉลี่ยการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในระดับปานกลาง  โดยผู้ที่อยู่ในช่วงอายุก่อนใกล้เกษียณมีคะแนนเฉลี่ยการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในระดับปานกลาง  ส่วนช่วงอายุใกล้เกษียณมีคะแนนเฉลี่ยการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในระดับสูง 2) ปัจจัยด้านอายุ สถานภาพสมรส และระดับรายได้ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในขณะที่เพศ ภาวะสุขภาพ และความเพียงพอของรายได้ที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในภาพรวมไม่แตกต่างกันแตกต่างกัน  3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุในภาพรวมของครูโรงเรียนเอกชน คือ การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุ ทัศนคติเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุราชการ และการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุ  ส่วนปัญหา/อุปสรรคในการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุมีความสัมพันธ์ทางลบกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุราชการ 4) รูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุของครูโรงเรียนเอกชนในแต่ละช่วงอายุมีความคล้ายคลึงกัน คือผู้ที่จะเกษียณอายุทุกช่วงอายุต้องเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านเศรษฐกิจ ด้านที่อยู่อาศัย ด้านสุขภาพร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านการใช้เวลา โดยครอบครัวต้องสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุทุกด้านในเรื่องอารมณ์/ความรู้สึก ด้านข้อมูลข่าวสาร และด้านวัตถุ/สิ่งของ  ในขณะที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องสนับสนุนการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุทุกด้านในเรื่องการให้ความรู้ คำแนะนำข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุและการจัดกิจกรรมเพื่อสนับสนุน/ส่งเสริมการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ทยณฐ ชวนไชยสิทธิ์ (2552) รูปแบบการเตรียมความพร้อมเพื่อเกษียณอายุราชการ: กรณีศึกษาข้าราชการครูสังกัดเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดนนทบุรี.รายงานการวิจัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ธาดา วิมลฉัตรเวที (2543) การเตรียมตัวก่อนเกษียณอายุทำงานของบุคลากรสังกัดมหาวิทยาลัยของรัฐ กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บรรลุ ศิริพานิช (2551) คู่มือผู้สูงอายุ: ฉบับเตรียมตัวก่อนสูงอายุ(เตรียมตัวก่อนเกษียณอายุการงาน) กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน

พัชราภา มนูญภัทราชัย (2544) การเตรียมตัวก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุของประชากรในชุมชนขนาดใหญ่พื้นที่เขตบางซื่อวิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาตรมหาบัณฑิต กรุงเทพฯ:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พิมพ์พิมุข โพธิ์ปักขิย์ (2550) ปัจจัยทางชีวสังคม ทัศนคติต่อการเกษียณอายุ ความเครียดจากภาระหนี้สินกับการเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุการทำงานของข้าราชการครูในจังหวัดพิจิตร

สารนิพนธ์ กศ.ม. (จิตวิทยาพัฒนาการ). กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

สมฤดี ธัมกิตติคุณ (2550) การเตรียมตัวก่อนการเกษียณอายุทำงานของบุคลากรฝ่ายการพยาบาลโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์. สารนิพนธ์ กศ.ม.(จิตวิทยาพัฒนาการ) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Atchley, R.C. (1994). Social Forces and Aging: An Introduction to Social Gerontology. 7th ed. California: Wadsworth Publishing Co.

Hogstel, M.O. (1999). Mental Health Wellness Strategies for Successful Aging. Stanley Gerontological : A Health Promotion/Protection Approach. Philadelphia: F.A. Davis Company

Kendler, H.H. (1974). Basic Psychology. California: W.A. Benjamin Inc.

McPherson, B. and Guppy, N. (1979). Preretirement Life-style and the Degree of Planning for Retirement. Journal of Gerontology.34(2)

http://www.ipsr.mahidol.ac.th/ipsr-th/ThaiHealth_book/thaihealth_2550.html

http://www.thetruemate.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539099610