การศึกษาปัญหาการเรียนสาขาบริหารธุรกิจเกษตรตามทัศนะของนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลภาคตะวันออก

Main Article Content

นิตยา เรืองยุวนนท์
ปิยธิดา รัตนคุณ
สุนิจ ผลภักดี

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับปัญหาการเรียนของนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจเกษตรและเพื่อเปรียบเทียบปัญหาการเรียนของนักศึกษาสาขาบริหารธุรกิจเกษตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก กลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 88 คน คัดเลือกโดยวิธีการสุ่มแบบง่าย  ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัย มีค่าดัชนีความสอดคล้องรายข้ออยู่ระหว่าง 0.50 -1.00 มีค่าความเชื่อมั่น 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ทดสอบสมมติฐานด้วย t-test และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว


                ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาการเรียนของนักศึกษา โดยภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง ประกอบด้วย 1) ด้านหลักสูตรในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง  โดยที่มีปัญหามากที่สุด คือเวลาที่ใช้ในการเรียนภาคทฤษฎีมีมากเกินไป 2) ด้านผู้เรียนในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง โดยที่มีปัญหามากที่สุดคือนักศึกษาไม่มีสมาธิและชอบคุยกับเพื่อนขณะเรียน 3) ด้านอาจารย์ผู้สอนในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง โดยที่มีปัญหามากที่สุดคืออาจารย์เข้าสอนและเลิกสอนไม่ตรงเวลา และอาจารย์สอนโดยวิธีบรรยายอย่างเดียวทำให้ง่วงนอน 4) ด้านสื่อและอุปกรณ์การเรียนในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง โดยที่มีปัญหามากที่สุดคือ สื่อและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียนการสอนไม่ทันสมัย   5)  ด้านการประเมินผลในภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง โดยที่มีปัญหามากที่สุดคือ ข้อสอบที่ใช้แต่ละครั้งยากเกินไป ผลการทดสอบสมมุติฐาน นักศึกษาที่มีเพศและอยู่ชั้นปีต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการเรียนสาขาบริหารธุรกิจเกษตรไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิดานันท์ มลิทอง. (2536). เทคโนโลยีการศึกษาร่วมสมัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัทเอดิสันเพรส โพรดักส์ จำกัด.

จรูญ ชูลาภ. (2545). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2544. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

จิตตชา นิลดำ. (2542). ปัญหาในการเรียนของนิสิตปริญญาตรี ภาคสมทบหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต(ต่อเนื่อง 2 ปี). สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ชัยพฤกษ์ ดุลภาคไพศาล. (2546). ความต้องการการพัฒนาการสอนและปัญหาในการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ที่สอนวิชาช่างไฟฟ้ากำลังและช่างอิเล็กทรอนิกส์ในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) ของวิทยาลัยเทคนิค สังกัดกรมอาชีวศึกษาเขตการศึกษา 12. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้าสื่อสาร. บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.

ชูชีพ เงินเส็ง. (2544). ปัญหาการเรียนการสอนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) สาขาวิชาช่างยนต์ ตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียนอาชีวศึกษาเอกชน เขตการศึกษา 1. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอนอาชีวศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง.

ธำรง บัวศรี. (2532). ทฤษฎีหลักสูตรการออกแบบและการพัฒนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

นิรมล ศตวุฒิ. (2543). การพัฒนาหลักสูตร ภาควิชาหลักสูตรและการสอนคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา.

นุสรา ตติไตรสกุล. (2545). ปัญหาการเรียนของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ประเภทวิชาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยพณิชยการเชตุพน. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปราณี ทรัพย์มี. (2551). ปัญหาการเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาช่างอุตสาหกรรมตามทัศนะของนักเรียนและครู วิทยาลัยเทคนิคราชสิทธาราม. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา).กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ปรียาพร วงศ์นุตรโรจน์. (2545). การจัดการและการบริหารอาชีวศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริม กรุงเทพ

พรศรี โรจน์เมฆี. (2542). ปัญหาการสอนของอาจารย์ผู้สอนวิชาบัญชี ระดับประกาศนียบัตรชั้นสูงสถาบันเทคโนโลยีราชมงคล. ปริญญานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

พิสมัย บัวอุไร. (2541). ปัญหาการเรียนของนักศึกษาในโครงการจัดการศึกษาสำหรับบุคคลทั่วไป โปรแกรมวิชาการจัดการทั่วไป ระดับปริญญาตรี. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

มณีรัตน์ มีโภคี. (2545). ปัญหาการเรียนของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง สาขาวิชาการบัญชีวิทยาลัยอาชีวศึกษาเพชรบุรี. สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัลลภา เปรมจันทน์. (2546). ปัญหาการเรียนของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขาวิชาพณิชยการเชตุพน. กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกศักดิ์ บุตรลับ. (2537). ครูและการสอน. เพชรบุรี: คณะคุรุศาสตร์ สถาบันราชภัฎเพชรบุรี.