การประเมินประสิทธิภาพการจัดสอนเสริมแบบเข้ม ชุดวิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยเพื่อประเมินประสิทธิภาพการจัดสอนเสริมแบบเข้มชุดวิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาประเด็นดังต่อไปนี้ 1) การใช้ประโยชน์ด้านเนื้อหาของเอกสารคู่มือสําหรับวิทยากร 2) ความเหมาะสมของกระบวนการจัดการเรียนการสอน 3) การใช้ประโยชน์ด้านเอกสารประกอบการสอนเสริมแบบเข้มซึ่งแจกให้กับนักศึกษา 4) ผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้ ของนักศึกษาที่เข้ารับการสอนเสริมแบบเข้มและ 5) ความสัมพันธ์ระหว่างผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้จากการเข้ารับการสอนเสริมแบบเข้มกับผลการสอบไล่ปลายภาค โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ศึกษาจากประชากรที่เป็ นนักศึกษาที่เข้ารับการสอนเสริมแบบเข้มชุดวิชาหลักการโฆษณาและการประชาสัมพันธ์ในภาคการศึกษา 1/2555 จํานวน 32 คน เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้สอน และเก็บข้อมูลด้วย
แบบสอบถาม และคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ในการทําแบบประเมินผลตนเองหลังเรียน ร่วมกับผลการสอบปลายภาคจาก
นักศึกษาผู้เข้ารับการสอนเสริมแบบเข้ม
ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยที่กําหนดไว้พบว่า
1. อาจารย์ผู้สอนได้ใช้ประโยชน์อย่างมากจากคู่มือสําหรับวิทยากรซึ่งได้มีการสรุปเนื้อหาในสาระสําคัญของทุกหน่วยเพื่อช่วยวิทยากรในการเตรียมการสอนและเห็นว่าเนื้อหาและโสตทัศน์ที่เตรียมไว้ในคู่มือสําหรับวิทยากรเพียงพอและเหมาะสมดีแล้ว 2. ในด้านกระบวนการจัดการเรียนการสอน นักศึกษาพอใจมากในทุกประเด็นทั้ง ระยะเวลาการสอนในวันเสาร์และอาทิตย์ ความสะดวกด้านสถานที่ และค่าใช้จ่ายในการเข้ารับการสอนเสริมแบบเข้ม โดยพึงพอใจวิทยากรผู้สอน อยู่ในระดับมากที่สุดทั้งในเรื่องของการอธิบายและถ่ายทอดเนื้อหาได้ชัดเจน โดยเปิ ดโอกาสให้นักศึกษาได้ซักถามเมื่อมีข้อสงสัย และตอบคําถามได้อย่างชัดเจน โดยมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา 3. ในส่วนของการใช้ประโยชน์ด้านเอกสารประกอบการสอนเสริมแบบเข้มซึ่งแจกให้กับนักศึกษา นักศึกษาพึงพอใจ เนื้อหามีความครอบคลุมและมีความชัดเจนในระดับมาก นอกจากนั้นในการให้นักศึกษาทําแบบทดสอบความรู้หลังการสอนแต่ละหน่วยการสอนพบว่านักศึกษามีความพึงพอใจต่อแบบทดสอบในระดับมากเช่นกันโดยเห็นว่า แบบทดสอบมีเนื้อหาครอบคลุมและมีจํานวนข้อที่เหมาะสมคําถามของแบบทดสอบมีความชัดเจน 4. ในส่วนของผลสัมฤทธิ์ด้านการเรียนรู้ นักศึกษาสามารถทําแบบประเมินผลตนเองหลังเรียนได้คะแนนเฉลี่ยมากกว่าการทําแบบประเมินผลตนเองก่อนเรียนอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ และ 5.นักศึกษาที่เข้ารับการสอนเสริมแบบเข้ม สามารถสอบผ่านในการสอบไล่ปลายภาคได้ร้อยละ 100
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
ข้อมูลรายงานสถิติสรุปผลการสอบของนักศึกษาสาขาวิชานิเทศศาสตร์แต่ละชุดวิชา จากศูนย์วิชาการประเมินผล สํานักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ภาคการศึกษา 1/ 2554 1/2553 และ 1/2552
บันทึกข้อความจากสํานักบริการการศึกษา ศูนย์บริการการศึกษาประจําภูมิภาค เลขที่ ศธ.0522.04(03)/919 แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการสอนเสริมของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ในการประชุมครั้งที่ 1//2555 เมื่อวันพุธที่ 14 มีนาคม 2555 อนุมัติให้สาขาวิชานิเทศศาสตร์จัดสอนเสริมแบบเข้มประจําปี การศึกษา 2555