การปฏิบัติด้านการจัดการความรู้ของบุคลากร มหาวิทยาลัยรามคำแหง

Main Article Content

รวิ บัวด้วง

บทคัดย่อ

               การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ (1) เพื่อศึกษาระดับการปฏิ บัติด้านการจัดการความรู้ของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง ได้แก่ ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการสร้างความรู้ ด้านการจัดเก็บและกู้คืนความรู้ และด้านการถ่ายโอนและการใช้ความรู้ (2) เพื่อเปรียบเทียบการปฏิบัติด้านการจัดการความรู้ ของบุคลากร มหาวิทยาลัยรามคำแหง ตามสถานภาพส่วนบุคคลของบุคลากรที่แตกต่างกัน ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และหน่วยงานที่สังกัด และ (3) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติด้านการจัดการความรู้ ของบุคลากร มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้
              1. บุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง มีการปฏิบัติด้านการจัดการความรู้ โดยภาพรวมและรายด้าน ได้แก่ ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการสร้ างความรู้ ด้านการจัดเก็บและกู้คืนความรู้ และด้านการถ่ายโอนและการใช้ความรู้อยู่ในระดับปานกลาง
              2. บุคลากรมหาวิทยาลัยรามค าแหง ที่มีสถานภาพส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีการปฏิบัติด้านการจัดการความรู้ จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทำงาน และหน่วยงานที่สังกัด
              3. ข้อเสนอแนะของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง เกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติด้านการจัดการความรู้ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการแสวงหาความรู้ ด้านการสร้างความรู้ ด้านการจัดเก็บและกู้คืนความรู้ และด้านการถ่ายโอนและการใช้ความรู้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2551) กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ

คณะกรรมการบริหารความรู้ภายในมหาวิทยาลัยรามคำแหง (2549) แผนยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารความรู้ภายในองค์กร พ.ศ. 2550-2551 กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (2544) หนึ่งทศวรรษไอทีจุฬาฯ: การเพิ่มศักยภาพการจัดการด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฐนันท์ ยอดนพเก้า (2548) การจัดการความรู้ของโรงพยาบาลรวมแพทย์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ ปริญญานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

บดินทร์ วิจารณ์ (2547) การจัดการความรู้ สู่...ปัญญาปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ธรรกมลการพิมพ์

ปณิตา พ้นภัย (2544) การบริหารความรู้ (Knowledge Management): แนวคิด และกรณีศึกษา วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เพียงใจ มุสิกะพงษ์ (2550) สภาพการจัดการความรู้และความต้องการเพิ่มพูนความรู้สู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากร สำนักพัฒนาระบบบริการสุขภาพกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร

ภราดร จินดาวงศ์ (2549) การจัดการความรู้ KM Knowledge Management The Experience.กรุงเทพมหานคร: ซีดับบลิวซี พริ้นติ้ง

มานิต ปัญญวรรณศิริ (2550) การศึกษาการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง

ยุทธนา แซ่เตียว (2548) การวัด การวิเคราะห์ และการจัดการความรู้: สร้างองค์กรอัจฉริยะ กรุงเทพมหานคร: อินโนกราฟฟิกส์

วันชัย ปานจันทร์ (2549) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในองค์กรโดยใช้ฐานการจัดการความรู้. วารสารการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ 2(1) 1-17

วิจารณ์ พานิช (2549ก) การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ

วิชัย ภูมิทอง (2552) การประยุกต์ใช้แนวคิดการจัดการความรู้สู่ระบบราชการไทย: กรณีศึกษากรมอุตุนิยมวิทยา. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา

สมชาย นำประเสริฐชัย (2551) เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้. ค้นเมื่อ 21 กรกฎาคม 2551 จาก http://www.vet.cmu.ac.th/KM/document/Tech_KM.pdf

สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ และคณะ (2548) Knowledge Management การจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ก.พลพิมพ์

Cronbach, L. J. (1984). Essentials of psychological testing (4th ed.). New York: Harper & Row

Drucker, P. F. (2007). Management: Tasks responsibilities, practices. New Brunswick, NJ: Transaction

Kwan, M. M. (2000). Process-oriented knowledge management. Dissertation Abstracts International, 60(10), 3717-A. (UMI No. 9948247)

Marquardt, M. J. (1996). Building the learning organization: A system approach to quantum improvement and global success. New York: McGraw-Hill

Tiwana, A. (2000) The knowledge management toolkit: Practical techniques for building a knowledge management systems. Upper Saddle River, NJ: Prentice-Hall

Yamane, T. (1973) Statistics: An introductory analysis. New York: Harper & Row