การประเมินประสิทธิภาพของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ประจำปีงบประมาณ 2553

Main Article Content

รัชนี พลแสน

บทคัดย่อ

                การวิจัยครั้งนี้วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อ 1) ประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของคณาจารย์ประจำสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชตามประเด็นการพิจารณา 7 ข้อตัวชี้วัดที่ 17 ของ ก.พ.ร. 2) ประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของคณาจารย์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยประกอบด้วย 1) คณาจารย์ประจำ มสธ. จำนวน 331 คน จาก 371 คน (ร้อยละ 89.2) กลุ่ม 2) นักศึกษาที่เข้ารับการอบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ จำนวน 6,805 คน จาก 11,557คน (ร้อยละ 58.9) และ 3) เอกสารที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 8 หน่วยงาน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณที่รวบรวมโดยใช้แบบสอบถามด้วยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากแบบบันทึกด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการประเมินความคิดเห็นเกี่ยวกับการสอนของคณาจารย์ประจำสาขาวิชาต่างๆ มีประเด็นที่ มสธ. ดำเนินการในระดับมากที่สุด 6 ประเด็นและดำเนินการในระดับมาก 1 ประเด็น รายการที่ดำเนินการได้ในระดับมากที่สุดคือ 1) มสธ. มีการส่งเสริมให้คณาจารย์ประจำมีความรู้ ความเข้าใจ รู้เป้าหมายของการจัดการศึกษาและหลักสูตรการศึกษาอุดมศึกษา และดำเนินการได้ตามแนวทางที่กำหนด (ร้อยละ 91.5) 2) มสธ. มีมาตรการทำให้คณาจารย์ประจำดำเนินการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคลระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 84.3) และระดับบัณฑิตศึกษา (ร้อยละ 83.4) 3) มสธ. จัดให้มีการสำรวจ หรือการวิจัย หรือการประเมินประสิทธิภาพการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของคณาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยและนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงพัฒนาการจัดการสอนของคณาจารย์ประจำให้เป็นการจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญได้ โดยการลดสัดส่วนการถ่ายทอดความรู้ของคณาจารย์ และเพิ่มสัดส่วนการปฏิบัติจริง และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้เรียนให้มากขึ้น 3 ใน 4 กิจกรรม (ร้อยละ 75.5 -81.1) 4) มสธ. มีการส่งเสริม สนับสนุนให้คณาจารย์ประจำมีความสามารถในการใช้เทคโนโลยี เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ของตนเองและผู้เรียน (ร้อยละ 91.3) 5) มสธ. มีการส่งเสริมสนับสนุนทำให้คณาจารย์ประจำประเมินผลการจัดการสอนของคณาจารย์ประจำของมหาวิทยาลัยที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและอิงพัฒนาการของผู้เรียน โดยการประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ และการประเมินเพื่อตัดสินผลการเรียนรู้ที่คำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล และสามารถนำผลที่ได้มาปรับเปลี่ยนการจัดการสอน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพได้ (ร้อยละ 82.0) 6) มสธ. มีการส่งเสริมให้คณาจารย์ประจำทำวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อและการเรียนรู้ของผู้เรียน และนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนาผู้เรียน (ร้อยละ 86.5) สำหรับรายการที่ดำเนินการได้ในระดับมาก คือ มสธ.ส่งเสริมสนับสนุนให้คณาจารย์นำผลการประเมินการเรียนการสอนมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลงการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ (ร้อยละ 79.3) และผลการประเมินความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสอนของคณาจารย์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญระดับปริญญาตรี เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก(gif.latex?\bar{x} = 4.47) และระดับบัณฑิตศึกษา เฉลี่ยอยู่ในระดับมากที่สุด(gif.latex?\bar{x}= 4.62)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กองการเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “จำนวน/รายชื่อคณาจารย์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ปีงบประมาณ 2553”

ศิริกัญญา ปิ่นธานี (2548) “การศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชเกี่ยวกับเหมาะสมในการจัดอบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ : กรณีศึกษาชุดวิชาบริหารรัฐกิจ ม.ป.ท.

สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “รายชื่องานวิจัยเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนการสอนของผู้เรียน ปีงบประมาณ 2553 ม.ป.ท.

สมคิด พรมจุ้ย และคนอื่นๆ (2551) “การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดที่ 23 ประสิทธิภาพของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ประจำปีงบประมาณ 2551 (ฉบับส่ง ก.พ.ร.)” นนทบุรี โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สมคิด พรมจุ้ย และคนอื่นๆ (2552) “การประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการ ตัวชี้วัดที่ 17 ประสิทธิภาพของการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็ นสำคัญ ประจำปีงบประมาณ 2552” นนทบุรี โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “สรุปข้อมูลการให้บริการของสำนักคอมพิวเตอร์/จำนวนผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตรต่างๆ ปีงบประมาณ 2553”

สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “สรุปจำนวนคอมพิวเตอร์ที่จัดสรรให้คณาจารย์ ปีงบประมาณ 2553”

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (2553) คู่มือการประเมินผลการปฏิบัติราชการตามคำรับรองการปฏิบัติราชการของสถาบันอุดมศึกษา ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 ม.ป.ท.

สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2552) คู่มือนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2552 นนทบุรี โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

สำนักทะเบียนและวัดผล มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “จำนวนการออกข้อสอบใหม่ /ปรับปรุงข้อสอบ/จำนวนสนามสอบ ปีการศึกษา 2552”

สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “สรุปโครงการ/กิจกรรมที่จัดให้คณาจารย์เพิ่มพูนทักษะในการใช้เทคโนโลยี ปีงบประมาณ 2553”

สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “จำนวนงานวิจัยที่พัฒนาสื่อการเรียนการสอน ปีการศึกษา 2552”

สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.(2553) “จำนวนชั่วโมง/จำนวนรายการที่ออกอากาศทางสถานี วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ ปีการศึกษา2552”

สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “ข้อมูลการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่”

สำนักบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “จำนวนนักศึกษาที่เข้ารับการอบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพมหาบัณฑิตและชุดวิชาสัมมนาเสริม/เข้ม ระดับบัณฑิตศึกษา ปีการศึกษา 2/2552 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ –กรกฎาคม2553”

สำนักบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “ข้อมูลการปฐมนิเทศนักศึกษาใหม่”

สำนักบริการการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ( 2553) “ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ”

สํานักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ( 2552) “จำนวนนักศึกษาที่เข้ารับการจัดอบรมเข้ม อบรมเข้มชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพ ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 1/2552 ในช่วงเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2552”

สํานักวิชาการ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (2553) “จํานวนผู้เข้าร่วมสัมมนากรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2552 (TQF)”