การพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Main Article Content

สุคนธ์ อักษรชู

บทคัดย่อ

                การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ศึกษาประสิทธิภาพระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ศึกษาผลการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความมีวินัย และเจตคติ ในรายวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โรงเรียนสาธิต
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ ายมัธยม) และโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 5 โรงเรียน การดำเนินงานวิจัยมี 3 ขั้นตอน คือ 1) การวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาเครื่องแม่ข่ายและระบบเครือข่าย 2) การวิเคราะห์ออกแบบและพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย 3) การทดลองใช้ระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร (ฝ่ายมัธยม) และนักเรียนโรงเรียนสังกัด
กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นโรงเรียนในเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการกับโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒจำนวน 5 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวิชูทิศ โรงเรียนมัธยมนาคนาวาอุปถัมภ์ โรงเรียนมัธยมสุวิทย์เสรีอนุสรณ์ โรงเรียน
มัธยมบ้านบางกะปิ และโรงเรียนมัธยมประชานิเวศน์ ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2554 การเลือกกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเจาะจง 5 รายวิชา ประกอบด้วย รายวิชาสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 รายวิชาภาษาต่างประเทศ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2 รายวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 รายวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในแต่ละรายวิชาสุ่มห้องเรียนโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่ายจำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียนจำนวน 1,102 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ ระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย แบบวัดความมีวินัย แบบวัดเจตคติ


                ผลการวิจัยพบว่า


                1. ระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย


                    1.1 เครื่องแม่ข่ายและระบบเครือข่ายสำหรับให้บริการระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ ระบบ Video Streaming มีคุณสมบัติที่สามารถส่งข้อมูลออกทางเครือข่ายสื่อสารด้วยความเร็วที่สามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้งานจ านวน 500 คน พร้อม ๆ กันได้ (Concurrency)


                   1.2 โปรแกรมระบบบริหารจัดการเรียนรู้ Moodle 2.1.1 ที่ประกอบด้วยเครื่องมือ ระบบการจัดการหลักสูตรระบบการสร้างบทเรียน ระบบการทดสอบและประเมินผล ระบบส่งเสริมการเรียน ระบบจัดการข้อมูล ระบบจัดการ
วีดิทัศน์ตามประสงค์ (Video On Demand) ระบบการถ่ายทอดสด (Video Broadcast) โมดูลความมีวินัย สามารถส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ความมีวินัย และเจตคติ ของผู้เรียนต่อระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้


                2. ระบบการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่พัฒนาขึ้นได้ผ่านการประเมินจากผู้เชี่ยวชาญว่ามีประสิทธิภาพตามองค์ประกอบอีเลิร์นนิ่งอยู่ในระดับมากและมีผลการประเมินการใช้งานระบบทั้งภายในภายนอกเครือข่ายมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒโดยนักเรียนตามกรอบการประเมินผลเพื่อหาประสิทธิภาพของการเรียนรู้ในรูปแบบอีเลิร์นนิ่งอยู่ในระดับมาก


                3. ผลการจัดการเรียนรู้บนเครือข่าย


                    3.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


                    3.2 ความมีวินัยของนักเรียนหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในรายวิชาวิทยาศาสตร์และวิชาคณิตศาสตร์


                    3.3 เจตคติต่อการเรียนรู้บนเครือข่ายอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ (2545) พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์

กิตติพันธ์ อุดมเศรษฐ์ (2547) “ข้อดีของโปรแกรม Moodle LMS.” เอกสารประกอบการบรรยาย. กรุงเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. อัดสำเนา

ถนอมพร (ตันพิพัฒน์) เลาหจรัสแสง (2549) “ระบบบริหารจัดการเรียนรู้แห่งอนาคต.” วารสารเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา. 3: 23-36

บุญเลิศ สงวนพัฒนา (2551) บทที่ 8 ระบบอินเตอร์เน็ตในงานอุตสาหกรรม (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 11 ตุลาคม 2554. จาก http://202.29.15.51/technology/uploads/file/AJ/AJ%20Bunlert/ 039.pdf

ไพฑูรย์ ศรีฟ้ า (2544) การพัฒนาระบบการเรียนการสอนผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ปริญญานิพนธ์กศ.ม. (เทคโนโลยีการศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถ่ายเอกสาร

มนชัย เทียนทอง (2538) บทที่ 5 การออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 พฤษภาคม 2554 จาก http://home.dsd.go.th/kamphaengphet/km/information/WBI/05Design_of_Computer_Instruction.pdf

วราภรณ์ ตระกูลสฤษดิ์ (2545) การนำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บด้วยการเรียนรู้แบบโครงงานเพื่อเป็นการเรียนรู้เป็นทีมของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ด. (เทคโนโลยีและสื่อการศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถ่ายเอกสาร

วิชุดา รัตนเพียร (2548) การเรียนการสอนบนเว็บขั้นนำ กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิชุดา หรรษาจารุพันธุ์ (2540) การศึกษาความพร้อมในการปฏิบัติงานพยาบาลวิชาชีพของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 สถาบันการศึกษาพยาบาลเอกชน ปริญญานิพนธ์ พย.ม. (การบริหารการพยาบาล) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วิทยา อารีราษฎร์ (2549) การพัฒนารูปแบบการสอนใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบอัจฉริยะและมีส่วนร่วมผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ วิทยานิพนธ์ ศศ.ด. (คอมพิวเตอร์ศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ถ่ายเอกสาร

ศิริชัย นามบุรี (2546) การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนผ่านเว็บ เรื่องฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์และ การใช้สารสนเทศวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อการเรียนรู้ หลักสูตรสถาบันราชภัฎ ระดับปริญญาตรี (หลังอนุปริญญา) (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2554 จาก http://www.อีเลิร์นนิ่ง108info/sirichai/images/stories/ publication/researches/2546/ cai_on_web_2546_sirichai_namburi.pdf

ศิริชัย นามบุรี (2550) การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจของผู้เรียนโดยใช้กิจกรรมหนังสืออิเล็กทรอนิกส์และบทเรียนสำเร็จรูปในสภาพแวดล้อม แบบอีเลิร์นนิ่งผ่านโปรแกรม Moodle. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2554 จาก http://www.elearning108.info/sirichai/images/stories/publication/researches/2550/research_report50_อีเลิร์นนิ่ง_using_moodle.pdf

ศิริชัย นามบุรี (2552: บทคัดย่อ) การพัฒนาระบบสนับสนุนการประเมินและการปรับพฤติกรรมทางจริยธรรม ด้านความรับผิดชอบของผู้เรียนในสภาพแวดล้อมแบบอีเลิร์นนิ่ง (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 30 พฤษภาคม 2554 จาก https://docs.google.com/folder/d/0BzqC54S0TDBpM2M4YzkzYzYtMjIwNS00OTI1LWEzZmUtNGNjZDA5ZTM3NmE4/edit?pli=1#docId=0BzqC54S0TDBpMTNlYzRjMjMtNzE1Mi00N2U0LWFlMTktYWMxMWQzNTM2YjE5

อนิรุทธ์ สติมั่น (2550) ผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่มีต่อการเรียนรู้แบบนำตนเองและผลสัมฤทธ์ทางการเรียนของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา. ปริญญานิพนธ์ กศ.ด. (เทคโนโลยีการศึกษา) กรุงเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ถ่ายเอกสาร

Shelley, R. (1991) “Relationship of Adults Field-Dependence-Independence and Self-Directed learning.” Dissertation Abstract International. 52 (12): 4190-A