การรับรู้และการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Main Article Content

นวรัตน์ เขียวแก้ว
ภีมศักดิ์ เอ้งฉ้วน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การรับรู้และการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้และการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศด้านความสะดวก ด้านความง่าย และด้านสารสนเทศมีให้ใช้กับความถี่ของการใช้แหล่งสารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  วิธีการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชที่ลงทะเบียนภาคเรียนที่ 1/2561 จำนวน 357 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม ขณะเดียวกันสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (F-test) ทดสอบสมมติฐานการวิจัย


ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ได้จากกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง
26-35 ปี ศึกษาอยู่ในระดับปริญญาโท และสังกัดสาขาวิชาศึกษาศาสตร์มากที่สุด 2) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษามีความถี่ในการใช้แหล่งสารสนเทศโดยรวมอยู่ในช่วง 1-3 ครั้ง/สัปดาห์มากที่สุด และแหล่งสารสนเทศที่เลือกใช้บ่อยที่สุด คือ อินเทอร์เน็ต/เว็บไซต์  3) นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาเข้าถึงแหล่งสารสนเทศจากทุกแหล่งด้านความสะดวก ด้านความง่าย และด้านสารสนเทศ โดยภาพรวมพบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก และเมื่อแยกเป็นรายแหล่ง พบว่า สำนักบรรณสารสนเทศ มีด้านความสะดวกมากที่สุด ศูนย์วิทยพัฒนา มสธ./ศูนย์วิทยบริการบัณฑิต/มุม มสธ. มีด้านสารสนเทศให้ใช้มากที่สุด ห้องสมุดมหาวิทยาลัยอื่น พบว่า ด้านความสะดวกมากที่สุด อินเทอร์เน็ต/เว็บไซต์ พบว่า ด้านความสะดวกมากที่สุด และเอกสารส่วนบุคคลและแหล่งใกล้ตัว พบว่า ด้านความสะดวกมากที่สุด  4) การทดสอบสมมติฐานการวิจัยทุกแหล่ง พบว่า นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มีการรับรู้และการเข้าถึงแหล่งสารสนเทศทุกแหล่งในด้านความสะดวก ด้านความง่าย และด้านสารสนเทศมีให้ใช้ กับความถี่การเลือกใช้แหล่งสารสนเทศ พบว่า ไม่แตกต่างกัน ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐานของการวิจัยที่ตั้งไว้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จินตนา เกสรบัวขาว. (2555). พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี, 2(1), 17-33.

ชญาภรณ์ กุลนิติ. (2553). สารสนเทศและการศึกษาค้นคว้า (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

ชุติมา สัจจานันท์. (2554). การพัฒนามาตรฐานการรู้สารสนเทศและยุทธศาสตร์การพัฒนานักเรียนไทยให้เป็นผู้รู้สารสนเทศ (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ทิพวรรณ จำปาเงิน. (2557). พฤติกรรมสารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ. วารสารวิจัย มทร.กรุงเทพ, 8(1), 37-48.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559, 22 พฤศจิกายน). การศึกษาในยุค Thailand 4.0. เชียงใหม่นิวส์. สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2560, จาก http://www.chiangmainews.co.th/page/archives/540274

ปาหนัน พันธ์พัฒน์. (2560). พฤติกรรมการแสวงหาและความต้องการสารสนเทศในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

ปิยวรรณ ขาวพุ่ม. (2557). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการยอมรับโซเชียลโอแพค สำหรับห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

ไพบูลย์ ปะวะเสนะ. (2550). การใช้เว็บไซต์ห้องสมุดกรมบัญชีกลางของบุคลากรกรมบัญชีกลาง. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

มลิวัลย์ ประดิษฐ์ธีระ. (2555). พฤติกรรมการรู้สารสนเทศของนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต. ปทุมธานี: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยรังสิต.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2529). แนวคิดพื้นฐานการพัฒนาระบบสารสนเทศ ใน รวมบทความเกี่ยวกับระบบสารสนเทศทางการศึกษา (หน้า 1-3). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2553). ข้อบังคับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ว่าด้วย การศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ.2553. สืบค้นเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2560, จากhttps://www.stou.ac.th/thai/grad_stdy/MASTER/ GradRule53.pdf

สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). กรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) สืบค้นเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2560, จากhttp://www.mua.go.th/users/bpp/developplan/download/long_range_plan/HEPlan_book.pdf

สุมาลี พงศดิลก. (2559). พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

สุมาลี สังข์ศรี. (2559). เรื่องแนวทางการจัดบริการการศึกษาเพื่อช่วยให้นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช เรียนได้ประสบผลสำเร็จในระบบการศึกษาทางไกล โดยการศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาจาก 4 มหาวิทยาลัยเปิด (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สุริยา มณีแผลง. (2554). ความต้องการใช้โปรแกรมค้นหาของประชาชนในกรุงเทพมหานคร (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต), คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง. กรุงเทพฯ.

อรอุมา สืบกระพัน. (2552). ความต้องการสารสนเทศและพฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของวิศวกรบริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) สำนักปฏิบัติการส่วนภูมิภาค ภาคเหนือ (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

อัญญ์นิชตา รุ่งวิชานิวัฒน์, และฤทัยชนนี สิทธิชัย. (2556). พฤติกรรมการแสวงหาสารสนเทศของนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 9(1), 85-118.
Macauley, P. (1997). Distance Education Research Students and their Library Use. Australian Academic & Research Libraries, 28(3), 188-197.

Raza, M. M., & Upadhyay, A. K. (2006). Usage of E-journals by researchers in Aligarh Muslim University: A study. The International Information & Library Review, 38(3), 170-179.

Zipf, G. K. (2016). Human Behavior and the Principle of Least Effort: An Introduction to Human Ecology. Facsim. of 1949. Retrieved November 23, 2017, from https://books.google.co.th/books?id=m-XDCwAAQBAJ