แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนเพื่อคนทั้งมวลของชุมชนตำบลถ้ำสิงห์ในจังหวัดชุมพร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อประเมินศักยภาพของพื้นที่ชุมชนตำบลถ้ำสิงห์ที่จะพัฒนาไปสู่การท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนเพื่อคนทั้งมวล 2) เพื่อวิเคราะห์คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนเพื่อคนทั้งมวลของชุมชนตำบลถ้ำสิงห์ในจังหวัดชุมพร และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนเพื่อคนทั้งมวลของชุมชนตำบลถ้ำสิงห์ในจังหวัดชุมพร ประชากรที่ศึกษา ประกอบด้วย กลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่ม คือ (1) กลุ่มผู้แทนชุมชน จำนวน 54 คน (2) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญในด้านการดูแลผู้พิการ จำนวน 4 คน และ (3) กลุ่มนักท่องเที่ยวผู้พิการ ซึ่งคำนวณขนาดตัวอย่าง ได้จำนวน 93 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินศักยภาพ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) พื้นที่ชุมชนตำบลถ้ำสิงห์มีศักยภาพอยู่ในระดับมาก 4 ด้าน ได้แก่ ด้านที่ 1 การรองรับนักท่องเที่ยวทั่วไป ด้านที่ 2 ด้านการจัดการ ด้านที่ 3 การดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว ด้านที่ 4 การบริการการท่องเที่ยว 2) คุณลักษณะของผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนเพื่อคนทั้งมวลตามมุมองของผู้เชี่ยวชาญดูแลคนพิการ และนักท่องเที่ยวทั้งมวล ประกอบด้วย 6 ด้าน คือ (1) สิ่งดึงดูดใจของแหล่งท่องเที่ยว (2) สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวผู้พิการ (3) การเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว (4) การให้บริการของแหล่งท่องเที่ยว (5) กิจกรรมที่นักท่องเที่ยวทั้งมวลสามารถเข้าร่วมได้ และ (6) ที่พักที่เหมาะสม 3) แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนเพื่อคนทั้งมวล คือชุมชนเป็นผู้กำหนดผลิตภัณฑ์ร่วมกันโดยการค้นหาผลิตภัณฑ์ที่สามารถดึงดูดใจนักท่องเที่ยว มีการจัดการพื้นที่สำหรับดำเนินกิจกรรมท่องเที่ยวเหมาะสมนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม โดยการปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวก และการเข้าถึงในแต่ละพื้นที่ของผลิตภัณฑ์ รวมทั้งจัดให้มีการสื่อความหมายถึงนักท่องเที่ยวทุกกลุ่ม
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). ประเภทและหลักเกณฑ์ความพิการ (ฉบับที่ 2). สืบค้นเมื่อ มกราคม 2562, จาก http://dep.go.th/sites/default/files/files/law/185.pdf.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). รายงานข้อมูลสถานการณ์ด้านคนพิการในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ เมษายน 2563, จาก http://dep.go.th/uploads/Docutents/61ccc2d9-8e3f-4f75-a361-368f5c6a4b80รายละเอียดข้อมูลคนพิการ.pdf.
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2563). สถิติผู้สูงอายุของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2563, จาก http://www.dop.go.th/th/know/side/1/1/275.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2561). MOU โครงการต้นแบบแหล่งท่องเที่ยวเพื่อคนทั้งมวลในพื้นที่พิเศษเมืองพัทยาและพื้นที่เชื่อมโยง (Tourism for All). สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 2563, จาก https://www.mots.go.th/News-view. php?nid=10118.
ชูกลิ่น อุนวิจิตร, ญานัท ศิริสาร และ ไพรัช โรงสะอาด. (2557). แนวทางการพัฒนาการนันทนาการ และการท่องเที่ยวเพื่อคนพิการในจังหวัดเชียงราย. วารสารวิทยาราชสุดา, 10(13), 36-50.
ไตรรัตน์ จารุทัศน์. (2558). คู่มือการออกแบบเพื่อทุกคน (Universal Design Guide Book). กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติ ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (2550, 18 กันยายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 124 ตอนที่ 61 ก, หน้า 1-18.
ธีร์ ตรงจิตพิทักษ์. (2556). พฤติกรรมการท่องเที่ยวของคนพิการทางการเคลื่อนไหวในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต) คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
ภัทรวดี เบญจฆรณี. (2552). การศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการการท่องเที่ยวของคนพิการทางการเคลื่อนไหว (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.
วารุณี เกตุสะอาด และปกรณ์ สุวานิช. (2554). การประเมินศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงเกษตรของพื้นที่เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร. ใน รายงานการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัย มสธ. วิจัย ประจำปี 2554 (หน้า 364-379). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุภาภรณ์ ประสงค์ทัน. (2560). การศึกษาข้อจำกัดทางการท่องเที่ยวและความตั้งใจในการเดินทางท่องเที่ยวของคนพิการในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 20(1), 298-312.
สุรีย์ เข็มทอง และภูริพัฒน์ ชาญกิจ. (2563). การพัฒนารูปแบบการตลาดของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรวิถีชุมชนเพื่อคนทั้งมวลในจังหวัดชุมพร (รายงานวิจัย). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว).
สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว. (2553). คู่มือการประเมินมาตรฐานคุณภาพแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สืบค้นเมื่อ 20 มกราคม 2562, จาก http://www.tourism.go.th/view/1/คู่มือประเมินคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว/937/TH-TH.
สำนักงานจังหวัดชุมพร. (2561). แผนพัฒนาจังหวัดชุมพร 2561-2564. (ฉบับทบทวนปี 2562). สืบค้นเมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562, จาก http://www.chumphon.go.th/2013/page/planchumphon.
องค์การบริหารส่วนตำบลถ้ำสิงห์. (2560). ประวัติความเป็นมาของตำบลถ้ำสิงห์. สืบค้น เมื่อ 28 กรกฎาคม 2562, จาก http://www.tumsing.go.th/html/new-menu.asp?
Adillón, R. (2019). DIAMOND MODEL: A Theoretical Framework for the Sustainable Development of Tourism. Art Human Open Acc J, 3(1), 11-23. DOI: 10.15406/ahoaj.2019.03.00099.
Aldwin, C.M., Igarashi, H., Gilmer, D.F., & Levenson, M.R. (2018). Health, Illness, and Optimal Aging: Bilogical and Psychosocial Perspectives (3rd ed.). New York: Springer Publishing Company.
Ansoff, H. I. (1987). Corporate Strategy. London: Penguin.
Baker, M. (1989). Tourism for All: A Report of the Working Party Chaired by Mary Baker. London: English Tourist Board in Association with the Holiday Care Service, the Scottish Tourist Board, the Wales Tourist Board.
Buhalis, D. (2000). Marketing the Competitive Destination of the Future. Tourism Management, 21(1), 97-116.
Crawford, D. W., & Godbey, G. (1987). Reconceptualizing barriers to family leisure. Leisure Sciences, 9(2), 119-127.
Chase, L.C., Stewart, M., Schilling, B., Smith, B., & Walk, M. (2018). Agritourism: Toward A Conceptual Framework for Industry Analysis. Journal of Agriculture, Food Systems, and Community Development, 8(1), 13-19.
Darcy, S., & Dickson, T.J. (2009). A Whole-of-life Approach to Tourism: The Case for Accessible Tourism Experiences. Journal of Hospitality and Tourism Management, 16(1), 32-44.
Draper, J., Shenoy, S., & Norman, W. (2006). Segmenting Agritourists: Implications for Marketing and Collaborative Partnerships. Unpublished Manuscript.
Jamieson, W. (2006). Community Destination Management in Developing Economies. New York: The Haworth Hospitality Press.
Lee, B.K., Agarwal, S., & Kim, H.J. (2012). Influences of Travel Constraints on the People with Disabilities’ Intention to Travel: An Application of Seligman’s helplessness Theory. Tourism Management, 33 (3), 569-579.
Lwanga, S.K., & Lemeshow, S. (1991). Sample Size Determination in Health Studies: A Practical Manual. World Health Organisation. Geneva.
Pike, S. (2008). Destination Marketing: An Integrated Marketing Communication Approach. Butterworth-Heinmann, Burlington. MA.
Porter, M. E. (1998). The Competitive Advantage of Nations. New York: Free Press.
Tcholeev, I., & Vodenska, M. (2008). Spatial Analysis of the Tourism Potential in Bourgas District. In the Proceeding of the 2007 International Conference on Tourism 22-24 November 2007. Bucharest: Academy of Economic Study.