ความรับผิดของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาท:ศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางละเมิด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความรับผิดทางวินัยและความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (2) ศึกษาถึงความรับผิดของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ในการปฏิบัติหน้าที่โดยประมาทโดยศึกษาเปรียบเทียบความรับผิดทางวินัยกับความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (3) ศึกษากฎหมายประเทศอังกฤษ เยอรมันและฝรั่งเศสที่เกี่ยวข้อง เปรียบเทียบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547 กับ พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 (4) วิเคราะห์ปัญหาความรับผิดของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (5) เสนอแนวทางปรับปรุงข้อกฎหมายเกี่ยวกับหลักความรับผิดทางวินัยของข้าราชการครู/บุคลากรทางการศึกษาอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม
ผลการวิจัยพบว่า (1) ความรับผิดทางวินัยและละเมิดของเจ้าหน้าที่มีเจตนารมณ์แตกต่างกัน (2) ความรับผิดทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาของไทยใช้หลักการเดียวกันกับวินัยข้าราชการ และกฎหมายความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ (3) เมื่อศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศพบว่า หลักความรับผิดทางวินัยและทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ยังมีความแตกต่างบางประการ (4) ความรับผิดทางวินัยของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรณีกระทำโดยประมาทในการปฏิบัติหน้าที่ราชการ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะของความประมาทเลินเล่อและผลของการกระทำบางกรณีกลับมีบทลงโทษที่รุนแรงมากไม่เป็นธรรมต่อเจ้าหน้าที่ และ(5) ควรวางหลักการลงโทษทางวินัยให้เหมาะสมกับลักษณะของการกระทำ จึงจะเกิดความเป็นธรรมต่อข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทำนองเดียวกับหลักความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
Article Details
บทความ ข้อความ ภาพประกอบ ตารางประกอบ ที่ตีพิมพ์ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนแต่เพียงผู้เดียว ไม่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชแต่อย่างใด
บทความที่เสนอพิจารณาในวารสาร e-JODIL ต้องเป็นบทความที่ไม่เคยส่งไปลงพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารอื่น
กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการพิจารณาและตัดสินการตีพิมพ์บทความในวารสาร
References
สำนักงาน ก.ค.ศ. กระทรวงศึกษาธิการ (2553). คู่มือการดาเนินการทางวินัยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.
สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน. (2559). กำลังคนภาครัฐในฝ่ายพลเรือน 2558. นนทบุรี: บริษัท 21 เซ็นจูรี่จำกัด. นนทบุรี.
หยุด แสงอุทัย (2544). กฎหมายอาญา ภาค 2 - 3 (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์