การศึกษาความเต็มใจจ่ายเพื่อการป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศสำหรับชุมชน โดยรอบท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี

Main Article Content

อนันธชัย นะวะสด
พัฒน์ พัฒนรังสรรค์

บทคัดย่อ

          การศึกษาการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาทัศนคติเกี่ยวกับมลพิษทางอากาศของประชาชนที่อาศัยในชุมชนโดยรอบท่าเรือและนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี (2) เพื่อประเมินความเต็มใจจ่ายของประชาชนที่อาศัยในชุมชนโดยรอบฯ ในการป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี (3) เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่มีผลต่อความเต็มใจจ่ายของประชาชนที่อาศัยในชุมชนโดยรอบฯ ในการป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี  การศึกษาใช้วิธีการวิจัยเชิงสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม โดยใช้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 395 คน ที่อาศัยอยู่ในชุมชนดังกล่าวภายในรัศมีไม่เกิน 5 กิโลเมตร ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีความคิดเห็นว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่สำคัญมากที่สุดและควรได้รับการแก้ไขโดยเร่งด่วน โดยพบว่า เมื่อคำนวณหาความเต็มใจจ่ายด้วยวิธี Maximum Likelihood Estimation ได้ค่าเฉลี่ยของความเต็มใจจ่ายของกลุ่มตัวอย่างเพื่อป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศของประชาชนที่อาศัยในชุมชนโดยรอบเท่ากับ 20.23 บาท/คน/ปี และปัจจัยที่ส่งผลต่อความเต็มใจจ่ายสำหรับสนับสนุนกองทุนป้องกันปัญหามลพิษทางอากาศของประชาชนที่ระดับนัยสำคัญ 0.10 คืออาชีพ ระดับทัศนคติในด้านต่าง ๆ ต่อมลพิษทางอากาศและผลกระทบของมลพิษทางอากาศ


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2545). ค่าดัชนีความสอดคล้องของนวัตกรรมและแบบทดสอบกับจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม.
(ออนไลน์). https://www.moe.go.th/t-dci.htm, 17 ตุลาคม 2559.
กรีนพีซ. (2559). รายงานการจัดลำดับเมืองที่มีมลพิษฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM25) ในประเทศ
ไทย ปี พ.ศ.2559 (ออนไลน์). https://www.greenpeace.org/seasia/th/press/releases/Thailand-
city-ranking-2016, 23 กุมภาพันธ์ 2560
การท่าเรือแหลมฉบัง. ( 2559). สถิติรถยนต์ผ่านท่าเรือแหลมฉบังแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี. (ออนไลน์).
https://www.laemchabangportnew.com/en/statisticsa-report.html, 5 มิถุนายน 2560
ณัฐกิตติ์ กิตติณัฏฐพงศ์. (2555). “วิเคราะห์ความเต็มใจจะจ่ายเพื่อฟื้นฟูสภาพอากาศในเขตควบคุมมลพิษของ
จังหวัดระยอง.” วารสารเศรษฐศาสตร์สุโขทัยธรรมาธิราช 6 (2): 1-18.
บำเพ็ญ ไชยรักษ์. (2558). 23 ปีมลพิษที่แม่เมาะ: ความยุติธรรมที่มิอาจยุติความตาย. (ออนไลน์).
https://www.thaiclimatejustice.org/knowledge/view/121, 2 กันยายน 2559
ประกาย ธีระวัฒนากุล. (2550). การศึกษาความเต็มใจจ่ายเพื่อการปรับปรุงคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานครโดย
เทคนิคการสมมติเหตุการณ์ให้ประเมินมูลค่า: กรณีศึกษาเขตจตุจักร. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง. (2555). ร่างข้อเสนอภาษีสิ่งแวดล้อมเพื่อควบคุมการบริโภคที่
ก่อให้เกิดคาร์บอน ขยะถุงพลาสติก และขยะอันตราย, (ออนไลน์).
https://www.fti.or.th/2011/download/file/IEI/seminar2012/18OCT/01PackageTax.pdf, 24
มิถุนายน 2560
ยุวดี คาดการณ์ไกล. (2553). Q&A ภาษีสิ่งแวดล้อม : แนวคิด หลักการ และกฎหมาย. (ออนไลน์).
https://www.iei.or.th/media/www/file/228/98868001378725205.pdf, 5 มิถุนายน 2560
อุดมศักดิ์ ศีลประชาวงศ์. (2556). การประเมินมูลค่าทางเศรษฐศาสตร์ของทรัพยากรสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร:
พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: พี.เอ.ลีฟวิ่ง.
Cameron, T.A. (1988). “A New Paradigm for Valuing Non-Market Goods UsingReferendum Data:
Maximum Likelihood Estimation by Censored Logistic Regression.” Journal of
Environmental and Management. 15: 353-379.
Cochran, W.G. (1953). Sampling Techiques. New York: John Wiley & Sons. Inc.
Cronbach, Lee J. (1974). Essentials of Psychological Testing. 3rd ed. New York: McGraw - Hill.
Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale . In Reading in Fishbeic, M
(Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95).New York: Wiley & Son. Inc.
State of Global Air. (2016). Number of Deaths Attributable to PM2.5 in Thailand.
(Online).https://www.stateofglobalair.org/data, Jan 30, 2016
Wang, X.J. et al. (2006). Air Quality Improvement Estimation and Assessment Using Contingent
Valuation Method: A Case Study in Beijing. Environmental Monitoring and Assessment.
Beijing: 2006.